ข้าพเจ้านายณัฐภัทร สงกระบัตร ประเภทประชาชน รับผิดชอบบ้านหนองกันงา หมู่ 10 ตำบล หนองโบสถ์ อำเภอ นางรอง จังหวัด บุรีรัมย์ โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)

   วันที่ 22 ตุลาคม 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรและคณะผู้ปฏิบัติงาน ได้นัดหมายรวมตัวกัน  ณ บ้านโคกพลวง หมู่ที่ 9 ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ และเชิญตัวแทนชุมชนบ้านละ2ท่านทั้ง 14 ในตำบลหนองโบสถ์ เพื่อเข้าร่วมกิจกรรม อบรม การขอมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ และการขอ อย. และขึ้นทะเบียน otop และมาตรฐาน มผช. โดยเรียนเชิญนักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ นางสาว ภัทรวดี มักขุนทด ของสำนักงานพัฒนาชุมชน อำเภอนางรอง และ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ นาย ชุยต ชำนาญเนาว์ ของสำนักงานสาธารณสุข อำเภอนางรอง เพื่อเป็นวิทยากรให้ความรู้ในการอบรมครั้งนี้

 

การจัดตั้งกลุ่มอาชีพ พัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์ OTOP

กลุ่ม    

       การที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปมารวมกัน โดยมีการติดต่อสัมพันธ์กัน หรือปฏิสัมพันธ์กัน และมีจุดมุ่งหมายที่จะกระทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งร่วมกัน และความสัมพันธ์นี้ จะช่วยให้สมาชิกกลุ่มอยู่ร่วมกันได้ในระดับที่พอดี

     การที่บุคคลมารวมกันเป็นกลุ่ม จะต้องมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งหรือหลายลักษณะต่อไปนี้เกิดขึ้น

(ก) จะต้องมีปฏิสัมพันธ์กันเสมอ

(ข) แต่ละคนจะถือว่าคนเองเป็นสมาชิกกลุ่ม

(ค) แต่ละคนในกลุ่มจะยอมรับกันเป็นสมาชิกกลุ่ม

(ง) มีบรรทัดฐานร่วมกัน

(จ) แต่ละคนจะมีบทบาทที่ชัดเจน

(ฉ) มีการเลียนแบบลักษณะบางอย่างที่ตนเองคิดว่าเหมาะสมจากสมาชิกในกลุ่ม

(ช) สมาชิกมีความคิดว่ากลุ่มจะต้องให้ผลประโยชน์ต่อสมาชิก

(ซ) สมาชิกจะแสวงหาเป้าหมายร่วมกัน

(ฌ) มีการรับรู้ความเป็นเอกภาพของกลุ่มร่วมกัน และ

(ญ) สมาชิกกลุ่มจะปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของกลุ่ม

กลุ่มอาชีพ

      การรวมตัวของชาวบ้านที่ประกอบอาชีพเดียวกัน ดำเนินกิจกรรมด้านอาชีพ กิจกรมผลิต และจำหน่ายอย่างต่อเนื่อง โดยมีคณะกรรมการดำเนินงานของกลุ่ม มีระเบียบข้อบังคับ

การบริหารจัดการกลุ่ม (5 ก.)

ก1 : กลุ่ม/สมาชิก ที่มีความสมัครใจพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการดำเนินงานของกลุ่ม
ก2 : กรรมการ ซึ่งได้รับมอบหมายและเป็นตัวแทนจากสมาชิกให้บริหารกลุ่ม
ก3 : กฎ กติกา ระเบียบข้อบังคับกลุ่ม เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติร่วมกัน ระหว่างสมาชิกและคณะกรรมการ
ก4 : กองทุน ปัจจัย เงินหรือเครื่องมือ ที่ทำให้กิจกรรมของกลุ่มดำเนินการได้และบรรลุตามวัตถุประสงค์ของกลุ่ม
ก5 : กิจกรรม เป็นสิ่งที่ร่วมกันปฏิบัติ
เพื่อสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนและชุมชน

การนำกลุ่มอาชีพเข้าสู่ OTOP

    จากแนวคิดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (One Tambon One Product : OTOP)
ที่เน้นกระบวนการ การสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์ในแต่ละหมู่บ้าน ชุมชน หรือตำบล เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้แต่ละชุมชน ได้นำทรัพยากร ภูมิปัญญาในท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์และบริการคุณภาพที่มีจุดเด่นและมูลค่าเพิ่มเป็นที่ต้องการของตลาด สอดคล้องกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของท้องถิ่น โดยยึดหลักการพึ่งตนเองของชุมชน และรัฐพร้อมที่จะช่วยเหลือในด้านความรู้สมัยใหม่และการบริหารจัดการ เชื่อมโยงสินค้าชุมชนสู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศ

โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)

ความเป็นมา รัฐบาลได้ดำเนินโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 และดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมทั่วทุกภูมิภาคทั่วประเทศ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการระดับประเทศในส่วนกลางและคณะกรรมการระดับภูมิภาค โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

(1) สร้างงานและเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน

(2) เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน

(3) ส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น

(4) ส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

(5) ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของชุมชน

ประเภทผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์

ที่จะนำมาดำเนินการลงทะเบียน ต้องผ่านกระบวนการผลิต โดยใช้ภูมิปัญญา
จานวน 5 ประเภท ดังนี้

1. ประเภทอาหาร

หมายถึง ผลผลิตทางการเกษตร และอาหารแปรรูป ซึ่งได้รับมาตรฐาน อย., GAP, GMP, HACCP, Qmark, มผช., มอก., มาตรฐานเกษตรอินทรีย์, ฮาลาล และมีบรรจุภัณฑ์ เพื่อการจาหน่ายทั่วไป แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1) ผลิตผลทางเกษตรที่ใช้บริโภคสด
2) ผลิตผลทางการเกษตรที่เป็นวัตถุดิบ และผ่านกระบวนการแปรรูปเบื้องต้น
3) อาหารแปรรูปกึ่งสำเร็จรูป/สำเร็จรูป

2.ประเภทเครื่องดื่ม

แบ่งเป็น 2 กลุ่ม
1) เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
2) เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์

3. ประเภทผ้า เครื่องแต่งกาย

4. ประเภทของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึก

5 ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร

ประโยชน์ของการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน

– ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพดีขึ้น มีความปลอดภัย

– ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพสม่ำเสมอ

– ผู้ซื้อ ผู้บริโภค และผู้เกี่ยวข้องตัดสินใจได้ง่ายขึ้น

– สร้างความเชื่อมัน และความน่าเชื่อถือ

– เพิ่มโอกาสทางการค้า ผู้ผลิตเข้าถึงตลาดได้ง่ายขึ้น

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรอง มผช. 

  • เป็นผู้ผลิตชุมชน ไม่เป็นผู้แอบอ้าง หรือทำการผลิตแอบแฝง และมีคุณสมบัติเป็น

          – บุคคลทั่วไป

          – กลุ่มผู้ผลิตชุมชน (ขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานราชการ/วิสาหกิจชุมชน หรือ

          – นิติบุคคลที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบการ OTOP

  • ผลิตภัณฑ์ที่ยื่นขอ เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในรายชื่อมาตรฐาน มผช. ทั้ง 5 ประเภทและต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่ควบคุมที่เกี่ยวข้องก่อนเช่น ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข กรมสรรพสามิต
  • ยอมรับการปฏิบัติตามข้อกำหนดทั่วไปในการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ และการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
  • ยื่นคำขอต่อหน่วยรับรองตามแบบคำขอที่กำหนด (ตั้งแต่วันที่1 ตุลาคม ถึงวันที่ 30 มิถุนายน )(สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดบุรีรัมย์)

เงื่อนไขสำหรับผู้ได้รับการรับรอง มผช.

