ข้าพเจ้านางสาววนาลี เทียมศรีบุญ ประเภทประชาชน หลักสูตร HS03 ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ มีหน้าที่รับผิดชอบ บ้านหนองโบสถ์พัฒนา หมู่13 ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)

วันที่ 19 สิงหาคม 2564

         อาจารย์ได้มีการนัดหมายผู้ปฏิบัติงานให้มาส่งใบรายงานผลการปฏิบัติงาน เป็นเวลา 17.00 น. ที่บ้านผู้ใหญ่สามัญ บ้านโคกพลวง และให้ผู้ปฏิบัติงานได้จัดเตรียมสถานที่และอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ขนมทาร์ตไข่ในวันที่ 20 สิงหาคม 

วันที่ 20 สิงหาคม 2564 

        ข้าพเจ้าทีมงานและอาจารย์ประจำหลักสูตรได้มีการทำกิจกรรมและจัดสถานที่เพื่อการแปรรูปผลิตภัณฑ์ขนมทาร์ตไข่และได้ความรู้จากการแปรรูปขนมกล้วยฉาบและการออกแบบบรรจุภัณฑ์และในช่วงการทำการแปรรูปขนมทาร์ตไข่ ข้าพเจ้าทีมงานและอาจารย์ประจำหลักสูตรและตัวแทนของชุมชนได้มีการถ่ายทอดสดออนไลน์และมีการถ่ายทอดสดร่วมกับตำบลบ้านสิงห์และทีมงานตัวแทนที่สอนวิธีการและขั้นตอนการทำขนมทาร์ตไข่แบบสูตรไหม่เพื่อเพิ่มความรู้ใหม่ๆให้กับชุมชนได้มีความหลากหลายมากขึ้น


   

   

วิธีและขั้นตอนการทำขนมทาร์ตไข่

ส่วนผสมของแป้งพาย

     1.แป้งเอนกประสงค์               250     กรัม

     2.เนยสด                                 65       กรัม

     3.เนยขาว                               60       กรัม

     4.น้ำตาลไอซิ่ง                         1         ช้อนโต๊ะ

     5.เกลือ                                  1/4      ช้อนชา

     6.น้ำเย็น                                 50       กรัม

ส่วนผสมไส้ทาร์ตไข่

      1.ไข่แดง                                 7        ฟอง

      2.น้ำตาล                                150     กรัม     (1/2ถ้วยตวง

      3.วิปปิ้งครีม                            700    กรัม     (1/2ถ้วยตวง)

      4.นมจืด                                   300    กรัม     (1/4ถ้วยตวง)

      5.กลิ่นวนิลลา                           1        ช้อนชา

      6.เกลือ                                  1/4      ช้อนชา

วิธีทำ

    1.ร่อนแป้ง และนำเนยสด+เนยขาวที่แช่เย็นหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ผสมให้แป้งเคลือบเนย จะได้แป้งที่เป็นเม็ดร่วนๆ

     2.ทำแป้งเป็นหลุมตรงกลาง แล้วพักไว้

     3.น้ำตาลไอซิ่ง+เกลือ+น้ำเย็น คนให้ละลาย แล้วนำไปเทใส่ในแป้ง ใช้ไม้พายคนตะล่อมให้เข้ากัน

     4.นวดเล็กน้อยให้แป้งรวมตัวกันเป็นก้อน (ประมาณ 1-2 นาที)

     5.นำแป้งที่ได้ห่อด้วยพลาสติก แล้วนำไปแช่ตู้เย็นอย่างน้อย 1 ชั่วโมง

     6.นำแป้งที่พักแล้วมารีด หนาประมาณ 1/8 นิ้ว รีดให้มีความหนาเท่าๆ กัน

     7.ใช้ที่ตัดคุกกี้ตัดออกเป็นชิ้นตามที่ต้องการ (เศษที่เหลือนำมารวมกันเป็นก้อน แล้วพักในตู้เย็น แล้วนำมารีดอีกได้)

