ข้าพเจ้า นางสาวปกิตตา ขำวงศ์ ประเภทนักศึกษา ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

วันที่ 19 สิงหาคม 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรนัดประชุมผ่านระบบออนไลน์ Google meet เวลา 17:00 ชี้แจงเกี่ยวกับการจัดเตรียมสถานที่ อุปกรณ์ต่างๆของการทำกิจกรรมแปรรูปเพื่อสร้างความหลากหลายให้กับผลิตภัณฑ์ ณ ศูนย์การเรียนรู้บ้านโคกพลวง หมู่ 9 ตำบลหนองโบสถ์

วันที่ 20 สิงหาคม 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรนัดหมายลงพื้นที่ทำกิจกรรมแปรรูปขนม นัดรมตัวที่บ้านผู้ใหญ่บ้านโคกพลวงและผู้เป็นตัวแทนการทำขนมทาร์ตไข่ โดยมีตัวแทนจากคณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์การอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ถ่ายทอดผ่านระบบออนไลน์ แอป Zoom  ได้สอนวิธีการทำแป้งพายและตัวไส้ทาร์ตไข่สูตรใหม่ ให้มีความแตกต่างไปจากเดิม ซึ่งแป้งพายจะมีความหนาและกรอบกว่าเดิม เพื่อพัฒนาและเพิ่มมูลค่าให้กับทาร์ตไข่

ส่วนผสมของแป้งพาย

  • แป้งเอนกประสงค์        250     กรัม
  • เนยสด                          65       กรัม
  • เนยขาว                        60       กรัม
  • น้ำตาลไอซิ่ง                 1          ช้อนโต๊ะ
  • เกลือ                            1/4      ช้อนชา
  • น้ำเย็น                         50        กรัม

ส่วนผสมไส้ทาร์ตไข่

  • ไข่แดง                         7        ฟอง
  • น้ำตาล                       150     กรัม (1/2ถ้วยตวง)
  • วิปปิ้งครีม                  700    กรัม (1/2 ถ้วยตวง)
  • นมจืด                         300     กรัม (1/4 ถ้วยตวง)
  • กลิ่นวนิลลา                1          ช้อนชา
  • เกลือ                          1/4      ช้อนชา

วิธีทำ

1. ร่อนแป้งและนำเนยสด+เนยขาว ที่แช่แข็งหั่นเป็นชิ้นเล็กๆผสมให้แป้งเคลือเนยจะได้แป้งที่เป็นเม็ดร่วนๆ

2. ทำแป้งเป็นหลุมตรงกลาง แล้วพักทิ้งไว้

3. น้ำตาลไอซิ่ง+เกลือ+น้ำเย็น คนให้ละลายแล้วนำไปเทใส่ในแป้งใช้ไม้พายคนตะล่อมให้เข้ากัน

4. นวดเล็กน้อยให้แป้งรวมตัวกันเป็นก้อน ประมาณ 1-2 นาที

5. นำแป้งที่ได้ไปห่อด้วยพลาสติก แล้วนำไปแช่ตู้เย็นอย่างน้อย 1 ชั่วโมง

6. นำแป้งที่พักแล้วมารีด หนาประมาณ 1/8 นิ้ว รีดให้มีความหนาเท่าๆกัน

7. ใช้ที่ตัดคุกกี้ตัดออกเป็นชิ้นๆ ตามที่ต้องการ (เศษที่เหลือนำมารวมกันเป็นก้อน แล้วพักไว้ในตู้เย็น แล้วนำมารีดช้อีกได้)

8. นำแป้งที่ตัดลงพิมพ์ แล้วกดแป้งให้แนบกับพิมพ์อย่าให้มีฟองอากาศ

9. ใช้ส้อมจิ้มให้เป็นรูทั่วทั้งพิมพ์ แล้วนำไปแช่เย็นอย่างน้อย 1 ชั่วโมง

10. นำข้าวสารใส่ลงบนแผ่นฟอยล์ ปั้นให้เป็นก้อนกลม จากนั้นนำไปวางบนขนม (ป้องกันไม่ให้แป้งพองตัวระหว่างอบ)

11. การอบแบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงแรก อบไฟบน-ล่าง 180 องศา 10 นาที (ครบ 10 นาที นำออกมาเอาห่อข้าวสารออก) ช่วงสอง ไฟบน-ล่าง 180 องศา 10 – 15 นาที ดูให้เป็นสีเหลืองทองอ่อนๆ

12. อบเสร็จนำออกจากพิมพ์

13. ทำใส้ทาร์ตไข่ นำไข่แดง+น้ำตาลทราย+วิปปิ้งครีม+นมจืด+กลิ่นวนิลลา+เกลือ ผสมเข้าด้วยกัน

14. นำไส้ทาร์ตไข่ใส่ในแป้ง แล้วอบไฟบน-ล่าง 180 องศา 30-35 นาที

บรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์กล้วยทอด

หลังจากทำกิจกรรมการทำขนมทาร์ตไข่เสร็จเรียบร้อย อาจารย์ประจำหลักสูตรได้แนะนำบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์กล้วยทอด ด้านหน้าถุงจะใสสามารถมองเห็นผลิตภัณฑ์ได้ เป็นถุงซิปล็อค และมีซองกันชื้นเพื่อรักษาให้กล้วยทอดมีความกรอบได้นานยิ่งขึ้น และถุงบรรจุภัณฑ์มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมสีสันดึงดูดสายตา น่าสนใจต่อผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้น เพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า และสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค

กิจกรรมที่ได้ทำตั้งแต่เริ่มปฏิบัติงานจนถึงปัจจุบัน มีดังนี้

  • เดือนมีนาคม 2564 ได้รับมอบหมายลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบสอบถาม 01 02 และ 06 บ้านไทยทอง หมู่14 ตำบลหนองโบสถ์
  • เดือนเมษายน 2564 ได้ลงพื้นที่เข้าร่วม พิธียกเสาเอก-เสาโท จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ณ บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จัดเวทีประชุมการแปรรูปขนมไทย ที่ศูนย์การเรียนรู้บ้านโคกพลวง หมู่9 ตำบลหนองโบสถ์
  • เดือนพฤษภาคม 2564 วันที่ 12 พฤษภาคม 2564 ได้เข้าร่วมกิจกรรมงานบุญผ้าป่า-ปาฐกถาชุมชนออนไลน์
  • เดือนมิถุนายน 2564 วันที่ 22 พฤษภาคม 2564 มีการนัดประชุมออนไลน์ผ่าน Google Meet เพื่อชี้แจงเกี่ยวกับรายละเอียดในการทำงาน ในเรื่อง อบรมการออกแบบสร้างโลโก้ให้กับผลิตภัณฑ์ วันที่ 23 พฤษภาคม 2564  อาจารย์นัดหมายลงพื้นที่เฉพาะกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ และกลุ่มประชาชน ส่วนกลุ่มนักศึกษา รับชมผ่านทางออนไลน์ ในการอบรมมีอาจารย์และผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบโลโก้ผลิตภัณฑ์ ได้ให้ความรู้และแนะนำในการออกแบบให้มีความโดดเด่น ให้ผู้บริโภคมีความสนใจผลิตภัณฑ์ ในการอบรมในครั้งนี้ชาวบ้านมีความสนุกสนาน ให้ความสนใจเป็นอย่างดี วันที่ 26 พฤษภาคม 2564 ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการร่วมใจปลูกต้นไม้ธรรมมะวันวิสาขบูชา ณ โรงเรียนบ้านหนองยายพิมพ์ ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ วันที่ 6 มิถุนายน 2564 ข้าพเจ้าได้ลงพื้นสำรวจข้อมูล ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ วันที่ 12 มิถุนายน 2564 ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรม covid-19 week ก้าวต่อไปสู่ภัยโควิด ณ ศูนย์การเรียนรู้บ้านโคกพลวง หมู่ 9 ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลได้ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19 วิธีการป้องกัน และการสวมหน้ากากอนามัยที่ถูกต้อง และอาจารย์ได้สาธิตการทำสเปร์แอลกอฮอล์
  • เดือนกรกฎาคม 2564 วันที่ 7 กรกฎาคม 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรนัดประชุมออนไลน์ผ่านทาง Google meet ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมประชุมเพื่อเก็บข้อมูลแบบสำรวจที่พักอาศัยในพื้นที่ตำบลหนองโบสถ์ วันที่ 14 กรกฎาคม 2564 ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่บ้านไทยทอง หมู่ 14 ตำบลหนองโบสถ์ ได้ประสานกับท่านผู้ใหญ่บ้าน เพื่อลงพื้นที่เก็บข้อมูลของคนในชุมชนเกี่ยวกับการป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19
  • เดือนสิงหาคม 2564 วันที่ 24 กรกฎาคม 2564 อาจารย์นัดหมายผู้ปฏิบัติงานทุกตำบล เข้าร่วมการประชุมผ่านทางแอพพลิเคชั่น Microsoft Team เพื่อรับฟังการแนะนำวิธีการเขียนรายงานการปฏิบัติงาน บทความ การคัดลอกลิงค์วิดีโอและบทความที่ถูกต้อง การแคปภาพหน้าจอการลงเวลาปฏิบัติงานและวิดีโอ เพื่อจะทำให้ผู้ตรวจ ตรวจได้สะดวกและรวดเร็ว และเป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานครั้งถัดไป วันที่ 31 กรกฎาคม 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรนัดหมายผู้ปฏิบัติงานเข้าร่วมกิจกรรมการบริจาคของในนาม U2T  ณ ศูนย์กักตัวบ้านลิ่มทอง วันที่ 14 สิงหาคม 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรนัดประชุมออนไลน์ผ่านระบบ Google meet เพื่อชี้แจงเกี่ยวกับรายละเอียดในปฏิบัติงานงาน อาจารย์ได้ส่งตัวอย่างการเขียนรายงานที่มีการปรับแก้ไขในเดือนสิงหาคมให้ผู้ปฏิบัติงานได้ทราบ และการจัดเก็บข้อมูลแบบสำรวจในเดือนสิงหาคม วันที่ 15 สิงหาคม 2564 ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบสำรวจชุดที่1 สำหรับที่พักอาศัย (ประเมินรอบเดือนสิงหาคม) บ้านไทยทอง หมู่ 14 ตำบลหนองโบสถ์

-ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรม ได้รับความรู้ทุกครั้งที่เข้าร่วมกิจกรรม ไม่ว่าจะผลิตภัณฑ์ของชุมชน วิทยากรที่มาให้ความรู้แนะนำการสร้างผลิตถัณฑ์ให้มีมูลค่า และความน่าสนใจ ดึงดูดผู้บริโภค

-ปัญหา/อุปสรรค ที่พบในการปฏิบัติงาน 

  • การลงพื้นที่เก็บแบบสอบถาม ชาวบ้านไม่ค่อยมีใครอยู่บ้าน และบางคนไม่ให้ความร่วมมือในการสำรวจ
  • บางเดือนไม่สามารถลงพื้นที่ได้เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19ที่รุนแรง

-วิธีแก้ไขปัญหา

  • หาช่วงเวลาที่เหมาะสมที่จะคาดการณ์ว่าชาวบ้านอยู่บ้าน
  • อธิบายให้ชาวบ้านเข้าใจ ว่าเรามาทำอะไร ต้องการข้อมูลไปเพื่ออะไร
  • หากลงไม่ได้สามารถแลก้ปลี่ยนข้อมูลจากผู้นำหมู่บ้านผ่านทางโทรศัพท์

สรุปการปฏิบัติงานในเดือนกันยายน

เก็บข้อมูลแบบสำรวจชุดที่1 สำหรับที่พักอาศัย จำนวน 20ครัวเรือน กิจกรรมการทำทาร์ตไข่และบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์กล้วยทอด สรุปการปฏิบัติงานตั้งแต่เดือนแรกจนถึงปัจจุบัน ความรู้ที่ได้จากกิจกรรม ปัญหาที่พบในการปฏิบัติงาน และวิธีแก้ไข

 

 

 

อื่นๆ

เมนู