ข้าพเจ้า นายชนายุทธ ทองรักศรี ประเภทกลุ่มงานบัณฑิตจบใหม่ ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ผู้ปฏิบัติงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานและรายงานผลการปฏิบัติงานร่วมกับทีมงานและอาจารย์ประจำหลักสูตรประจำเดือนธันวาคม 2564
หลักสูตร : HS03 การแปรรูปขนมไทยเพื่อสร้างรายได้ในชุมชน
การนัดหมายผู้ปฏิบัติงานประจำเดือนธันวาคม
วันที่ 19 พฤศจิกายน 2564 เวลา 09.00 น. อาจารย์ประจำหลักสูตรนัดหมายผู้ปฏิบัติงานรวมตัวกัน ณ ศาลากลางบ้านโคกพลวง หมู่ที่9 ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เข้าร่วมกิจกรรมอบรมการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์แปรรูปขนม ได้รับความอนุเคราะห์จากอาจารย์ชินานาง สวัสดิ์รัมย์ และอาจารย์ธนพล รามฤทธิ์ สาขาศิลปะดิจิทัล (Digital Art) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นวิทยากรในการให้ความรู้ ในการจัดกิจกรรมมีการแบ่งกลุ่มออกเป็น 3 กลุ่ม ซึ่งในแต่ละกลุ่มจะมีผู้ปฏิบัติงานกับเจ้าของผลิตภัณฑ์ กลุ่มที่ข้าพเจ้าได้รับผิดชอบในการช่วยคิดการออกแบบ LOGO คือ หน๋มไทย @ สวนสุดฝัน (ของป้ามะลิ) ในการออกแบบ LOGO ผลิตภัณฑ์มีการออกแบบมาให้เลือกอยู่ 3 รูปแบบ คือ
รูปแบบที่ 1 : วาดภาพเป็นตัวผู้หญิงใส่ชุดทำอาหารเป็นภาพตัวแทนแม่มะลิ พร้อมกับใส่ตัวอักษรข้อความ “แม่มะลิหนมไทย @สวนสุดฝัน” เป็นการสื่อสารแบบง่ายให้ผู้อ่านทราบถึงชื่อแบรนด์ทันที ประกอบกับภาพวาดขนมไทยที่หลากหลายรวมกันในกระทงใบตองสื่อถึงเอกลักษณ์ของขนมไทย
รูปแบบที่ 2 : LOGO เด็กยิ้ม มีความน่ารักสดใส ออกแบบด้วยความเรียบง่ายจดจำได้ง่าย
รูปแบบที่ 3 : ชุดผ้าไทย ทำให้ LOGO แม่มะลิดูเป็นหญิงไทยมากขึ้น
ซึ่งหลังจากที่ได้ดู LOGO ผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมา 3 รูปแบบ เจ้าของผลิตภัณฑ์และผู้ปฏิบัติงานงานมีความคิดเห็นตรงกันเลือกรูปแบบที่ 1 ซึ่งเป็น LOGO มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น น่าสนใจ และแจ้งไปยังวิทยากรในการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้องตามรูปแบบตามที่เจ้าของผลิตภัณฑ์ต้องการด้วย
วันที่ 21 พฤศจิกายน 2564 เข้าร่วมโครงการการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นเชิงสหวิทยาการทั้งแบบออนไซต์และออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะเดิม เพิ่มทักษะใหม่และรายได้เสริมให้ประชาชนในพื้นที่บริการวิชาการ มีกิจกรรมดังต่อไปนี้
กําหนดการ โครงการการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นเชิงสหวิทยาการทั้งแบบออนไซต์และออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะเดิม เพิ่มทักษะใหม่และรายได้เสริมให้ประชาชนในพื้นที่บริการวิชาการของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ณ ห้องประชุมมนุษยสังคมวัฒนา อาคาร 25 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วันที่ 21 พฤศจิกายน 2564
เวลา | กิจกรรม |
08.00-09.00 น. | ลงทะเบียน พร้อมรับอาหารว่างและเครื่องดื่ม |
09.00-09.15 น. | พิธีเปิดโครงการ โดย รองศาสตราจารย์มาลิณี จุโฑปะมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์กล่าวรายงาน โดย รศ.ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
09.30-11.00 น.
|
เสวนาการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นเชิงสหวิทยาการฯผู้ร่วมเสนา
1. นายสิทธิชัย สุดสวาท ผู้อํานวยการสํานักงานพัฒนาฝีมือแรงงานบุรีรัมย์ 2. คุณไขแสง ซอกรัมย์ สํานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) 3. นายปฐม นิ่มหัตถา วิทยาลัยชุมชนบุรีรัมย์ 4. นายอาทิตย์ จําปาตุม วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์ 5. ผศ.ดร.รพีพรรณ พงษ์อินทร์วงศ์ รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ดําเนินรายการโดย รศ.ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
11.00-12.00 น. | บรรยายตัวอย่างแบบฟอร์มการทําหลักสูตรระยะสั้นโดย รศ.ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
12.00-13.00 น. | รับประทานอาหารกลางวัน |
13.00-15.00 น.
