ข้าพเจ้า นางสาวภัทรภร มาตา ประเภท บัณฑิตจบใหม่ ต.หนองโบสถ์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์

วันที่19สิงหาคม 2564

เวลา 17:00น ทางอาจารย์ที่ปรึกษาประจำหลักสูตรได้นัดประชุม ที่บ้านผู้ใหญ่บ้านโคกพลวง โดยทำการวางแผนการจัดสถานที่รวมถึงชี้แจงการปฏิบัติงาน

วันที่20 สิงหาคม

อาจารย์ประจำหลักสูตรและคณะผู้ปฏิบัติงานได้รวมตัวที่บ้านผู้ใหญ่บ้านโคกพลวงและเชิญพี่แก้วซึ่งตัวแทนของการทำทาร์ตไข ซึ่งการสอนในครั้งนี้มีตัวแทนจากคณะวิทยาศาสตร์สาขาวิทยาศาสตร์การอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์มาสอนการทำทาร์ตไข่แบบใหม่ซึ่งจะมีแป้งกรอบและหนากว่าเดิม เพื่อเพิ่มมูลค่าของทาร์ตไข่ให้ต่างไปจากเดิม โดยการสอนในครั้งนี้ได้ถ่ายทอดผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom ซึ่งจะมีการถ่ายทอดร่วมกันกับตำบลบ้านสิงห์ โดยทางตัวแทนร่วมสอนวิธีทำแป้งทาร์ตไข่แบบสูตรใหม่

มีวิธีการทำ

ส่วนผสมของแป้งพาย

แป้งเอนกประสงค์         250     กรัม

เนยสด                     65      กรัม

เนยขาว                    60      กรัม

น้ำตาลไอซิ่ง            1        ช้อนโต๊ะ

เกลือ                       1/4     ช้อนชา

น้ำเย็น                     50      กรัม

 

วิธีทำ

  1. ร่อนแป้ง นำเนยที่แช่เย็นหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ+เนยขาว ใช้ที่ตัดเนย ผสมให้แป้งเคลือบเนยจะได้แป้งที่เป็นเม็ดร่วนๆ
  2. ทำแป้งเป็นหลุมตรงกลางพักไว้
  3. น้ำตาลไอซิ่ง + เกลือ+น้ำเย็น คนให้น้ำตาลกับเกลือละลาย นำไปเทใส่ในอ่างแป้ง (ข้อ2)ใช้ไม้พายคนตะล่อมให้เข้ากัน
  4. นวดเล็กน้อยแค่ให้แป้งรวมตัวกันเป็นก้อน (ประมาณ 1-2 นาที) นำแป้งที่ได้ไปห่อด้วยพลาสติก

นำไปแช่ตู้เย็นอย่างน้อย 1 ชม.

  1. นำแป้งที่พักแล้วมารีด หนาประมาณ 1/8 นิ้ว รีดให้มีความหนาเท่าๆกัน
  2. ใช้ที่ตัดคุกกี้ตัดออกเป็นชิ้นๆตามที่ต้องการ ( เศษที่เหลือ นำมารวมกันเป็นก้อน แล้วพักในตู้เย็น แล้วนำมารีดใช้อีกได้)
  3. นำแป้งท่กรุลงพิมพ์ที่ทาไขมันไว้แล้ว กดแป้งให้แนบกับพิมพ์ อย่าให้มีฟองอากาศ ใช้ส้อมจิ้มให้เป็นรู้ทั่วทั้งพิมพ์ นำไปแช่เย็นอย่างน้อย 1 ชม. จากนั้นนำแผ่นอะลูมิเนียมว่างบนขนม ใส่ข้าวสารลงบนแผ่นฟอยล์ (ป้องกันไม่ให้แป้งพองตัวระหว่างอบ)
  4. การอบแบ่งสองช่วง : ช่วงแรก อบไฟบน-ล่าง 180 องศา 10 นาที (ครบ 10 นาที นำออกมา เอาห่อข้าวสารออก)