ผู้ได้รับการรับรอง ต้อง

  • รักษาระบบการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรอง ตลอดระยะเวลาที่ได้รับการรับรองและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรอง มผช.
  • นำใบรับรอง มผช. และเครื่องหมาย มผช. ไปใช้อ้างอิงได้เฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ได้รับ การรับรองเท่านั้น
  • ยุติการใช้ใบรับรอง และเครื่องหมาย มผช. เมื่อสิ้นอายุการรับรอง หรือ ในทันทีที่มีการพักใช้ หรือยกเลิก
  • หรือเพิกถอนการรับรอง
  • จัดเตรียมเอกสารหลักฐาน และข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับการร้องเรียนผลิตภัณฑ์
  • แจ้งให้หน่วยรับรองทราบเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เช่น เปลี่ยนผู้ติดต่อประสานงาน เปลี่ยนชื่อนิติบุคคลย้ายสถานที่ ปรับกระบวนการทาที่มีผลต่อผลิตภัณฑ์

การต่ออายุใบรับรอง

  • ให้ยื่นขอใหม่ล่วงหน้า 120 วัน ก่อนที่ใบรับรองจะสิ้นอายุ (หากมีความประสงค์ขอต่ออายุใบรับรอง)
  • หน่วยรับรองจะดาเนินการตามกระบวนการรับรอง มผช.

การสิ้นสุดอายุใบรับรอง

  1. ใบรับรองครบอายุ 3 ปี
  2. ผู้ได้รับการรับรองขอยกเลิกการรับรอง
  3. ผู้ได้รับการรับรองเลิก หรือถูกสั่งให้เลิกประกอบกิจการ
  4. มาตรฐานมีการแก้ไข ใบรับรองจะมีอายุ 1 ปี นับแต่วันที่มาตรฐานใหม่มีผลบังคับใช้
  5. มาตรฐานมีการยกเลิก

ผลิตภัณฑ์ที่ตรวจติดตามผลไม่เป็นไปตามมาตรฐาน 2 ครั้งติดต่อกันการตรวจสุขลักษณะการผลิต

  1. สถานที่ตั้งอาคารที่ทำและบริเวณโดยรอบ :

– สะอาด ไม่มีน้ำขังแฉะ ไม่สกปรก

– อยู่ห่างสถานที่ที่มีฝุ่น เขม่า ควัน มากผิดปกติ

– ไม่อยู่ใกล้สถานที่น่ารังเกียจ เช่น แหล่งเก็บขยะ บริเวณที่เพาะเลี้ยงสัตว์

– พื้น ผนัง เพดาน เป็นวัสดุที่คงทน เรียบ สะอาด อยู่ในสภาพดี

– แยกเป็นสัดส่วน ไม่อยู่ใกล้สุขา

– พื้นที่ปฏิบัติงานไม่แออัด แสงสว่างเพียงพอ การระบายอากาศเหมาะสม

  1. เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ในการทำ : สะอาด เหมาะสมกับการใช้งาน ไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อน

มีเพียงพอ เป็นวัสดุผิวเรียบ ไม่เป็นสนิม ล้างทำความสะอาดง่าย

  1. การควบคุมกระบวนการ
  2. การสุขาภิบาล การบำรุงรักษา การทำความสะอาด

     5. บุคลากรและสุขลักษณะของผู้ทำ : ต้องรักษาความสะอาดส่วนบุคค

วันที่ 25 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูล CBD หรือระบบจัดและได้ลงพื้นเก็บข้อมูลเก็บข้อมูล

ในครั้งนี้มีข้อมูลที่ต้องเก็บทั้งหมด 10 หัวข้อ ได้แก่

– ผู้ที่ย้ายกลับบ้านเนื่องจากสถานการณ์โควิด          – แหล่งท่องเที่ยว

– ที่พักโรงแรม                                                      – ร้านอาหารในท้องถิ่น

– อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น                                   – เกษตรกรในท้องถิ่น

– พืชในท้องถิ่น                                                      – สัตว์ในท้องถิ่น

