การปฏิบัติงานประจำเดือนพฤษภาคม โดยโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ณ ชุมชนหนองโบสถ์ ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ มีการดำเนินงานดังนี้
วันที่ 7 พฤษภาคม 2564 : เข้าร่วมประชุมกับทางคณาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ในด้านเนื้อหาการประชุมทางคณาจารย์ได้มอบหมายงานสำหรับการลงสำรวจพื้นที่ชุมชนเพิ่มเติม โดยกำหนดให้เพิ่มข้อมูลลง application U2T ในส่วนของข้อมูลนั้นมีเนื้อหาเกี่ยวกับ
- ผู้ที่ย้ายกลับบ้านเนื่องจากสถานการณ์โควิด
- แหล่งท่องเที่ยว
- ที่พัก/โรงแรม
- ร้านอาหารในท้องถิ่น
- อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น
- เกษตรกรในท้องถิ่น
- สัตว์ในท้องถิ่น
- ภูมิปัญญาท้องถิ่น
- แหล่งน้ำในท้องถิ่น
และนอกจาการมอบหมายงานเพิ่มเติม ทางคณาจารย์และกลุ่มคณะสำรวจได้มีการปรึกษาเกี่ยวกับการทำงานเนื่องด้วยสถานการณ์โควิดอาจมีการให้การทำงานเกิดความล่าช้า เพราะฉะนั้นการวางแผนการทำงานจึงเป็นสิ่งสำคัญ
วันที่ 12 พฤษภาคม 2564 : ได้เข้าร่วมงานบุญผ้าป่าปฐกถาชุมชนออนไลน์ “ยักษ์ จับ โจน ” โดยมีเนื้อหาสาระสำคัญหลัก ๆ ที่ได้รับจากวิทยากรหลัก ๆ ทั้ง 2 ท่าน ดังนี้

งานบุญผ้าป่า ปาฐกถาชุมชนออนไลน์
ดร.ยักษ์ วิวัฒน์ ศัลยกำธร —> ได้กล่าวถึงหลักปรัชญาเศรษกิจพอเพียง โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนามนุษย์และการขับเคลื่อนหลักกสิกรรมธรรมชาติการบ่มเพาะหลักคิดและหลักปฏิบัติ โดยทาง ดร.ยักษ์ มีศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต ณ “ศูนย์การเรียนรู้มาบเอื้อง” จังหวัดชลบุรี เป็นศูนย์การเรียนรู้ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการดิน น้ำ ป่า โดยสามารถนำความรู้เหล่านี้ไปช่วยพลิกพื้นดินให้เกษตรกรได้อย่างดีเยี่ยม ในหัวเรื่องที่ ดร.ยักษ์นั้นได้ปฐกถาพิเศษ คือ เรื่องกสิกรรมธรรมชาติบนรากฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การพัฒนาที่มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ในยุค world disruption แบ่งออกเป็น 5 หัวข้อ
- กสิกรรมธรรมชาติ
- บนรากฐานความพอเพียง
- มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน
- world disruption
- ภายใต้วิกฤตโรคระบาด
โดยท่าน ดร.ยักษ์ ได้ทำการสรุปเป็นภาพรวมกล่าวถึง “ความพอเพียง” คือต้องมีพอทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น มีอาหารพอกิน อากาศร่มเย็นพอ แหล่งน้ำเพียงพอ เป็นต้น หากมองในด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ ความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี และต้องควบคู่ไปกับการมีความรู้และคุณธรรม เพื่อนำไปสู่ความสมดุลและยั่งยืน หากเรานำมาปรับใช้ให้เข้ากับวิกฤตโรคระบาดในขณะนี้ ก็จะสามารถอยู่รอดได้อย่างไม่ลำบากมากนัก

ดร.ยักษ์ วิวัฒน์ ศัลยกำธร
โจนจันได —> บุคคลที่ใช้ชีวิตแบบง่ายๆ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้ประโยชน์จากหญ้า เจ้าของ“สวนพันพรรณ” โดยโจนจันไดได้ให้ความรู้ในด้านวิธีกำจัดหญ้าแบบไม่ใช้สารเคมี
- การตัดหญ้าควรตัดเดือนละ 1 ครั้ง ในหน้าฝน เมื่อตัดเสร็จให้ทิ้งไว้ 2 สัปดาห์ หญ้าเหล่านั้นจะกลายเป็นปุ๋ย
- เหยียบหญ้าและนำฟางไปคลุม เมื่อเวลาผ่านไป หญ้าก็จะกลายไปเป็นปุ๋ยให้ใช้
- การแก้ปัญหาหญ้าในนาข้าว คือ เมื่อหญ้าเกิดและมีข้อแต่ข้าวยังไม่เกิดข้อ ให้รีบตัดออก และหญ้าจะไม่สามารถเกิดทั้นต้นข้าวได้
- กรณีหญ้าที่เกิดในแปลงผัก ให้กดหญ้าลงและนำฟางมาคุลม
คุณโจนจันไดกล่าวว่า เราควรหาทางใช้ประโยชน์จากหญ้า ไม่ใช้ทำลายหญ้า
ในส่วนงานบุญผ้าป่าปฐกถาชุมชนออนไลน์นั้นจึงเป็นงานที่ทำให้ผู้รับชมได้รับทั้งบุญและความรู้ควบคู่กันไป