     8.นำแป้งที่ตัดลงพิมพ์ แล้วกดแป้งให้แนบกับพิมพ์ อย่าให้มีฟองอากาศ

     9.ใช้ส้อมจิ้มให้เป็นรูทั่วพิมพ์ และนำไปแช่เย็นอย่างน้อย 1 ชั่วโมง

    10.นำข้าวสารใส่ลงบนแผ่นฟอยล์ปั้นให้เป็นก้อนกลม จากนั้นนำไปวางบนขนม

    11.การอบแบ่งเป็น 2 ช่วง : ช่วงแรก อบไฟบน-ล่าง 180 องศา 10 นาที (ครบ10 นาที นำออกมา เอาห่อข้าวสารออก) ช่วงสอง อบไฟบน-ล่าง 180 องศา 10-15 นาที ดูให้เป็นสีเหลืองทองอ่อนๆ

   12.อบเสร็จนำพิมพ์ออก

   13.ทำไส้ทาร์ตไข่ นำไข่แดง+น้ำตาลทราย+วิปปิ้งครีม+นมจืด+กลิ่นวนิลลา+เกลือ ผสมเข้าด้วยกัน

   14.นำไส้ทาร์ตไข่ใส่ในแป้ง และอบไฟบน-ล่าง 180 องศา 30-35 นาที


วันที่ 16 กันยายน 2564

   ข้าพเจ้าลงพื้นที่เก็บแบบสำรวจสำหรับที่พักอาศัยและแบบสำรวจสำหรับศาสนสถาน กลุ่มประชาชนเป็นผู้รับผิดชอบ 

   • กลุ่มบัณฑิตจบใหม่  เก็บข้อมูลสำหรับที่พักอาศัยจำนวน 50 หลังคาเรือน

   • กลุ่มประชาชน เก็บข้อมูลสำหรับที่พักอาศัยจำนวน 30 หลังคาเรือน

   • กลุ่มนักศึกษา เก็บข้อมูลสำหรับที่พักอาศัยจำนวน 20 หลังคาเรือน

       – การเก็บข้อมูลสำหรับศาสนสถาน กลุ่มประชาชนเป็นผู้รับผิดชอบ

       – การเก็บข้อมูลโรงเรียนและตลาด มอบหมายให้กลุ่มบัณฑิตจบใหม่เป็นผู้รับผิดชอบโดยมีการแบ่งกลุ่ม บัณฑิตจบใหม่ออกเป็น 2 กลุ่ม เพื่อเก็บข้อมูล 


ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรม

ข้าพเจ้าได้เรียนรู้วิธีการทำขนมทาร์ตไข่ตามขั้นตอนและได้แนวคิดแบบใหม่ๆและได้เรียนรู้วิธีการออกแบบบรรจุผลิตภัณฑ์กล้วยฉาบเพื่อเพิ่มความรู้ให้ตัวข้าพเจ้าเองข้าพเจ้าสามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพเสริมได้ในชีวิตปัจุบันและสามารถเอาความรู้ที่ได้ไปสอนให้กับคนในชุมชน

ปัญหา/อุปสรรค ที่พบในการปฏิบัติงาน

   ในการลงพื้นที่ในครั่งนี้ได้พบปัญหาเช่น

 อุปกรณ์ในการทำขนมไม่เพียงพอ

  • ติดตั้งอุปกรณ์ถ่ายทอดร่วมกับตำบลบ้านสิงติดๆขัด

  • อินเตอร์เน็ตไม่ค่อนมีสัญญาณ

วิธีการแก้ไข่ปัญหา

  • อุปกรณ์ที่ขาดคือ ไม้รีดแป้ง ซึ่งนำขวดแก้วใช้รีดแป้งแทนไม้ได้ไม่ติดขัดโดยใช้ได้ปกติ