ช่วงสอง  ไฟบน-ล่าง 180 องศา 10-15 นาที ดูให้เป็นสีเหลืองทองอ่อนๆ

อบเสร็จนำออกจากพิมพ์ รอให้เย็นจึงจัดเก็บไว้ใช้งานต่อไป

หลังจากได้ แป้งพาย ทำการพักไว้

และมาทำการเตรียมไส้ทาร์ตไข่

ส่วนผสมไส้ทาร์ตไข่ Egg tart

ไข่แดงเบอร์ 2                       3        ฟอง

น้ำตาลทรายป่น                     80      กรัม     (1/2ถ้วยตวง

แป้งข้าวโพด                         15      กรัม     (1+1/2ช้อนโต๊ะ)

วิปปิ้งครีม                            70      มล.      (1/2ถ้วยตวง)

นมสดจืด                             50      ml      (1/4ถ้วยตวง)

กลิ่นวนิลลา                         1        ช้อนชา

เกลือ                                 1/4     ช้อนชา

**อบไฟบน-ล่าง เปิดพัดลม         180°C 30-35 นาที

ผลจากการทำแป้งทาร์ตสูตรใหม่นั้นมีความหนาเหมาะสมที่จำทำเป็นตัวทาร์ตผลไม้ ทาร์ตเลม่อน ที่มีรสชาติเปรี้ยวเพื่อตัดกับตัวแป้งทาร์ตที่หนาและหวาน

หลังจากอบรมการทำทาร์ตไข่เรียบร้อยทางอาจารย์ประจำหลักสูตรได้แนะนำการใช้ถุงบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าสำหรับตัวผลิตภัณฑ์ กล้วยเบรกแตก ขนมบ้าบิ่น โดยจะเป็นถุงซิปล็อค ด้านหน้าใสสามารถมองเห็นตัวผลิตภัณฑ์และที่มีความสะอาด และสวยงามและเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมดูดึงดูดต่อผู้บริโภควัยรุ่นหรือเด็กสมัยใหม่และภายในตัวถุงนั้นยังมีซองกันชื้นที่สามารถดูดซับความชื้นให้ตัวผลิตภัณฑ์กล้วยเบรกเเตกมีความกรอบยาวนานยิ่งขึ้น

 

 

กิจกรรมการปฏิบัติงานตั้งแต่เริ่มกิจกรรมจนถึงปัจจุบัน ของข้าพเจ้าที่ผ่านมาทั้งหมด 8 เดือน มีดังนี้

เดือนกุมภาพันธ์ 2564

ทางอาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดประชุมผู้ปฏิบัติงานของตำบลหนองโบสถ์และตัวผู้นำหมู่บ้านของแต่ละหมู่บ้านมาชี้แจงเกี่ยวกับโครงการนี้และมอบหมายให้ตัวผู้ปฏิบัติงานลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามหมู่บ้านที่ได้รับมอบหมาย ช่วงเดือนแรกค่อนข้างำลบากเพราะตัวชาวบ้านเองไม่ได้ทราบว่าตัวผู้ปฏิบัติงานเป็นหน่วยงานขององค์กรไหนแต่ยังได้รับความกรุณาจาก พี่สนอง ปลักกระโทก ตัวแทนผู้ใหญ่บ้านเป้นผู้นำไปขอข้อมูลจากชาวบ้านและให้ข้อมูลบางส่วนแก่บางบ้านที่ออกไปทำอาชีพประจำหรือทำการเกษตร

เดือนมีนาคม 2564

-เวลา 08.30-17.00 น.การลงพื้นที่เก็บข้อมูล01, 02 , 05,06 ณ บ้านหนองทองลิ่ม ต.หนองโบสถ์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์