โจน จันได
วันที่ 15 พฤษภาคม 2564 : เนื่องด้วยสถานกาณ์โควิดจึงทำให้ข้าพเจ้าไม่สามารถเข้าไปสำรวจหาข้อมูลได้โดยตรงจากทางหมู่บ้าน แนวทางการแก้ปัญหาจึงเป็นการสื่อสารผ่านเทคโนโลยีเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยในส่วนข้อมูลในชุมชนหนองโบสถ์นั้นหากแบ่งตามหัวข้อแล้วจะได้ข้อมูลคร่าว ๆ ดังนี้
- ผู้ที่ย้ายกลับบ้านเนื่องจากสถานการณ์โควิด : ทางด้านผู้ช่วยวิชญา เจียมผักแว่น ได้ให้ข้อมูลว่าประชากรในชุมชนนั้นแต่ก่อนที่สถานการณ์โควิดได้แพร่ระบาดในช่วงแรกได้กลับมาอาศัยพักอยู่บ้าน แต่เมื่อสถานการณ์ได้ทุเลาลงจึงกลับไปทำงานและในช่วงนี้ที่วิกฤตโรคระบาดได้กลับมาอีกรอบ ผู้ที่ย้ายจึงไม่ได้ย้ายกลับมาอยู่บ้านอีกเพราะต้องทำงานหาเงินหรือบางส่วนอาจต้องทนอยู่เพราะไม่สามารถกลับมาได้
- แหล่งท่องเที่ยว : ในชุมชนหนองโบสถ์ ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ยังไม่ได้มีสถานที่ท่องเที่ยว
- ที่พัก/โรงแรม : มีที่พักอยู่ 3 แห่ง คือ OK รีสอร์ท , พฤกษารีสอร์ทและเป็นหอพักของคุณแม่
- ร้านอาหารในท้องถิ่น : ร้านอาหารในท้องถิ่นนั้นมีอยู่ในแถวพื้นที่ตลาด
- อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น : อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่นนั้นไม่ได้มีอาหารพอที่จะเป็นอาหารประเภท Signature ได้ สามารถหาทานได้ทั่ว ๆ ไปในทุก ๆ ที่ เช่นพวก อาหารแกงถุง ก๋วยเตี๋ยว ไก่ทอด เป็นต้น
- เกษตรกรในท้องถิ่น : ในข้อมูลของเกษตรกรชุมชนหนองโบสถ์นั้น หากนับเป็นหลังคาเรือน จำนวนหลังคาเรือนที่ทำอาชีพเกษตรกรจะอยู่ประมาณที่ 60-70 หลังคาเรือน
- สัตว์ในท้องถิ่น : เป็นสัตว์จำพวกประเภทสัตว์เคี้ยวเอื้อง วัว ควาย เป็นต้น
- ภูมิปัญญาท้องถิ่น : ไม่มีภูมิปัญญาในท้องถิ่น
- แหล่งน้ำในท้องถิ่น : ชุมชนหนองโบสถ์มีแหล่งน้ำที่ใช้ร่วมกันคือ “ฝายปอแดง”
สรุปรายงานประจำเดือนพฤษภาคม ข้าพเจ้าได้รับความรู้จากการเข้ารวมงานบุญผ้าป่าปฐกถาชุมชนออนไลน์ “ยักษ์ จับ โจน ” ได้รับมอบหมายหน้าที่ในการสำรวจข้อมูลเพิ่มเติมของประชาชนในชุมชนหนองโบสถ์ และหากภายในเดือนมิถุนายนสถานการณ์โรคระบาดได้ลดระดับความรุนแรงลงทางคณะโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) และคณะอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ จะได้ทำการขับเคลื่อนการสร้างผลิตภัณฑ์ร่วมกันกับชุมชนต่อไป