  • ทีมงานได้ช้วยกันติดตั้งอุปกรณ์เพื่อทำการถ่ายทอดสดร่วมกันจนสำเร็จ

  • ได้ใช้อินเตอร์เน็ตมือถือเชื่อมต่อกับโน๊ตบุ๊กเพื่อจะทำการถ่ายทอดสด


กิจกรรมที่ได้ทำตั้งแต่เริ่มปฏิบัติงานจนถึงปัจจุบัน มีดังนี้

13 กุมภาพันธ์ 2564 ลงพื้นที่เก็บข้อมูลชาวบ้านในชุมชน บ้านหนองโบสถ์พัฒนา หมู่ 13 ส่วนใหญ่ ทำนา ทำไร่ ปลูกผักสวนครัวได้พูดคุยถึงความยากรำบากความยากจนของแต่ละคนได้พบปัญหาหลายอย่างของชุมชนจากที่ข้าพเจ้าได้พูดคุยสอบถามข้อมูลเบื้องต้นนั้นข้าพเจ้าจะนำข้อมูลนี้ส่งถึงส่วนกลางเพื่อที่ส่วนกลางนั้นจะได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆที่สามารถจะช่วยพัฒนาชุมชนบ้านหนองโบสถ์พัฒนาได้

วันที่ 10-13 มีนาคม 2564 จากการที่ได้เก็บข้อมูลแบบสำรวจ 01,02,06 ในพื้น หมู่ 13 บ้านหนองโบสถ์พัฒนารับการสนับสนุนจากผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านในชุมชนที่ให้ดิฉันสมาชิคกลุ่มประชาชนที่ได้รับมอบหมายลงพื้นเข้าเก็บข้อมูลแบบสำรวจสถาณะการ โควิด-19 ของบ้านหนองโบสถ์พัฒนา หมู่ 13 ชาวบ้านในชุมชนก็ได้ตอนรับเป็นอย่างดีมีการป้องกันรักษาความปลอดภัยของชุมชนและนอกเหนือจากนั้นก็ได้มีการคัดกลองชาวบ้านที่กลับมาจากต่างจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงให้มีการกักตัวเป็นระยะเวลา 14 วัน และชาวบ้านในชุมชนก็มีความปลอดภัยและมีการใส่แมสปิดปากทุกครั่งเมื่อมีการจัดกิจกรรมในชุมชนและมีการเว้นระยะห่างเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ซึ่งไม่สามารถรู้ได้ว่าใครไปไหนมาบ้าง

วันที่ 22 มีนาคม 2564 ได้มีการยกเสาเอก-เสาโทศาลาเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและได้ประกอบพิธีทางศาสนา และยกเสาเอก-เสาโทเพืสร้างศูนย์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง

วันที่ 5 เมษายน 2564 ได้มีการจัดการค้นหาข้อมูลการแปรรูปขนมไทยหลากหลายอย่างเพื่อมาเป็นแนวทางการทำขนม การประชุมในครั้งนี้ทั้งอาจารย์ ชาวบ้านและทีมงานทุกคนได้ช้วยกันคิดหาแนวทางแนะนำขนมต่างๆเพื่อจะนำมาพัฒนาการแปรรูปขนมอย่างเช่น กล้วยอบเนย กะหรี่ปั๊บ บ้าบิ่น ทาร์ตไข่

วันที่ 7 พฤษภาคม 2564 เป็นเวลา 11.00 น. เพื่อทำการเข้าใจในการปฏิบัตรงานลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติมของระบบ https://cbd.u2t.ac.th/ และเกี๋ยวกับการเข้ารวมรับชมการถ่ายทอดสดผ่านออนไลน์

วันที่ 12 พฤษภาคม 2564 ได้เข้าร่วมฟังบรรยายเกี่ยวกับงานบุญผ้าป่าปาฐกถาชุมชนผ่านทางออนไลน์ ถ่ายทอดสดทางช่อง HUSOC – BRU CHANNEL

วันที่ 15. พฤษภาคม 2564 ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลสอบถามและได้ติดต่อกับทางผู้ใหญ่บ้านก่อนที่จะเข้าไปในชุมชนเพื่อที่จะได้ไม่มีปัญหาตามมาทีหลังจึงได้ข้อมูล เกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 เกี่ยวกับบุคคลที่ย้ายกลับมาจากต่างจังหวัดเนื่องจากสถานการณ์โควิดและข้อมูลเกี่ยวกับเกษตรกรในท้องถิ่น แหล่งท่องเที่ยว ที่พัก / โรงแรม ร้านอาหารในท้องถิ่น สัตว์ในท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น แหล่งน้ำในท้องถิ่น ทางแม่บ้านก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

