ข้าพเจ้านางสาวปภาวี ศรีชุมแสง ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลหนองโบสถ์  อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

ในวันที่ 20 ตุลาคม 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรแจ้งข้อมูลในวันที่ 22 ตุลาคม 2564 จัดอบรมการขอมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ คือ การขอขึ้นทะเบียนอาหารและยา (อย.) และการขึ้นทะเบียน OTOP และ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) โดยมีวิทยากร คือ คุณภัทรวดี มักขุดทด นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ และ คุณชยุต ชำนาญเนาว์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ มาให้ความรู้ในด้านการขอมาตรฐานของผลิตภัณฑ์

ในวันที่ 21 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าและกลุ่มบัณฑิตจบใหม่จัดสถานที่เตรียมอบรมในวันที่ 22 ตุลาคม 2564 ณ ศาลาศูนย์การเรียนรู้บ้านโคกพลวง ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

ในวันที่ 22 ตุลาคม 2564 ผู้ปฏิบัติงานและผู้เข้าร่วมอบรมการขอมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ คือ การขอขึ้นทะเบียนอาหารและยา (อย.) การขึ้นทะเบียน OTOP และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)  โดยมีวิทยากร คือ คุณภัทรวดี มักขุดทด นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ และ คุณชยุต ชำนาญเนาว์นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ มาให้ความรู้ ณ.ศาลาหมู่บ้านโคกพลวง ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เรียนรู้เกี่ยวกับการขออย. การขึ้นทะเบียน OTOP และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) รัฐบาลได้ดำเนินโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ตั้งแต่ปี ๒๕๔๔ และดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมทั่วทุกภูมิภาคทั่วประเทศมีการแต่งตั้งคณะกรรมการระดับประเทศในส่วนกลางและคณะกรรมการระดับประเทศภูมิภาค โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1.สร้างงานและเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน 2.เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน 3.ส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาในท้องถิ่น ประเภทผลิตภัณฑ์ที่จะนำมาดำเนินการลงทะเบียนต้องผ่านกระบวนการผลิตโดยใช้ภูมิปัญญาจำนวน 5 ประเภท ดังนี้ 1.ประเภทอาหาร 2.ประเภทเครื่องดื่มแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม– เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ –เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ 3.ประเภทผ้าเครื่องแต่งกาย 4.ประเภทของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึก 5.ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร ประโยชน์ของการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์มีคุณภาพที่ดีขึ้นมีความปลอดภัยและผลิตภัณฑ์มีคุณภาพสม่ำเสมอ ผู้ซื้อผู้บริโภคตัดสินใจซื้อได้ง่าย สร้างความเชื่อมั่นและความน่าเชื่อถือและเรียนรู้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรองของ (มผช.) ขั้นตอนการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (ผมช.) และอาจารย์ประจำหลักสูตรชี้แจงการอบรมในวันที่ 30 ตุลาคม 2564

ในวันที่ 24 ตุลาคม 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรมอบหมายงานการสำรวจข้อมูลชุมชนเพิ่มเติมสำหรับบัณฑิตจบใหม่ 50 ชุด ประชาชน 30 ชุด และนักศึกษา 20 ชุด วันที่ 25 ตุลาคม 2564 ผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูล ณ บ้านสระขาม

ในวันที่ 28 ตุลาคม 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรมอบหมายงานให้ทีมบัณฑิตและทีมประชาชนลงพื้นที่จัดสถานที่ในการเตรียมอบรมใน วันที่ 30 ตุลาคม 2564 และ วันที่ 30 ตุลาคม 2564 ผู้ปฏิบัติงานและผู้เข้าร่วมอบรมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของชุมชนและการเรียนรู้การสร้างเพจหลักในเว็บไซต์ออนไลน์ให้กับตำบลหนองโบสถ์