|
นําเสนอข้อมูลโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตําบลแบบบูรณาการ(1 ตําบล 1 มหาวิทยาลัย) มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ จํานวน 11 ตําบล ประเด็นที่ต้องนําเสนอ (10 นาที)
1. ชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรมของโครงการมีกี่หมู่บ้านของแต่ละตําบล 2. ผลผลิตและนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากการดําเนินโครงการ 3. ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในระหว่างดําเนินโครงการ 4. แนวทางและวิธีแก้ปัญหา/อุปสรรค ที่เกิดขึ้น 5. กิจกรรมที่ดําเนินการสามารถตอบโจทย์ BCG และ SDGs ข้อไหน จะต่อยอดกิจกรรมให้เกิดผลผลิต/นวัตกรรม อะไรและอย่างไร |
15.00-15.30 น. | สรุปประเด็นทั้งหมด จํานวน 11 ตําบลโดย รศ.ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
15.30 น. | ปิดโครงการ |
ภาพ โครงการการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นเชิงสหวิทยาการทั้งแบบออนไซต์และออนไลน์
วันที่ 27-29 พฤศจิกายน 2564 ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานกลุ่มงานบัณฑิตจบใหม่ได้ลงพื้นที่เก็บแบบสำรวจสำหรับที่พักอาศัย (U2T Tracker) ณ บ้านสระขาม หมู่ที่1 ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยทีมงานผู้ปฏิบัติงานได้ติดต่อขอลงพื้นที่กับผู้นำชุมชน ได้รับความร่วมมือจากผู้นำชุมชน อสม. และชาวบ้านเป็นอย่างดี โดยเก็บจำนวน 50 หลังคาเรือน จากการเก็บแบบสำรวจ ชาวบ้านมีการสังเกตอาการของตนเองและครอบครัวว่ามีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือไม่ ตนเองหรือคนในครอบครัวมีการเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่ระบาด หรือการดูแลสุขอนามัยด้วยการล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ รับประทานอาหารที่สุก ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น และสวมหน้ากากอนามัยเมื่อออกไปยังพื้นที่สาธารณะ
วันที่ 2 ธันวาคม 2564 เวลา 18.20 น. ทางอาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดหมายให้กลุ่มผู้ปฏิบัติงานทุกคนประชุมออนไลน์ผ่าน Google Meet ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมการประชุม โดยมีกลุ่มนักศึกษา กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ และกลุ่มประชาชน ตำบลหนองโบสถ์ และตำบลบ้านสิงห์เข้าร่วมประชุมถึงการปฏิบัติงานในเดือนสุดท้ายก่อนจบโครงการ อาจารย์ชี้แจงรายละเอียดการปฏิบัติงานการดำเนินงานรายตำบล TSI และกิจกรรมอบรมการมีจิตอาสาเพื่อส่งเสริมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรในชุมชนท้องถิ่น (“จิตอาสา ทำความดีด้วยหัวใจ” HUSOC ถวายพระราชกุศล วันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2564) ณ ศาลากลางบ้านโคกพลวง หมู่ที่9 ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
วันที่ 3 ธันวาคม 2564 ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองโบสถ์ ได้รับมอบหมายงานจากอาจารย์ประจำหลักสูตรให้ดำเนินงานรายตำบล TSI และการแบ่งกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม คือ แต่ละกลุ่มจากประกอบด้วย บัณฑิตฯ 5 คน ประชาชน 3 คน รวมเป็น 8 คนต่อ 1 กลุ่ม โดยเป็นการสรุปการดำเนินงานภาพรวมของตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ในภาพรวมโดยได้มีการสรุปข้อมูลสำคัญภายในตำบลรวมถึงข้อมูลการดำเนินงานตลอดโครงการ พอสรุปได้ว่า ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นตำบลมุ่งสู่ความพอเพียง ประกอบไปด้วย 14 หมู่บ้าน 1,955 ครัวเรือน สภาพส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีแหล่งน้ำสาธารณะ ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร รับจ้างทั่วไป ค้าขาย และเลี้ยงสัตว์ ในส่วนผลลัพธ์จากการดำเนินงาน พบว่า
ด้านเศรษฐกิจ
- เกิดการสร้างรายได้จากการแปรรูปผลิตภัณฑ์ในชุมชน
- ทำให้ผลิตภัณฑ์ในชุมชนมีคุณประโยชน์และคุ้มค่ามากขึ้น