เดือนมีนาคม2564

-ทำการร่วมพิธีจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านโคกว่าที่ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ร่วมกันจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่นักศึกษาและคนในชุมชน โดยภายในงานจะมีพิธีลงเสาเอก-เสาโทและพิธีการทางศาสนาณ บ้านโคกว่าน ต.หนองโสน

เดือนเมษายน 2564

-ลงพื้นที่เพื่อร่วมประชุมวางแผนการทำงานประจำเดือนเมษายน ณ บ้านโคกพลวง ต.หนองโบสถ์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ โดยการประชุมครั้งนี้ทางทีมอาจารย์และหัวหน้าการทำโครงการครั้งนี้ได้มีการเชิญตัวแทนของแต่ละหมู่บ้านที่มีความรู้ด้านการทำขนม และปราชญ์ชาวบ้านมาให้ความรู้ด้านการทำขนมโดยตัวแทนของหมู่บ้านจะมีขนมตัวอย่างที่ตนเองทำ เช่น กล้วยเบรกแตก ข้าวต้มมัด ทาร์ตไข่ และขนมบ้าบิ่น

เดือนพฤษภาคม 2564

-ประชุมและวางแผนการทำงานผ่านระบบ Google Meet ประจำเดือนพฤษภาคม ได้แนะนำวิธีการใช้ ‘’แอปพลิเคชั่นU2T’’

-ร่วมการอบรมออนไลน์ผ่านระบบ youtube live HUSOC Bru CHANEL งานบุญผ้าป่าและปาฐกถาชุมชนออนไลน์โดย ท่านดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร หรือดร.ยักษ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

-ลงพื้นที่ บ้านโคกพลวง เยี่ยมชมศูนย์การเรียนรู้สวนป่า ตามพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่สวนป้าไว เกษตรกรประจำบ้านโคกพลวงที่ทำการเกษตรแบบผสมผสานบนเนื้อที่ของตนเองโดยภายในสวนป่ายังมีพืชพรรณนานาชนิด ผักสวนครัว ต้นไม้หายาก สมุนไพร และได้ทำการปักหมุดจุดโลเคชั่นบันทึกข้อมูล ลงในระบบ แอปพลิเคชั่น U2T

-ประชุมถึงเรื่องแนวทางการปฏิบัติงาน ในช่วงเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน ในการประชุมได้มีการร่วมกันวางแผน และทำความเข้าใจถึงขั้นตอนการลงพื้นที่การปฏิบัติงาน

-ได้มีการประชุมและทำกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ในชุมชน

-ร่วม “โครงการรวมใจปลูกต้นไม้ปลูกธรรมะวันวิสาขบูชา 2564 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิระเกล้าเจ้าอยู่หัว” ซึ่งประกอบด้วย 2 กิจกรรมหลักคือ การเสวนาป่าชุมชน เเละการปลูกต้นไม้ในพื้นที่ 22 ไร่บริเวณด้านหลังโรงเรียนบ้านหนองยายพิมพ์

เดือนมิถุนายน 2564

เก็บข้อมูลลงระบบแอพลิเคชั่น U2Tลงพื้นที่เก็บข้อมูลรายบุคคลเพิ่มเติม ผ่านทาง Website  Application U2T เกี่ยวกับข้อมูลหมู่บ้าน ตามหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย ดังนี้

  1. ผู้ที่ย้ายกลับบ้านเนื่องจากสถานการณ์โควิด
  2. แหล่งท่องเที่ยว
  3. ที่พัก/โรงแรม
  4. ร้านอาหารในท้องถิ่น
  5. อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น
  6. เกษตรกรในท้องถิ่น
  7. พืชในท้องถิ่น
  8. สัตว์ในท้องถิ่น
  9. ภูมิปัญญาในท้องถิ่น
  10. แหล่งน้ำในท้องถิ่น

-ร่วมอบรมการให้ความรู้เกี่ยวกับโรค covid -19 วิธีการสังเกตอาการ การป้องกัน และดูแลรักษา ให้กับคนในชุมชน สอนวิธีการใส่และทิ้งหน้ากากอนามัยที่ถูกวิธี และรวมไปถึงการรณรงค์สนับสนุนให้ทุกคนได้รับวัคซีน