ในวันที่ 30 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้า ผู้ปฏิบัติงาน และผู้เข้าร่วมอบรมการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ของตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ณ ศาลาการเรียนรู้บ้านโคกพลวง ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีวิทยากร อาจารย์ปิติวรรณ ฝ้ายโคกสูง มาให้ความรู้การอบรมในครั้งนี้ได้สอนการโฆษณาออนไลน์ คือ การสร้างความสนใจไม่ว่าวิธีใดก็ตาม เพื่อจูงใจให้เกิดความต้องการซื้อสินค้าหรือบริการโดยผ่านทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งทางทีมงานหนองโบสถ์ได้สร้างเพจในการขายสินค้าลงในเว็บไซต์  www.facebook.com ชื่อเพจผลิตภัณฑ์ คือ “ผลิตภัณฑ์ดี ที่หนองโบสถ์” ประเภทอาหาร ได้แก่ กล้วยเบรคแตก,กล้วยอบเนย,ทาร์ตไข่ เป็นต้น ส่วนในด้านของใช้ ได้แก่ กระเป๋าสานพลาสติก,หมวกไหล เป็นต้น

ในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรนัดหมายประชุมออนไลน์ เวลา 16:00 น. เป็นต้นไป ชี้แจงเกี่ยวกับงานในเดือนพฤศจิกายน 2564 งานเพิ่มข้อมูลของ CBD ที่ต้องเก็บเพิ่มให้ถึงจำนวน 1000 ชุด และแบ่งกลุ่มจัดทำการเก็บข้อมูล CBD ข้าพเจ้าและกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ได้ทำเรื่องแหล่งท่องเที่ยวใน ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่ แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร (ป่าป้าปลูก) โคกหนองนาโมเดล และROUTR 24 และ ในวันที่ 9-10 พฤศจิกายน 2564 ดิฉันและกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ลงพื้นที่เก็บข้อมูล CBD เพิ่มเติม

ในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรมอบหมายงานให้กับผู้ปฏิบัติงานได้ประสานงานกับตัวแทนหมู่บ้านที่ผู้ปฏิบัติงานได้รับมอบหมายเพื่อเข้าร่วมอบรมใน วันที่ 13 พฤศจิกายน 2564 เวลา 09:00 น. – 12:00 น. เข้าร่วมอบรมการทำลูกประคบและการนวดแผนไทย และจัดสถานที่อบรม ณ ศาลาการเรียนรู้บ้านโคกพลวง ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

ในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตร ผู้ปฏิบัติงานและผู้เข้าร่วมอบรมการทำลูกประคบซึ่งได้รับเกียรติจาก ดร.สุกัญญา ทองขัน และ อาจารย์วิรัญรัชญ์ สื่อออก อาจารย์ประจำสาขาเคมี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มาเป็นวิทยากรในการอบรมครั้งนี้ได้สอนการทำลูกประคบสมุนไพรพร้อมทั้งอธิบายขั้นตอนวิธีการทำลูกประคบสมุนไพรและการนวดแผนไทยจากโรงพยาบาลนางรอง ณ ศาลาการเรียนรู้บ้านโคกพลวง ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นการนวดชนิดหนึ่งในแบบไทย ซึ่งเป็นศาสตร์บำบัดและรักษาโรคแขนงหนึ่งของการแพทย์แผนไทย โดยจะเน้นในลักษณะการกด การคลึง การบีบ การดัด การดึง และการอบ ประคบ ซึ่งรู้จักกันโดยทั่วไปในชื่อ “นวดแผนโบราณ”

การทำลูกประคบสมุนไพร วัสดุ-อุปกรณ์(ได้ลูกประคบประมาณ 10 ลูก)

– ผ้าดิบ หรือ ผ้าฝ้าย ขนาด 40 x 40 เซนติเมตร

– เชือกยาว 200 เซนติเมตร

– ภาชนะสำหรับผสมสมุนไพร

– เครื่องชั่ง

ในสูตรนี้ใช้สมุนไพรแห้ง (สามารถนำสมุนไพรสดไปตากหรืออบให้แห้งได้)

– ไพล 400 กรัม         – ขมิ้นชัน 100 กรัม        – ตะไคร้ 200 กรัม      – ผิวมะกรูด 100 กรัม        – ใบมะขาม 100 กรัม     – ใบส้มป่อย 50 กรัม      – การบูร 30 กรัม           – พิมเสน 30 กรัม     – เกลือ 60 กรัม