วันที่ 22 พฤษภาคม 2564  ข้าพเจ้าได้ประชุมผ่านทาง Google Meet  เพื่อติดตามการเตรียมงานและวางแผนการอัดวีดีโอร่วมกัน

วันที่ 23 พฤษภาคม 2564 ได้ลงพื้นที่ศูนย์การเรียนรู้บ้านโคกพลวง ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้มีการประชุมเกี่ยวกับการป้องกัน โควิด-19 และการออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ในชุมชนและ LOGO (โลโก้) ตราสินค้า ออกแบบผลิตภัณฑ์ของขนมทาร์ตไข่ออกแบบเป็นคู่ฝาแฝดและได้มีการนำเสนอผลงานการออกแบบของแต่ละกลุ่มจากนั้นได้ทำการถ่ายวีดีโอในการดำเนินงานและได้ไปดูสวนผักได้มีการเก็บผลไม้แจกจ่ายแบ่งกันทุกคน

วันที่ 25 พฤษภาคม 2564 ได้มีการนัดหมายพบทีมงานหนองโบสถ์ทุกคน

วันที่ 26 พฤษภาคม 2564 เชิญทุกคนทำบุญปลูกต้นไม้วันวิสาขบูชาด้วยกัน ณ โรงเรียนหนองยายพิมพ์ เวลา 9.00 น. ได้ปลูกต้นไม้ร่วมกันและมีการรับประทานอาหารที่ชุมชนจัดเตรียมให้

วันที่ 4-6 มิถุนายน 2564 ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติม และข้าพเจ้าทีมประชาชนได้ลงเก็บข้อมูลทั้งหมดเป็นรายบุคคลเป็นจำนวน 30 คน

วันที่ 10 มิถุนายน 2564 ได้มีการประชุมนัดหมายผ่านทาง Google Meet เวลา 18.30 น.

วันที่ 12 มิถุนายน 2564  มีการอบรมการรณรงค์การฉีดวัคซีน ณ บ้านโคกพลวงให้ทางทีมที่รับผิดชอบงานแต่ละหมู่บ้านนัดหมายผู้ใหญ่บ้านหรือสมาชิกในชุมชนของแต่ละหมู่บ้านให้เข้ามาอบรมในครั้งนี้เพื่อจะได้นำไปสอนวิธีการป้องกันหรือถ้ามีอาการของเชื้อโควิด-19

  วันที่ 14 มิถุนายน 2564 ได้มีการนัดหมายประชุมออนไลน์ผ่านทาง Google meet ทางคณะอาจารย์ได้ประชุมเกี่ยวกับการแข่งขันและได้คุยกับทีมงานหาตัวแทนเข้าแข่งขัน 7 คนและได้นัดหมายถ่ายทำวีดีโอแนะนำตามโครงการ U2t Hackahhon

วันที่ 20 มิถุนายน 2564  เพื่อนๆและตัวแทนและอาจารย์ประจำหลักสูตรที่ได้ลงพื้นที่ถ่ายทำวีดีโอในโครงการ U2t Hackahhon 2021 การแปรรูปขนมไทยเพื่อเพิ่มรายได้ในชุมชน และให้ความรู้ทักษะต่างๆในการทำขนมไทยในรูปแบบไหม่ๆเพื่อพัฒนาต่อๆไป

วันที่ 7 กรกฏาคม 2564 ได้มีการประชุมออนไลน์ผ่านทาง Google meet

วันที่ 24 กรกฏาคม 2564  คณะอาจารย์ส่วนกลางได้เชิญผู้ดูแลตำบลแต่ละตำบลและผู้ปฏิบัติงานประจำตำบลทุกคนเพื่อเข้าฟังการแนะนำวิธีการเขียนบทความและเขียนใบรายงานของเดือนถัดไปในการประชุมได้ประชุมผ่านทาง Microsoft Team เวลาเข้าร่วมประชุม 13.40 น.ของตำบลหนองโบสถ์อยู่ในความดูแลของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์วันที่

