ข้าพเจ้า นางสาวภัทรภร มาตา ประเภท บัณฑิตจบใหม่ ต.หนองโบสถ์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์
วันที่ 14 มิถุนายน 2564
อาจารย์ประจำหลักสูตรได้มีการเข้าร่วมประชุมชี้แจงกับผู้ร่วมโครงการผ่าน แอพพลิเคชั่นGoogle Meet เกี่ยวกับการร่วมโครงการ U2T hackathon ที่จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับทรัพยากรในท้องถิ่นที่รับผิดชอบ และได้คัดเลือกตัวแทนผู้ร่วมปฏิบัติงาน 7 คนเพื่อร่วมการถ่ายทำวิดีโอของโครงการนี้ โดยเกณฑ์การคัดเลือก มีดังนี้
- ความสอดคล้องของโจทย์ปัญหากับสภาพพื้นที่
- การเลือกเทคโนโลยี นวัตกรรม ความรู้แนวทางที่จะใช้นั้นสอดคล้องกับปัญหาและสภาพ พื้นที่
- สามารถนำความรู้เทคโนโลยีและแนวทางการแก้ไขปัญหาประยุกต์ไปใช้ได้จริงในพื้นที่
- ความสามารถในการจัดการเชิงธุรกิจ แผนธุรกิจ การสร้างชุมชนนวัตกรรม
- มีองค์ประกอบของทรัพยากรที่เอื้อต่อความสำเร็จ
- การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน เพื่อสร้างความยั่งยืน
- ความคิดสร้างสรรค์ในการนำเสนอ VDO
วันที่ 19 มิถุนายน 2564
อาจารย์ประจำหลักสูตรมีการนัดกลุ่มตัวแทนและผู้ร่วมปฏิบัติงานมาชี้แจงการปฏิบัติงาน และวางแผนการถ่ายทำวิดีโอของโครงการ U2T hackathon
วันที่ 20 มิถุนายน 2564
ทางผู้ปฏิบัติงานและทีมNB food for future ได้ลงพื้นที่บ้านลิ่มทอง และบ้านโคกพลวงเพื่อถ่ายทำวิดีโอ ได้เข้าพบกับตัวแทนกลุ่มทำขนมแปรรูป โดยขนมที่ได้นำเสนอนั้นเป็นกล้วยฉาบ กล้วยเบรคแตก ที่ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ขึ้นชื่อของตำบลหนองโบสถ์ทีส่งขายทั่วไปในจังหวัด ทางผู้ปฏิบัติงานนั้นได้รับชมกระบวนการวิธีการผลิตกล้วยฉาบ เริ่มตั้งแต่การหาวัตถุดิบหลักอย่างเช่น กล้วย เราจะเลือกเป็นกล้วยน้ำหว้าห่ามหรือดิบ โดยมีขั้นตอนการทำดังนี้
วิธีทำ
ขั้นตอนที่ 1 : ปอกเปลือก
นำกล้วยน้ำว้าห่ามมาปอกเปลือก แล้วแช่ในน้ำผสมน้ำมะนาว เพื่อป้องกันไม่ให้กล้วยดำ
ขั้นตอนที่ 2 : ทอด
ตั้งน้ำมันให้ร้อน เอากล้วยที่ปอกไว้มาฝานผ่านมีดสไลด์ลงไปทอด คอยคนอย่าให้กล้วยติดกัน ทอดจนสุกเหลือง แล้วตักขึ้นพักไว้
ขั้นตอนที่ 3 : คลุกน้ำตาล
ตั้งหม้อไฟกลาง ใส่น้ำตาลทราย เกลือ และน้ำเปล่า เคี่ยวให้ละลายเป็นผลึกเล็กน้อย แล้วนำไปราดลงกล้วยที่ทอดไว้ คลุกให้เข้ากัน
หากต้องการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ที่จากเดิมมีเพียงแค่รสชาติเค็มและหวานเราอาจใส่ผงปรุงรสรสชาติต่างๆ เช่น ผงปรุงรสปาปริก้า ฯ เพื่อเพิ่มรสชาติให้เข้ากับสมัยนิยมและสามารถเจาะกลุ่มผู้บริโภคคนรุ่นใหม่ได้ด้วย
และช่วงบ่ายพบเกษตรกรในท้องที่คือ นางวิภารัตน์ บุญกองชาติ หรือป้าสา ป้าสาได้ทำการเข้าร่วมโครงการโคกหนองนาโมเดล ที่อยู่ในขั้นตอนกำลังดำเนินการอยู่ ภายในเขตเนื้อที่บ้านของป้าสามีการทำการเกษตรและเลี้ยงสัตว์ เช่น แพะ วัว ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 และในเนื้อที่ของป้าสานั้นมีความสงบ ร่มรื่น และมีความเป็นส่วนตัวและภายหลังหากโคกหนองนาก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ทางผู้ปฏิบัติงานคาดว่าโครงการของป้าสาจะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวและกระตุ้นรายได้ให้แก่คนในชุมชนเพิ่มขึ้นอีกด้วย
วันที่ 7 กรกฎาคม 2564
อาจารย์ประจำหลักสูตรนัดประชุมผ่าน แอพพลิเคชั่น Google meet เพื่อชี้แจงการเก็บข้อมูลประจำเดือนกรกฎาคม 50ชุด และข้อมูลประจำเดือนมิถุนายน ย้อนหลังอีก 50 ชุดลงระบบ U2T โดยแบ่งเป็นประเภทข้อมูลที่อยู่อาศัย และกลุ่มศาสนสถาน กลุ่มโรงเรียนและตลาด
วันที่ 10 กรกฎาคม 2564
ผู้ปฏิบัติงานพร้อมด้วยกลุ่มที่ได้รับมอบหมายต.หนองโบสถ์ ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมุลแบบสำรวจสำหรับตลาดโดยมีการลงไปที่
- ตลาดแม่ประคองที่ตั้งอยู่ใน ต.หนองโบสถ์
- ตลาดบ้านหนองทองลิ่ม ซึ่งตั้งอยู่ในหมู่บ้านบ้านหนองทองลิ่ม
วันที่ 12 กรกฎาคม 2564
ผู้ปฏิบัติงานได้เข้าไปเก็บข้อมูลประเภทที่อยู่อาศัยบ้านหนองทองลิ่มหมู่ 3 ต.หนองโบสต์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ โดยได้รับความอนุเคราะห์ จากพี่ม่าน นางสนอง ปลักกระโทก เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองทองลิ่ม ที่ดูแลพาเข้าพบคนในหมู่บ้านเนื่องจากสถานการณ์โรคCovid-19 ที่ทำให้ชาวบ้านหวาดระแวงที่จะพบคนแปลกหน้าหรือคนต่างถิ่น โดยการสัมภาษณ์ในครั้งนี้เสร็จอย่างรวดเร็วและปลอดภัยแก่ตัวผู้ปฏิบัติงานเองและคนในหมู่บ้านอีกด้วย