ข้าพเจ้า นายมานะชัย มะลัยไธสงค์ ประเภทประชาชน ต.หนองโบสถ์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์

วันที่ 22 ตุลาคม 2564 ทีมผู้ปฏิบัติงานและอาจารย์ประจำหลักสูตรร่วมการจัดกิจกรรมอบรมการขอมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ โดยจัดอบรมที่ศูนย์การเรียนรู้บ้านโคกพลวงหรือศาลาโคกพลวงโมเดล ต.หนองโบสถ์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์  ได้มีประชาชนคนในชุมชนเข้าร่วมอบรมเรื่อง การขอขึ้นทะเบียน (อย.) และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยมีวิทยากร คือ  คุณภัทรวดี มักขุดทด นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ และ คุณชยุต ชำนาญเนาว์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีหัวข้อหลักๆ การจัดตั้งกลุ่มอาชีพ พัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์ OTOP

การที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปมารวมกัน โดยมีการติดต่อสัมพันธ์กันหรือปฏิสัมพันธ์กันและมีจุดมุ่งหมายที่จะกระทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งร่วมกัน และความสัมพันธ์นี้ จะช่วยให้สมาชิกกลุ่มอยู่ร่วมกันได้ในระดับที่พอดี

การที่บุคคลมารวมกันเป็นกลุ่ม จะต้องมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งหรือหลายลักษณะต่อไปนี้เกิดขึ้น
(1) จะต้องมีปฏิสัมพันธ์กันเสมอ
(2) แต่ละคนจะถือว่าคนเองเป็นสมาชิกกลุ่ม
(3) แต่ละคนในกลุ่มจะยอมรับกันเป็นสมาชิกกลุ่ม
(4) มีปทัสถานร่วมกัน
(5) แต่ละคนจะมีบทบาทที่ชัดเจน
(6) มีการเลียนแบบลักษณะบางอย่างที่ตนเองคิดว่าเหมาะสมจากสมาชิกในกลุ่ม
(7) สมาชิกมีความคิดว่ากลุ่มจะต้องให้ผลประโยชน์ต่อสมาชิก
(8) สมาชิกจะแสวงหาเป้าหมายร่วมกัน
(9) มีการรับรู้ความเป็นเอกภาพของกลุ่มร่วมกันและกัน
(10) สมาชิกกลุ่มจะปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของกลุ่ม

การบริหารจัดการกลุ่ม (5 ก.)
ก1 : กลุ่ม/สมาชิก ที่มีความสมัครใจพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการดำเนินงานของกลุ่ม
ก2 : กรรมการ ซึ่งได้รับมอบหมายและเป็นตัวแทนจากสมาชิกให้บริหารกลุ่ม
ก3 : กฎ กติกา ระเบียบข้อบังคับกลุ่ม เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติร่วมกัน ระหว่างสมาชิกและคณะกรรมการ
ก4 : กองทุน ปัจจัย เงินหรือเครื่องมือ ที่ทำให้กิจกรรมของกลุ่มดำเนินการได้และบรรลุตามวัตถุประสงค์ของกลุ่ม
ก5 : กิจกรรม เป็นสิ่งที่ร่วมกันปฏิบัติเพื่อสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนและชุมชน

ประเภทผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
1. ประเภทอาหาร หมายถึง ผลผลิตทางการเกษตร และอาหารแปรรูป ซึ่งได้รับมาตรฐาน อย., GAP,
GMP, HACCP, Qmark, มผช., มอก., มาตรฐานเกษตรอินทรีย์, ฮาลาล และมีบรรจุภัณฑ์ เพื่อการจำหน่ายทั่วไป แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1) ผลิตผลทางเกษตรที่ใช้บริโภคสด
2) ผลิตผลทางการเกษตรที่เป็นวัตถุดิบ และผ่านกระบวนการแปรรูปเบื้องต้น
3) อาหารแปรรูปกึ่งสำเร็จรูป/สำเร็จรูป

2.ประเภทเครื่องดื่ม แบ่งเป็น 2 กลุ่ม
1) เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
2) เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์

  1. ประเภทผ้า เครื่องแต่งกาย
  2. ประเภทของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึก

5 ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร

มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ( มผช.)
“ข้อกำหนดคุณลักษณะของ ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยชุมชน มีภูมิปัญญาท้องถิ่นและเอกลักษณ์เฉพาะ อยู่บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ และเป็นที่ยอมรับของผู้ที่เกี่ยวข้อง”

หน่วยรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)
สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด (สอจ.)

ประโยชน์ของการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
• ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพดีขึ้น มีความปลอดภัย
• ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพสม่ำเสมอ
• ผู้ซื้อ ผู้บริโภค และผู้เกี่ยวข้องตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
• สร้างความเชื่อมั่น และความน่าเชื่อถือ
• เพิ่มโอกาสทางการค้า ผู้ผลิตเข้าถึงตลาดได้ง่ายขึ้น

วันที่ 30 ตุลาคม 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรและทีมผู้ปฏิบัติงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ได้เข้าร่วมอบรมผลิตภัณฑ์กับคนในชุมชน โดยมีอาจารย์ปิติวรรณ ฝ้ายโคกสูง อาจารย์จากสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่อง การใช้สื่อออนไลน์ให้กับคนในชุมชนและการตลาดออนไลน์สำหรับผู้ประกอบการโดยมีการสร้างเพจให้เพื่อให้คนในชุนชนได้มีการขายสินค้าออนไลน์ผ่านระบบ www.facebook.com ชื่อเพจผลิตภัณฑ์ดี ที่หนองโบสถ์ ประเภทอาหาร ได้แก่ กล้วยเบรคแตก,กล้วยอบเนย,ทาร์ตไข่ เป็นต้น ส่วนในด้านของใช้ ได้แก่ กระเป๋าสานพลาสติก,หมวกไหล เป็นต้น

อื่นๆ

เมนู