ข้าพเจ้า นางสาวปกิตตา ขำวงศ์ กลุ่มนักศึกษา ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2564 ได้ลงพื้นที่เข้าร่วม พิธียกเสาเอก-เสาโท จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ณ บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง ศูนย์การเรียนรู้นี้ก็จะเป็นประโยชน์ให้กับชาวบ้านและผู้อื่นที่เข้ามาศึกษานี้อีกมาก

ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่ จักเวทีประชุมการแปรรูปขนมไทย ที่ศูนย์การเรียนรู้บ้านโคกพลวง หมู่9 ตำบลหนองโบสถ์ มีชาวบ้าน ผู้ใหญ่บ้าน บ้านโคกพลวง และบ้านหนองทองลิ่ม มาเข้าร่วมประชุมด้วย ขนมที่ชาวบ้านทำ เช่น กล้วยเบรกแตก กล้วยอบเนย กล้วยอบรสเค็ม ขนมบ้าบิ่น ขนมตาล ทาร์สไข่ ข้าวฮาง ข้าวจิบแปรรูปเป็นชาข้าวจิบ กล้วยส่วนใหญ่ที่นำมาทำขนม เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วส้ม กล้วยหักมุก
หมู่บ้านโคกพลวง ได้รับการรองรับเป็นสินค้า OTOP 3ดาว ส่วนใหญ่ก็จะทำเป็นกิจการส่วนตัว และจำหน่ายที่ ตลาด โรงเรียน มูลนิธิชัยพัฒนา ส่งต่างจังหวัด และออนไลน์ สามารถเก็บได้1เดือน

ปัญหาในการทำงาน
-บรรจุภัณฑ์ อยากให้เป็นถุงสุญญากาศ
-การเก็บรักษา อยากให้เก็บได้มากกว่า1เดือน
-หน้าแล้งแล้วไม่มีกล้วย
-สถานที่ทำขนม
-การส่งสินค้าแล้วแตกหัก
-ข้าวฮาง ต้องมีมาตรฐานและความน่าสนใจ
-มีความล้าหลังกว่าหมู่บ้านอื่นๆ
-การรวมกลุ่มยาก

ความต้องการที่จะอยากให้โครงการพัฒนา
-พัฒนากล้วยฉาบให้มีรสชาติที่แปลกใหม่ ขนมอื่นๆด้วย
-บรรจุภัณฑ์ โลโก้
-การรวมกลุ่มแปรรูปขนม

อื่นๆ

เมนู