วันที่ 23 พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา ได้มีการประชุมและทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างทางคณะผู้ปฎิบัติงานและกลุ่มประชาชนในหมู่บ้าน โดยในครั้งนี้ได้มีอาจารย์จากทางมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์เข้าร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ในชุมชน สามารถสรุปความรู้จากสิ่งที่วิทยากรได้ให้ความรู้แบ่งหัวข้อได้ 3 หัวข้อหลัก ดังนี้
1.) LOGO = ตราสินค้า คือสัญลักษณ์ที่แสดงถึงตัวตนหรือสินค้า เพื่อให้เกิดเอกลักษณ์และกระบวนการจดจำ โดยตราสินค้าต้องจดจำง่าย และแสดงแนวความคิด เจตนารมณ์ขององค์กร สินค้า หรือบริการได้ โดยโลโก้ที่ดีต้องมีลักษณะตามดังนี้
- จำนวนสีไม่มาก
- จดจำได้ง่าย
- เด่นชัด ดึงดูด
- ย่อหดได้
- ใช้ได้ในหลายช่องทาง
- มีเรื่องราว
- แตกต่าง
2.) หน้าที่ของบรรจุภัณฑ์
- ต้องปกป้องสินค้าได้
- ขนส่งได้
- เป็นสุดยอดพนักงานขาย
3.) กรอบการคัดสรร
- สามารถส่งออกได้ (Exportable) โดยมีความแกร่งของตราสินค้า (Brand Equity)
- ผลิตอย่างต่อเนื่องและคุณภาพคงเดิม (Continuous & Consistent)
- ความมีมาตราฐาน (Standardization) โดยมีคุณภาพ (Quality)
- มีประวัติความเป็นมาของผลิตภัณฑ์ (Story of Product)
และหลังจากทางวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์หลังจากนั้นก็มีการรวมกลุ่มระหว่างผู้ปฏิบัติงานและประชาชนในหมู่บ้านที่เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ ร่วมกันคิดออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ตนเองต้องการ มีทั้งขนมบ้าบิ่น ทาร์ตไข่ กล้วยเบรกแตกและขนมตาล เพื่อนำองค์ความรู้ที่นำไปต่อยอดให้ได้ตัวผลิตภัณฑ์ที่เป็นรูปธรรมให้แก่ชุมชน
วันที่ 26 พฤษภาคม 2564 ณ โรงเรียนบ้านหนองยายพิมพ์ ต.หนองยายพิมพ์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ ปลูกป่าสร้างคุณค่าสู่แผ่นดิน ภายใต้ “โครงการรวมใจปลูกต้นไม้ปลูกธรรมะวันวิสาขบูชา 2564 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว” โดยมีการถ่ายทอดสดผ่านช่อง HUSOC-BRU Channal & On-line Youtube มีการจำกัดคนเข้าร่วม ณ บริเวรงานเสวนา 50 คนเพื่อป้องกันโควิด -19
วันที่ 29 พฤษภาคม 2564 ณ โรงเรียนบ้านหนองยายพิมพ์ ต.หนองยายพิมพ์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ เป็นตัวแทนกลุ่มเพื่อไปทำการตรวจดูแลต้นไม้ที่ได้ปลูกไว้ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา
วันที่ 6 มิถุนายน 2564 ลงพื้นที่เก็บข้อมูลรายบุคคลเพิ่มเติม ผ่านทาง Website U2T เกี่ยวกับข้อมูลหมู่บ้าน ตามหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย โดยในเดือนมิถุนายนนี้ข้าพเจ้าได้สำรวจเกี่ยวกับแหล่งน้ำ สัตว์ในท้องถิ่น พืชในท้องถิ่น และร้านค้าในท้องถิ่น มีรายละเอียดดังนี้
1. แหล่งน้ำในท้องถิ่น
– อ่างเก็บน้ำบ้านหนองยาง
– อ่างเก็บน้ำบ้านหนองยาง 2
– สระประดู่
– สระสาธารณะบ้านหนองกันงา
2. สัตว์ในท้องถิ่น
– วัว
3. พืชในท้องถิ่น
– ยูคาลิปตัส
– สาหร่ายหางกระรอก
– ต้นกล้วย
4. ร้านอาหารในท้องถิ่น
– ร้านฟาร์มสุข คอฟฟี่
