ข้าพเจ้านายศุภชัย นามมงคล ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นผู้ปฏิบัติงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ)

การทำงานในเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม มีกิจกรรมดังต่อไปนี้

  • วันที่ 20 มิถุนายน 2564  ข้าพเจ้า ทีมงานผู้ปฏิบัติงาน และอาจารย์ประจำหลักสูตรในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ได้ลงพื้นที่ถ่ายทำวีดีโอในการประกวด Hackathon ตามที่ สป.อว. ได้จัดการแข่งขัน
  • วันที่ 8-12 กรกฎาคม 2564 ข้าพเจ้าและทีมงานผู้ปฏิบัติงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ได้ลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลแบบสำรวจสำหรับที่พักอาศัยในเดือนกรกฎาคม จำนวน 50 ครัวเรือน และเก็บข้อมูลย้อนหลังในเดือนมิถุนายน จำนวน 50 ครัวเรือน รวมทั้งหมด 100 ครัวเรือน
  • วันที่ 13 กรกฎาคม 2564 ข้าพเจ้าและทีมงานผู้ปฏิบัติงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ได้ลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลแบบสำรวจสำหรับโรงเรียน
  • วันที่ 15 กรกฎาคม 2564 ข้าพเจ้าและทีมงานผู้ปฏิบัติงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ได้ลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลเพิ่มเติมในระบบ https://cbd.u2t.ac.th จาก สป.อว. ที่ต้องทำการสำรวจข้อมูลชุมชนเพิ่มเติม

 

วันที่ 20 มิถุนายน 2564  ข้าพเจ้า ทีมงานผู้ปฏิบัติงาน และอาจารย์ประจำหลักสูตรในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ได้ลงพื้นที่ถ่ายทำวีดีโอในการประกวด Hackathon ตามที่ สป.อว. ได้จัดการแข่งขันซึ่งเป็นกิจกรรมการพัฒนาทักษะแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ ที่เปิดโอกาสให้ผู้ได้รับการจ้างงานได้ระดมความคิดจากปัญหาและความต้องการในพื้นที่ เพื่อสร้างสรรค์แนวทางการพัฒนาแต่ละตำบลภายใต้โจทย์ “การขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก”

     ข้าพเจ้าและทีมงาน NB food for future ได้ร่วมกันถ่ายทำวีดีโอเพื่อเข้าร่วมในการประกวด Hackathon สำหรับบรรยากาศในการถ่ายทำวีดีโอมีภาพประกอบ ดังต่อไปนี้

ภาพบรรยากาศการถ่ายทำวีดีโอ

 

วันที่ 8-12 กรกฎาคม 2564 ข้าพเจ้าและทีมงานผู้ปฏิบัติงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ได้ลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลแบบสำรวจสำหรับที่พักอาศัยในเดือนกรกฎาคม จำนวน 50 ครัวเรือน และเก็บข้อมูลย้อนหลังในเดือนมิถุนายน จำนวน 50 ครัวเรือน รวมทั้งหมด 100 ครัวเรือน  

     การลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบสำรวจสำหรับที่พักอาศัย ในเขตพื้นที่ที่ได้รับผิดชอบ คือ บ้านหนองยาง หมู่ที่ 7 จากการเก็บแบบสำรวจ พบว่าประชาชนในหมู่บ้านส่วนใหญ่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการแพร่ระบาดโรคโควิด – 19 และมีการติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการแพร่ระบาดโรคโควิด – 19 ประชาชนในหมู่บ้านมีการประเมินตนเองและบุคคลในครอบครัว มีการสังเกตอาการของคนในครอบครัว และมีการดูแลสุขอนามัยของตัวเองและคนในครอบครัวเป็นอย่างดี

ภาพการลงพื้นที่เก็บแบบสำรวจสำหรับที่พักอาศัย

 

วันที่ 13 กรกฎาคม 2564 ข้าพเจ้าและทีมงานผู้ปฏิบัติงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ได้ลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลแบบสำรวจสำหรับโรงเรียน

      การลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบสำรวจสำหรับโรงเรียน ข้าพเจ้าและทีมงานผู้ปฏิบัติงานได้รับผิดชอบเก็บข้อมูลแบบสำรวจโรงเรียนในตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ทั้งหมด 3 โรงเรียน คือ 1. โรงเรียนบ้านหนองทองลิ่ม 2. โรงเรียนบ้านหนองโบสถ์ 3. โรงเรียนบ้านสระประดู่หนองมะค่า พบว่าโรงเรียนแต่ละแห่งในตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ มีการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 และทำตามมาตรการหลักของกระทรวงสาธารณสุขเพื่อคุ้มครองสุขภาพและความปลอดภัยของนักเรียน ดังต่อไปนี้ 

     มาตรการหลักในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในสถานศึกษาประกอบด้วย

    • มีมาตรการคัดกรองวัดไข้และอาการเสี่ยงก่อนเข้าสถานศึกษา
    • สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
    • จัดจุดล้างมือหรือเจลแอลกอฮอล์อย่างเพียงพอ
    • จัดระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1-2 เมตร
    • ทำความสะอาดห้องเรียน/พื้นผิวสัมผัสร่วม เปิดหน้าต่างประตู ระบายอากาศ 
    • ไม่จัดกิจกรรมรวมกลุ่มคนจำนวนมาก เหลื่อมเวลา ลดเวลาทำกิจกรรม
ภาพการลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลแบบสำรวจสำหรับโรงเรียน

 

วันที่ 15 กรกฎาคม 2564 ข้าพเจ้าและทีมงานผู้ปฏิบัติงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ได้ลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลเพิ่มเติมในระบบ https://cbd.u2t.ac.th จาก สป.อว. ที่ต้องทำการสำรวจข้อมูลชุมชนเพิ่มเติม

     ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในครั้งนี้ เป็นการเก็บข้อมูลเพิ่มเติมในระบบ https://cbd.u2t.ac.th จาก สป.อว. ที่ต้องทำการสำรวจข้อมูลชุมชนเพิ่มเติม สำหรับข้อมูลที่ต้องการเก็บเพิ่มเติม มีดังนี้

    1. ผู้ที่ย้ายกลับภูมิลำเนาเดิมเนื่องจากสถานการณ์โควิด 
    2. แหล่งท่องเที่ยว 
    3. ที่พัก / โรงแรม 
    4. ร้านอาหารในท้องถิ่น            
    5. อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น 
    6. เกษตรกรในท้องถิ่น 
    7. พืชประจำถิ่น 
    8. สัตว์ประจำถิ่น
    9. ภูมิปัญญาท้องถิ่น
    10. แหล่งน้ำในท้องถิ่น
ภาพการลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามที่ได้รับมอบหมาย

 

สรุปผลการปฏิบัติงาน 

     การทำงานในเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม พบว่าประชาชนในหมู่บ้านส่วนใหญ่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการแพร่ระบาดโรคโควิด – 19 และมีการติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการแพร่ระบาดโรคโควิด – 19 ประชาชนในหมู่บ้านมีการประเมินตนเองและบุคคลในครอบครัว มีการสังเกตอาการของคนในครอบครัว และมีการดูแลสุขอนามัยของตัวเองและคนในครอบครัวเป็นอย่างดี เนื่องจากสถานการณ์โรคโควิด – 19 กำลังแพร่ระบาด จึงทำให้การลงพื้นที่ชุมชนเป็นไปด้วยความล่าช้า แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่เข้าใจถึงบริบทของการทำงานของเรา ชาวบ้านส่วนใหญ่จึงให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี 

 

อื่นๆ

เมนู