ข้าพเจ้า นางสาวกัลยา ทองสาย ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ผู้ปฏิบัติงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)

หลักสูตร การแปรรูปขนมไทย HS03 ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานประจำเดือนธันวาคม พ.ศ.2564

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรและคณะผู้ปฏิบัติงานได้รวมตัวกัน ณ บ้านโคกพลวง หมู่ 9 ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เชิญเจ้าของผลิตภัณฑ์ 3 ท่าน ได้แก่ เจ้าของผลิตภัณฑ์กล้วยเบรคแตก เจ้าของผลิตภัณฑ์ขนมไทยเพื่อสุขภาพ และ เจ้าของผลิตภัณฑ์ขนมเบเกอรี่ เพื่อมาร่วมกิจกรรมอบรมการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์แปรรูปขนม โดยได้รับความอนุเคราะห์จาก อาจารย์ ชินานาง สวัสดิ์รัมย์ และอาจารย์ธนพล รามฤทธิ์ สาขาวิชาศิลปะดิจิทัล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นวิทยากรให้ความรู้ในกิจกรรมอบรม ซึ่งวิทยากรได้ออกแบบ LOGO มาให้ทั้ง 3 ผลิตภัณฑ์ เพื่อที่จะให้เจ้าของผลิตภัณฑ์เลือกว่าต้องการ LOGO แบบใด ซึ่งในตัวอย่างวิทยากร ได้ทำกราฟิกและสีให้เลือก ถ้าเจ้าของผลิตภัณฑ์ต้องการแก้ไขหรือเพิ่มเติมจุดใดสามารถแจ้งได้เลย กลุ่มข้าพเจ้าได้รับผิดชอบกล้วยเบรคแตก

แบบที่ 1 การออกแบบ LOGO (กล้วยเบรคแตก โคกพลวงบ้านเอ๋ง!!) ใช้แนวคิดในการออกแบบคือ ออกแบบรูปกล้วยที่แบดเท่ๆ ใส่หมวกเซฟเพื่อให้ตรงคอนเซ็ปต์ของโลโก้ให้มีลูกเล่นอีกด้วย

แบบที่ 2 การออกแบบ LOGO (กล้วยเบรคแตก โคกพลวงบ้านเอ๋ง!!) ใช้แนวคิดในการออกแบบคือ วาดรูปการ์ตูนที่เป็นรูปกล้วยขึ้นมาเพื่อให้ตรงคอนเซ็ปต์ของโลโก้ ฉากกราฟิกข้างหลังกราฟิกกล้วยออกแบบเป็นใบตองเพื่อให้มีความโดดเด่นที่ชวนมอง

แบบที่ 3 การออกแบบ LOGO (กล้วยเบรคแตก โคกพลวงบ้านเอ๋ง!!) ใช้แนวคิดในการออกแบบคือ การวาดรูปการ์ตูนน่ารักๆ ใส่หมวกเซฟขึ้นมาเพื่อให้ตรงคอนเซ็ปต์ของโลโก้ที่ทำและออกแบบป้ายเพื่อให้รู้ว่าโลโก้นี้ชื่ออะไร ลักษณะของป้ายจะมีชื่อ LOGO ว่า กล้วยเบรคแตก โคกพลวงบ้านเอ๋ง!!

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2564 ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่เก็บแบบสำรวจข้อมูลของคนในชุมชนเกี่ยวกับการป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 จำนวน 50 หลังคาเรือน ในพื้นที่บ้านลิ่มทอง หมู่ 3 ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ และจากที่ได้ไปเก็บข้อมูลการสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 พบว่า ชาวบ้านในชุมชนส่วนมาก มีการสังเกตอาการของตนเองและบุคคลในครอบครัวอยู่เสมอ มีการดูแลสุขอนามัยด้วยการล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ และเมื่อออกนอกบ้านจะสวมหน้ากากอนามัยอยู่เสมอ

วันที่ 2 ธันวาคม 2564 อาจารย์นัดประชุมออนไลน์ผ่านทาง Google meet เพื่อชี้แจงและมอบหมายงานเกี่ยวกับรายละเอียดแบบฟอร์มถอดบทเรียนการดำเนินงาน (TSI) โดยอาจารย์ ให้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม และอาจารย์ได้ชี้แจงถึงการลงพื้นที่จัดกิจกรรมจิตอาสาในวันที่ 6 ธันวาคม 2564

วันที่ 3 ธันวาคม 2564 สืบเนื่องจากงานกลุ่มถอดบทเรียนการดำเนินงาน (TSI) ที่อาจารย์ได้มอบหมายให้ ทางกลุ่มของข้าพเจ้าจึงนัดประชุมเพื่อมอบหมายงาน ซึ่งข้าพเจ้าได้รับมอบหมายงานคือหาข้อมูลพื้นฐานตำบล

 

วันที่ 6 ธันวาคม 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรและคณะผู้ปฏิบัติงานได้รวมตัวกัน ณ บ้านโคกพลวง หมู่ 9 ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อทำกิจกรรม “จิตอาสา ทำดีด้วยหัวใจ” ถวายพระราชกุศล วันพ่อแห่งชาติ ได้เดินเก็บขยะและกวาดถนนในหมู่บ้านโคกพลวง

ความรู้ที่ได้รับจากการปฏิบัติงาน

1. ได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีมมากยิ่งขึ้น

2. ได้เรียนรู้การถอดบทเรียนการดำเนินงาน (TSI)

ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการปฏิบัติงาน

เนื่องจากเกิดปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้เดินทางเข้า-ออกชุมชน และทำให้การเก็บข้อมูลเป็นไปด้วยความยาก เพื่อที่จะสามารถเก็บข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องวางแผนการทำงานทุกครั้งก่อนออกไปปฏิบัติหน้าที่ และควรใส่หน้ากากอนามัย พกเจลแอลกอฮอล์ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จากตัวเองและคนในชุมชน

สรุป

จากการลงพื้นที่บ้านโคกพลวง เพื่อทำกิจกรรม “จิตอาสา ทำดีด้วยหัวใจ” ถวายพระราชกุศล วันพ่อแห่งชาติ ได้เดินเก็บขยะและกวาดถนนในหมู่บ้านได้เห็นถึงความสามัคคีร่วมมือกันในชุมชนเป็นอย่างดี และจากที่ได้ไปเก็บข้อมูลการสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 พบว่า ชาวบ้านในชุมชนส่วนมาก มีการสังเกตอาการของตนเองและบุคคลในครอบครัวอยู่เสมอ มีการดูแลสุขอนามัยด้วยการล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ และเมื่อออกนอกบ้านจะสวมหน้ากากอนามัยอยู่เสมอ

อื่นๆ

เมนู