วิธีการทำ

  • บดหรือทุบสมุนไพรแห้งพอหยาบ
  • ผสมส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน
  • ชั่งส่วนผสม 100 กรัม วางลงบนผ้า
  • ห่มผ้าและมัดเชือกให้แน่น

บรรจุลูกประคบไว้ในถุง เก็บในที่แห้ง สามารถเก็บได้ประมาณ 1 ปี

สมุนไพรสำหรับลูกประคบ ใช้สมุนไพรสดหรือแห้งก็ได้แต่ต้องไม่มีรา

กลุ่มน้ำมันหอมระเหย (ใช้อย่างน้อย 3 อย่าง)
ไพล ช่วยลดอาการปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก คลายกล้ามเนื้อ ลดอาการอักเสบ ฟกซ้ำ บวม
ตะไคร้ แต่งกลิ่น ลดอาการฟกซ้ำ ลดอาการปวดเมื่อย
ขมิ้นอ้อย ช่วยลดอาการอักเสบ แก้โรคผิวหนัง
ขมิ้นชัน ช่วยลดอาการอักเสบ แก้โรคผิวหนัง
ผิวมะกรูด มีน้ำมันหอมระเหย แก้ลมวิงเวียน (ถ้าไม่มีใช้ใบแทนได้)
ผิวส้ม บรรเทาลมวิงเวียน
ข่า รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน
กลุ่มที่มีรสเปรี้ยว (กรดอ่อนๆ)
ใบมะขาม ช่วยให้เส้นเอ็นหย่อน แก้โรคผิวหนังผื่นคัน ช่วยบำรุงผิว
ใบขี้เหล็ก ช่วยละลายไขมันใต้ผิวหนัง ทำให้หลับสบาย
ใบส้มป่อย ช่วยบำรุงผิว แก้โรคผิวหนัง ลดความดัน
กลุ่มสารที่มีกลิ่นหอม จะระเหยเมื่อถูกความร้อน
การบูร แต่งกลิ่น บำรุงหัวใจ
พิมเสน แต่งกลิ่น ลดอาการพุพองผดผื่น บำรุงหัวใจ
เกลือ ช่วยดูดความร้อน และช่วยพาให้ตัวยาซึม ผ่านผิวหนังได้ดีขึ้น

การเก็บรักษาลูกประคบ

– เก็บไว้ในที่แห้ง ไม่มีฝุ่น

– สำหรับลูกประคบสมุนไพรสด สามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้ 3 – 5 วัน

การใช้งาน

– สำหรับลูกประคบแห้ง ควรพรมน้ำบนลูกประคบก่อนนำไปนึ่ง

– นำลูกประคบที่ได้ไปนึ่งในหม้อนึ่ง ใช้เวลานึ่งประมาณ 15 – 20 นาที

สรุปในการทำงาน การเข้าร่วมกิจกรรมกับผู้เข้าร่วมอบรมในตำบลหนองโบสถ์ได้เรียนรู้ในการจัดอบรมเรื่อง การขอขึ้นทะเบียนอาหารและยา (อย.) การขึ้นทะเบียน OTOP และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ประโยชน์ของการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์คุณภาพที่ดีขึ้นมีความปลอดภัยและมีคุณภาพสม่ำเสมอ ผู้ซื้อผู้บริโภคตัดสินใจซื้อได้ง่าย สร้างความเชื่อมั่นและความน่าเชื่อถือ และเรียนรู้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรองของมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ขั้นตอนการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (ผมช.) การลงเก็บแบบสำรวจงานเพิ่มข้อมูลของ CBD และแบ่งกลุ่มจัดทำการเก็บข้อมูล CBD ดิฉันและกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ได้ทำหัวข้อเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวและการเรียนรู้การทำลูกประคบและการนวดแผนไทย เนื่องด้วยสถานการณ์โรคระบาดไวรัสโคโรนา (โควิด-19) จึงมีการเว้นระยะห่าง และสวมหน้ากากอนามัยการออกไปยังสถานที่สาธารณะ

อื่นๆ

เมนู