– ภูมิปัญญาท้องถิ่น                                                 – แหล่งน้ำในท้องถิ่น

    

วันที่ 7 พฤศจิกายน 2564 อาจารย์นัดประชุมออนไลน์ เวลา 16.00 น. ได้นัดหมายให้กลุ่มผู้ปฏิบัติงานทุกคนเข้าร่วมการประชุมออนไลน์ผ่านทาง Google Meet ตำบลหนองโบสถ์ และตำบลบ้านสิงห์เข้าประชุมร่วมกัน  โดยท่านอาจารย์ได้มอบหมายงานให้กับผู้ปฏิบัติงานทุกคนเก็บข้อมูล CBD เพิ่มเติม เพื่อให้ถึงเป้าหมายที่กำหนดไว้  และเลือกข้อมูล 3 หัวข้อจาก 10 หัวข้อ ใน CBD มาวิเคราะห์ปัญหา  โดยทางตำบลหนองโบสถ์ได้เลือกวิเคราะห์ปัญหา แหล่งท่องเที่ยว,ร้านอาหารในท้องถิ่น และแหล่งน้ำในท้องถิ่น โดยการนำข้อมูล CBD มาวิเคราะห์ปัญหา Pain point พื้นที่ของตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง นำเสนอข้อมมูลผ่าน Dash board หรือ G-Map

1.วิเคราะห์ Pain point (SWOT, VROI) หรือ เครื่องมือวิเคราะห์ ใดๆ ตามเหมาะสม)
2. นำเสนอข้อมูลผ่าน Dash Board หรือ G-map

โดยเลือก 3 หัวข้อ จาก 10 หัวข้อ ใน CBD และกลุ่มข้าพเจ้าเลือกแหล่งน้ำ

แหล่งน้ำในท้องถิ่น

กลุ่มประชาชน

ที่วัน 9 พฤศจิกายน 2564 ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งน้ำในตำบลหนองโบสถ์ ได้สอบถามถึงปัญหาของแหล่งน้ำ และแนวทางการแก้ไขปัญหา ปัญหาของแหล่งน้ำในตำบลหนองโบสถ์เนื่องด้วยชาวบ้านในตำบลหนองโบสถ์ส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นเกษตรกร และเกษตรกรบางส่วนยังไม่เข้าใจถึงสภาพปัญหาภัยแล้งพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำต้นทุนให้มากขึ้น เช่น ขุดสระแก้มลิงมีความลึกเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 5 เมตร ปริมาณน้ำถึงจะเพียงพอในการใช้ทำการเกษตร และมีการให้ความรู้ชาวบ้านเกี่ยวกับการสร้างน้ำต้นทุนให้กับพื้นที่ทำการเกษตร

    วันที่ 13 พฤศจิกายน 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรและคณะผู้ปฏิบัติงานได้รวมตัวกัน ณ บ้านโคกพลวง หมู่ 9 ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อมาร่วมกิจกรรมอบรมการทำลูกประคบสมุนไพรและการนวดแผนไทย โดยอาจารย์ ดร. สุกัญญา ทองขัน และอาจารย์ ดร. วิริญรัชญ์ สื่อออก สาขาเคมี  คณะวิทยาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มาสอนการทำลูกประคบสมุนไพร และเชิญเจ้าหน้าที่แพทย์แผนไทยจากโรงพยาบาลนางรองมาสอนนวดแผนไทย

การทำลูกประคบสมุนไพร

วัสดุอุปกรณ์ (ได้ลูกประคบประมาณ 10 ลูก)

-ผ้าดิบ หรือผ้าฝ้าย ขนาด 40 × 40 เซนติเมตร           -เชือก ยาว 200 เซนติเมตร

-ภาชนะสำหรับผสมสมุนไพร                                -เครื่องชั่ง

ในสูตรนี้ใช้สมุนไพรแห้ง (สามารถนำสมุนไพรสดไปตากหรืออบแห้งได้)