เดือนกรกฏาคม 2564

-เก็บข้อมูลประจำเดือนกรกฎาคม 50ชุด และข้อมูลประจำเดือนมิถุนายน ย้อนหลังอีก 50 ชุดลงระบบ U2T

-เก็บข้อมุลแบบสำรวจสำหรับตลาดโดยมีการลงพื้นที่ไปที่

  1. ตลาดแม่ประคองที่ตั้งอยู่ใน ต.หนองโบสถ์
  2. ตลาดบ้านหนองทองลิ่ม ซึ่งตั้งอยู่ในหมู่บ้านบ้านหนองทองลิ่ม

เดือนสิงหาคม 2564

-บริจาคของใช้สาธารณูปโภคที่จำเป็นให้แก่ศูนย์ผู้กักตัว บ้านลิ่มทอง ต.หนองโบสถ์ โดยนำมอบให้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขที่ดูแลผู้กักตัว

ปัญหาที่พบจากการปฏิบัติงาน

โดยปัญหาของการปฎิบัติงานส่วนใหญ่คือสถานการณ์ Covid -19ที่เกิดขึ้นทำให้การลงพื้นที่ค่อนข้างยากลำบาก เนื่องจากชาวบ้านหวาดระแวงคนแปลกหน้าที่จะนำพาเชื้อCovid-19มาแพร่แก่คนในหมู่บ้าน และปัญหาอื่นแทบจะไม่มีส่วนแนวทางการแก้ไขที่ตัวผู้ปฏิบัติงานนำมาใช้ในช่วงที่จำเป็นต้องลงพื้นที่คือ นัดผู้นำหมู่บ้านล่วงหน้า และแสดงผลการฉีดวัควีนที่ได้รับให้แก่ผู้นำและทางผู้นำหมู่บ้านจะพาเข้าไปเก็บข้อมูลและการลงพื้นที่แต่ละครั้งก้จะผ่านไปได้ด้วยดีทุกครั้ง

กิจกรรมที่ควรเพิ่ม

การปลูกสมุนไพรที่สามารถต้านCovid-19 เช่น กระชายหรือฟ้าทะลายโจร ร่วมกับสวนในโครงการพระราชดำริของ ป้าไว

หรือการที่ชาวบ้านในหมู่บ้านสอนการทำขนมไทยให้แก่ผู้ปฏิบัติงานเพื่อให้สอดคล้องกับโครงการที่รับผิดชอบ

การปฏิบัติหน้าที่ของผู้ปฏิบัติงานประจำเดือนกันยายน 2564ในการลงพื้นที่อบรมการแปรรูปในครั้งนี้ผ่านไปด้วยดีและจะผ่านไปไม่ได้เลยถ้าไม่ได้ ผู้ใหญ่บ้าน บ้านโคกพลวง นาง สามัญ โล่ห์ทองที่ให้ความอนุเคาระห์ใช้สถานที่บริเวรบ้านผู้ใหญ่ทำกิจกรรมในครั้งนี้และเป็นอย่างราบรื่นไม่มีปัญหาใดๆและได้รับความร่วมมือจากผู้ใหญ่ในหมู่บ้านเป็นอย่างดี และพูดคุยถามไถ่ และมีส่วนร่วมกับโครงการในครั้งนี้อย่างเต็มที่ทางผู้ปฏิบัติรู้สึกซาบซึ้งใจทุกครั้งที่ลงพื้นที่เก็บข้อมูลหรืออบรมให้ความรู้ และผู้ปฏิบัติงานหวังว่าการปฏิบัติงานในครั้งต่อไปจะได้รับความอนุเคราะห์เป็นอย่างดีจากคนในหมู่บ้านต่อไป

 

 

อื่นๆ

เมนู