ด้านสังคม
- ชาวบ้านเกิดการเรียนรู้และพัฒนาตนเองและพัฒนาชุมชน
- ส่งเสริมการสร้างอาชีพให้กับชาวบ้านภายในชุมชน
ข้อเสนอแนะ
- ควรพัฒนาการแปรรูปขนมและบรรจุภัณฑ์ โดยยังมีการรักษามาตรฐานของสูตรและรสชาติ
ของขนม เพื่อที่จะสามารถนำไปต่อยอดให้กับชุมชนได้อย่างยั่งยืน - ควรวิเคราะห์วัตถุประสงค์ของโครงการเป็นสำคัญ
- มีการบริหารจัดการเกี่ยวกับระยะเวลาในการทำโครงการอย่างเหมาะสม
- ควรศึกษาแนวโน้มทางการตลาดของขนมในชุมชน เพื่อเพิ่มช่องทางในการซื้อขายให้เหมาะกับยุคปัจจุบัน และเพื่อส่งเสริมให้ขนมระดับ SME มีความทันสมัยและเป็นที่น่าซื้อขายมากยิ่งขึ้น
วันที่ 6 ธันวาคม 2564 ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ร่วมกับชุมชนจัดกิจกรรมอบรมการมีจิตอาสาเพื่อส่งเสริมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรในชุมชนท้องถิ่น (“จิตอาสา ทำความดีด้วยหัวใจ” HUSOC ถวายพระราชกุศล วันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2564) เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ตระหนักถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำความสะอาดพื้นที่และพัฒนาปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในหมู่บ้าน การร่วมแรงร่วมใจจากผู้นำชุมชน ประชาชนในหมู่บ้าน สร้างความสมัครสมานสามัคคี และการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมของประชาชนด้วย
สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน
- การร่วมประชุมวางแผนก่อนการปฏิบัติงานก่อนทุกครั้งเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับงานที่ได้รับมอบหมาย
- ได้เรียนรู้การถอดบทเรียนการดำเนินงาน TSI
- ได้ฝึกให้ตนเองมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ต่องานที่ได้รับมอบหมาย
- มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
- ได้เรียนรู้จากการทำกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาองค์ความรู้ให้กับชุมชน
- สร้างเสริมการมีบุคลิกภาพที่ดี การวางตัวที่เหมาะสม และสร้างเสริมลักษณะนิสัยให้เป็นคนตรงต่อเวลามายิ่งขึ้น
- ได้เรียนรู้ทักษะการทำงานเป็นทีมกับผู้ปฏิบัติงานท่านอื่น และประชาชนในชุมชน
- มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการปฏิบัติงาน
- เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) ทำให้การลงพื้นที่ในการปฏิบัติงานต้องใช้ความระมัดระวังมากยิ่งขึ้น
- การเก็บรวบรวมข้อมูลลงระบบมีความผิดพลาดจากผู้ปฏิบัติงานเองทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการลงข้อมูลที่ไม่ตรงตามเป้าหมายที่กำหนด
วิธีแก้ไขปัญหาเพื่อให้การปฏิบัติงานสำเร็จ
- ควรวางแผนทุกครั้งก่อนออกไปปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้การเก็บข้อมูลเป็นไปด้วยความสะดวกเรียบร้อย
- มีการป้องกันตนเองโดยเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019
(COVID 19) สวมใส่หน้ากากอนามัย พกเจลแฮลกอฮอล์ทุกครั้งที่ปฏิบัติงานและร่วมทำกิจกรรม
สรุปผลการทำกิจกรรม
การปฏิบัติงานประจำเดือนธันวาคม 2564 จากการจัดกิจกรรมอบรมการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์แปรรูปขนมหรือการออกแบบ LOGO ผลิตภัณฑ์ให้กับชุมชน และการดำเนินงานรายตำบล TSI การลงพื้นที่เก็บแบบสำรวจ (U2T Tracker) ได้เรียนรู้และได้ประสบการณ์ต่างๆจากการทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน ส่งเสริมยกระดับและสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์และสินค้าของชุมชนภายในตำบลหนองโบสถ์ การทำกิจกรรมจิตอาสาเนื่องในวันพ่อแห่งชาติร่วมกับประชาชนในชุมชน ได้มีการกวาดเศษใบไม้และร่วมกันทำความสะอาด พัฒนา ปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในหมู่บ้าน ได้รับความร่วมมือจากผู้นำชุมชน ประชาชนในหมู่บ้านทุกคนเป็นอย่างดี
ภาพการทำกิจกรรม
HS03 : ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ วีดีโอการทำกิจกรรมประจำเดือนธันวาคม 2564