31 กรกฏาคม 2564  ทางคณะอาจารย์และคณะบดีและรองคณบดีและทีมงานผู้ปฏิบัติงานหนองโบสถ์ทุกคนในนามโครงการ U2t ได้รับมอบหมายไปแจกของให้ศูนย์การเรียนรู้บ้านลิ่มทองกับทาง อสม ผู้ดูแลบ้านหนองทองลิ่มและผู้ที่มากักตัวที่ศูนย์การเรียนรู้ได้มอบอาหารแห้ง มี ปลากระป๋อง ไข่ น้ำดื่ม นม ขนม เป็นต้น ให้กับผู้ดูแลหรือ อสม แจกจ่ายกับผู้ที่กักตัวที่ศูนย์การเรียนรู้บ้านลิ่มทองคนที่มากักตัวมีทั้งหมด 7 คนและกักตัวอยู่บ้าน 3 คน รวมทั้งหมดในชุมชนมีคนกักตัว 10 คน ในชุมชนและที่ศูนย์การเรียนรู้ได้มีมาตรการการป้องกันเป็นอย่างดี

วันที่ 14 สิงหาคม 2564  มีการนัดหมายประชุมออนไลน์ผ่านทาง Google meet และได้มีการปรึกษาเกี่ยวกับใบลางานและเวลาลงงานและใบปฏิบัติงานแล้วให้เก็บข้อมูลเพิ่มเติมของเดือนสิงหาคมเกี่ยวกับแบบสำรวจศาสนสถานและแบบสำรวจที่พักอาศัยของประชาชนทั้งหมด 30 ชุด ของบัณฑิตเก็บ 50 ชุด ของนักศึดษา 20 ชุด

วันที่ 15 สิงหาคม 2564  ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบสำรวจศาสนสถานและแบบสำรวจที่พักอาสัยของเดือน สิงหาคม และได้ถามถึงปัญหาของชุมชนว่ามีการกักตัวที่ไหนมีคนติดเชื้อหรือไมผู้ใหญ่บ้านบอกว่าในหนองโบสถ์ใช้สถานที่กักตัว

มีอยู่2 จุดด้วยกัน

      • จุดที่ 1 กักตัวอยู่ที่ในหมู่บ้าน หมู่ 13 บ้านหนองโบสถ์พัฒนา มีผู้กักตัวทั้งหมด 25 คน ที่ไม่มีเชื้อโควิด-19

      • จุดที่ 2 กักตัวอยู่ศูนย์เด็กเล็ก ผู้ติดเชื้อกักตัวมีทั้งหมด 10 คน

มีการป้องกับเป็นอย่างดีมีการใสหน้ากากอนามัยตลอดเวลาอย่าง เช่น

     • มีจุดล้างมือด้วยสบู่

     • มีจุดวัดอุณหภูมิ

     • มีจุดลงทะเบียน

     • มีจุดคัดกรอง

     • มีจุดล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์

     • มีถุงมือป้องกัน

สำหรับศาสนสถานมีทั้งหมด 4 แห่ง

1.วัดสุวรรนณาราม/วัดบ้านหนองทองลิ่ม

2.วัดหนองโบสถ์

3.วัดบ้านหนองยาง

4.วัดหนองกันงา

มีจุดป้องกันภายในบริเวณวัดเป็นอย่างดี

     • จุดวัดอุณหภูมิ

     • จุดล้างมือด้วยสบู่

     • จุดล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์

     • จุดคัดกรอง


สรุป

       กิจกรรมในการเข้าร่วมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ขนมทาร์ตไข่ในครั้งนี้ได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีมเรียนรู้การแปรรูปของผลิตภัณฑ์ในชุมชนมีความสามัคคีในการร่วมงานกับทีมงานทุกคนและชาวบ้านในชุมชนก็ให้ความรู้อีกหลากหลายและได้แรกเปลี่ยนความรู้กับชาวบ้านเพื่อเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ในชุมชน การเก็บข้อมูลในชุมชนแบบสำรวจสำหรับที่พักอาศัยซึ่งชาวบ้านก็ให้ความร่วมมือเป็นเหมือนอย่างที่เคย

 

อื่นๆ

เมนู