ข้าพเจ้านายณรงค์ฤทธิ์ นุกาดรัมย์ ประเภทนักศึกษา รับผิดชอบในส่วนของ บ้านไทยทอง หมู่ที่14 ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร:HSO3 การเเปรรูปขนมไทย

เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมาข้าพเจ้าได้เข้าร่วมงานบุญผ้าป่า-ปาฐกถาชุมชน ออนไลน์ เพื่อสร้างศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง โดยในช่วงเช้าได้เข้ารับฟังการบรรยายของ ดร.ยักษ์ วิวัฒน์ ศัลยกำธร และในช่วงบ่ายได้เข้ารับการบรรยายของอาจารย์โจน จันได ในหัวข้อต่างๆ

ดร.ยักษ์ วิวัฒน์ ศัลยกำธร

โดยหัวข้อที่ดร.ยักษ์ วิวัฒน์ ศัลยกำธรและอาจารย์โจน จันได ได้บรรยายคือหัวข้อเรื่อง กสิกรรมธรรมชาติบนรากฐานเศรษฐกิจพอเพียง สู่การพัฒนาที่มั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน

มีพระราชดำรัชของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชการที่ 9 ว่า “ประเทศเรามีวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่มาก” เป็นหน้าที่ของราชภัฏที่จะสืบสานศาสตร์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชการที่ 9 ที่เป็นวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่ของไทยให้เป็นประโยชน์ต่อท้องถิ่นต่อชุมชน การทำทุกอย่างต้องทำให้เป็นรูปธรรม ให้สำเร็จเป็นรูปธรรม นามธรรมจะได้มีความพอ ความพอเพียงมีหลายมิติไม่ใช่แค่เงินพอ ความหมายของความพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชการที่ 9 แท้จริงคือ ชีวิตที่มีทุกอย่างพอ มีที่อยู่พอ มีอาหารการกินพอ ไม่น้อยหรือไม่มากเกินไป ถ้าจะมีชีวิตให้พอบนรากฐานกสิกรรมธรรมชาติหรือจะทำกสิกรรมธรรมชาติบนฐานเศรษฐกิจพอเพียง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชการที่ 9 ทรงทำให้ดู โดยทำให้เห็นคือ 4000 โครงการ การลงมือทำและจดบันทึกงาน งานที่ไม่สำเร็จก็จดบันทึกไว้ว่า ถ้าทำแบบนี้แล้วจะไม่สำเร็จ โดยมีให้ศึกษาดูในศูนย์การพัฒนาของพระเจ้าอยู่หัว

อาจารย์โจน จันได

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชการที่ 9 ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการใช้ชีวิต ของคนในปัจจุบัน ปัจจุบันนี้คนทำงานมากกว่า 10 ชั่วโมง เพื่อที่จะหาเงินมาใช้ในชีวิตประจำวัน พระองค์จึงได้ให้ความสำคัญกับคำว่าพอเพียง ทำงานหนักมากๆ ก็ยังมีสิ่งที่ขาดแคลน สิ่งที่ขาดแคลนนั้นก็คือเวลา เวลาในการพักผ่อน เวลาในการใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัว เป็นความขาดแคลนที่คนมองข้าม พระองค์จึงอยากให้ทุกคนตระหนักถึงคำว่าพอเพียง

หญ้า ใน สวน

อาจารย์โจน จันไดยังได้ให้ความรู้เรื่อง “หญ้า ใน สวน” การจัดการหญ้าในสวนอย่างไรให้ถูกวิธีโดยไม่ใช้สารเคมีในการทำลาย โดยได้กล่าวว่า”หญ้าไม่ใช่ศัตรู หญ้าเกิดขึ้นมาเพื่อพัฒนาดินเพื่อช่วยเกษตรกร ไม่จำเป็นต้องมีสารเคมีในการฆ่าหญ้า เพราะหญ้าเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มาเพื่อช่วยเรา” ซึ่งอาจารย์โจน จันไดได้สาธิตวิธีการใช้หญ้าให้เกิดประโยชน์ ดังนี้

1.ปล่อยให้หญ้าสูงขึ้นมา แล้วตัดหญ้าลง 1 ครั้ง/เดือน ห้ามขนหนีห้ามเผา ไม่ถึง 2 อาทิตย์หญ้าจะกลายเป็นปุ๋ยให้กับต้นไม้และผัก

2.หญ้าที่ขึ้นสูงให้เหยียบหญ้าแล้วเอาฟางมาคลุม เมื่อหญ้าไม่ได้รับแสงก็จะตายกลายเป็นปุ๋ยให้กับต้นไม้และผัก

3.หญ้าในนาข้าว ปล่อยให้หญ้าสูงขึ้นจนมีข้อ ในขณะที่ต้นข้าวยังไม่มีข้อ ให้ตัดทั้งหญ้าและข้าวให้เหลือตอเอาไว้ประมาณ 1-2 ข้อนิ้ว หลังจากนั้นข้าวจะขึ้นสูงกว่าหญ้า เพราะข้าวยังไม่แตกข้อ ข้าวจะสูงจนปกคลุมหญ้า ทำให้หญ้าไม่ได้รับแสงและตาย

4.แปลงผักให้เอาฟางมาคลุมให้หนาและปลูกผักโดยแหวกเข้าไปในฟาง จะทำให้หญ้างอกไม่ได้เนื่องจากไม่ได้รับแสงแดด

 

 

วันที่ 16 พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมาข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่สำรวจเพิ่มเติมจากงานที่ได้รับมอบหมาย แต่เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ จึงทำให้การลงพื้นที่ในครั้งนี้เป็นไปด้วยความยากลำบากต่อการทำงาน การสื่อสาร และการเข้าในพื้นที่ชุมชน ข้าพจึงได้เก็บรวบรวมข้อมูลตามที่รวบรวมได้มากที่สุดดังนี้

ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลงานที่ได้รับมอบหมายเพิ่มเติม โดยได้สัมภาษณ์สอบถามข้อมูลจากคุณป้าทองม้วน รังพงษ์ หรือป้าไว  ถึงประวัติความเป็นมา และการส่งออกของสินค้า ซึ่งในที่แห่งนี้ทำการเกษตรจำนวน 35 ไร่ ได้มีการทำนาข้าว และเลี้ยงแพะ จำนวน 19 ตัว และยังมีพืชพันธ์ุต่างๆภายในสวนป่านี้ไม่ว่าจะเป็นต้นมะม่วงพันธุ์ต่างๆ ต้นไผ่ ต้นกระท้อน ต้นกระเจี๊ยบ เป็นต้นเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลและบันทึกข้อมูล เเต่ด้วยสถานการณ์โควิดในปัจจุบัน ทำให้การเก็บข้อมูลเป็นไปอย่างยากลำบาก ข้าพเจ้าจึงเก็บรวบรวมข้อมูลให้ได้มากที่สุด

ภาพประกอบ

วีดีโอประกอบการปฏิบัติงาน

อื่นๆ

เมนู