– ไพร 400 กรัม                    – ขมิ้นชัน 100 กรัม          – ตะไคร้ 200 กรัม

– ผิวมะกรูด 100 กรัม             – ใบมะขาม 100 กรัม       – ใบส้มป่อย 50 กรัม

– การบูร 30 กรัม                  – พิมเสน 30 กรัม             – เกลือ 60 กรัม

วิธีทำ

1.บดหรือทุบสมุนไพรแห้งพอหยาบ          2.ผสมส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน

3.ชั่งส่วนผสม 100 กรัม วางลงบนผ้า        4.ห่อผ้าและมัดเชือกให้แน่น

5.บรรจุลูกประคบไว้ในถุง เก็บในที่แห้ง สามารถเก็บได้ประมาณ 1 ปี

สมุนไพรสำหรับทำลูกประคบ ใช้สมุนไพรสดหรือแห้งก็ได้แต่ต้องไม่มีรา

กลุ่มน้ำมันหอมระเหย (ใช้อย่างน้อย 3 อย่าง)

  • ไพล ช่วยลดอาการปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก คลายกล้ามเนื้อ ลดอาการอักเสบ ฟกช้ำ บวม
  • ตะไคร้ แต่งกลิ่น ลดอาการฟกช้ำ ลดอาการปวดเมื่อย
  • ขมิ้นอ้อย ช่วยลดอาการอักเสบ แก้โรคผิวหนัง
  • ขมิ้นชัน ช่วยลดอาการอักเสบ แก้โรคผิวหนัง
  • ผิวมะกรูด มีน้ำมันหอมระเหย แก้ลมวิงเวียน (ถ้าไม่มีใช้ใบแทนได้)
  • ผิวส้ม บรรเทาลมวิงเวียน
  • ข่า รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน

กลุ่มที่มีรสเปรี้ยว (กรดอ่อนๆ)

  • ใบมะขาม ช่วยให้เส้นเอ็นหย่อน แก้โรคผิวหนังผื่นคัน ช่วยบำรุงผิว
  • ใบขี้เหล็ก ช่วยลพลายไขมันใต้ผิวหนัง ทำให้หลับสบาย
  • ใบส้มป่อย ช่วยบำรุงผิว แก้โรคผิวหนัง ลดความดัน

กลุ่มสารที่มีกลิ่นหอม จะระเหยเมื่อถูกความร้อน

  • การบูร แต่งกลิ่น บำรุงหัวใจ
  • พิมเสน แต่งกลิ่น ลดอาการพุพองผดผื่น บำรุงหัวใจ
  • เกลือ ช่วยดูดความร้อน และช่วยให้ตัวยาซึมผ่านผิวหนังได้ดีขึ้น

การเก็บรักษาลูกประคบ

 – เก็บไว้ในที่แห้ง ไม่มีฝุ่น

– สำหรับลูกประคบสมุนไพรสดสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้ 3-5 วัน

การใช้งาน

– สำหรับลูกประคบแห้ง ควรพรมน้ำลูกประคบก่อนนำไปนึ่ง

– นำลูกประคบที่ได้ไปนึ่งในหม้อนึ่ง ใช้เวลานึ่งประมาณ 15-20 นาที

บทสรุป

การลงพื้นที่เก็บข้อมูล CBD ได้ความรู้ใหม่ในการพูดคุยและรับรู้ถึงปัญหาของประชาชนในพื้นที่และการแก้ไขปัญหาของชุมชนและมีการจัดกิจกรรมอบรมการขอมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ อย. และการขึ้นทะเบียน OTOP และมาตรฐาน Primary GMP และส่งเสริมผลิตภัณฑ์ในชุมชนและจัดการอบรมการนวดแผนไทยและขั้นตอนการนวดอย่างถูกต้องตามวิธีแพทย์แผนไทยโบราณและขั้นตอนการทำลูกประคบให้กับคนในชุมชนเพื่อประโยชน์ใช้สอนในครัวเรือน

อื่นๆ

เมนู