วันที่ 12 มิถุนายน 2564 เข้าร่วม covid -19 week ก้าวต่อไปสู่ภัยโควิด ณ บ้านโคกพลวง ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยในการร่วมประชุมครั้งนี้ ทาง รพ.สต. บ้านหนองทองลิ่ม นำโดยคุณหมอญาดาและคุณหมอปรีชา ได้เข้ามาให้ความรู้เกี่ยวกับโรคอุบัติใหม่ covid -19 วิธีการสังเกตอาการ การป้องกัน ดูแล และรักษา เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับคนในชุมชน การใส่และทิ้งหน้ากากอนามัยที่ถูกวิธี และยังรวมไปถึงการรณรงค์สนับสนุนให้ทุกคนได้รับวัคซีน คุณหมอได้ให้รายละเอียดทางด้านวิชาการ ซึ่งผู้เข้าร่วมสามารถนำความรู้ที่ได้รับกลับมากลั่นกรองว่าตนนั้นมีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด ทั้งด้านสภาพแวดล้อมและสุขภาพประจำตัว หากมีความเสี่ยงน้อยก็อาจเลี่ยงการฉีดไปก่อนได้ หากมีโรคประจำตัวสิ่งสำคัญคือการปรึกษาแพทย์ก่อนรับการฉีด และหากตัวเรามีความเสี่ยงสูงแต่สภาพร่างกายแข็งแรงการรับวัคซีนอาจเป็นทางเลือกหนึ่งให้เราได้ดำเนินชีวิตง่ายขึ้น เพราะการขับเคลื่อนของชีวิตต้องมีการพบปะผู้คนอยู่สม่ำเสมอ อย่างน้อยวัคซีนอาจเป็นตัวที่ทำให้เมื่อเราได้รับเชื้ออาจส่งผลกระทบน้อยกว่าคนที่ไม่ฉีด แต่ที่สุดแล้วเราสามารถที่จะเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับตัวของเราได้ นอกจากการให้ความรู้ทางคณะผู้ทำงานยังได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการทำเจลแอลกอฮอล์ให้กับคนในชุมชนและมีการแจกจ่ายเจลแอลกอฮอล์ให้กับทั้ง 14 หมู่บ้านในตำบลหนองโบสถ์ โดยครั้งนี้ทางหมู่บ้านจะได้รับเจลแอลกอฮอล์หมู่บ้านละ 60 ขวด

ผู้ใหญสำเรียง อาจเอื้อม ผู้ใหญ่บ้านคนใหม่ของ หมู่บ้านหนองโบสถ์
***หมายเหตุ เนื่องจากวันที่ 12 มิถุนายน ข้าพเจ้าต้องนำเจลแอลกอฮอล์ไปให้กับผู้ใหญ่ในหมู่บ้านหนองโบสถ์ แต่เนื่องด้วยทางผู้ใหญ่ติดธุระข้าพเจ้าจึงได้ฝากเจลแอลกอฮอล์ไว้กับทางบ้านผู้ใหญ่ และทางผู้ใหญ่จึงได้ถ่ายรูปเก็บไว้เป็นหลักฐานย้อนหลังให้กับข้าพเจ้า
และนอกจากการปฏิบัติงานที่ได้รายงานไปเบื้องต้น ทางคณะผู้ปฏิบัติการยังได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับ มาตราการโควิด การทำเจลแอลกอฮอล์และการเชิญชวนรณรงค์ให้ประชาชนเข้าร่วมการฉีดวัคซีน เนื่องด้วยการทำงานของผู้ปฏิบัติงานคือการลงพื้นที่พบปะผู้คนในชุมชน จึงต้องมีการสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับตนเองและผู้คนในชุมชน เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยในด้านสุขภาพ โดยข้าพสรุปได้เป็นหัวข้อดังต่อไปนี้
1. มาตราการป้องกันโควิด
การเชิญชวนรณรงค์ในการฉีดวัคซีนนั้น ถือว่าต้องเป็นการให้ข้อมูลอย่างถูกต้องที่สุดให้กับประชาชน มีข้อมูลเชิงวิชาการมาเผยแพร่ให้กับประชาชนได้รับรู้ เพื่อเป็นการป้องกันการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ไม่มีมูลความจริงให้แก่ประชาชน เพราะผลของวัคซีนนั้นส่งผลกระทบต่อบุคคลแต่ละคนแตกต่างกัน หนึ่งชีวิตมีค่ามากพอที่จะรักษาไว้ไม่ว่าจะเป็นชีวิตของผู้ใดก็ตาม ดังนั้นการรณรงค์จึงเป็นไปตามความเป็นจริง มีตัวอย่างของผู้ที่เคยไปฉีดวัคซีนมาและเล่าประสบการณ์ถึงอาการหลังฉีดว่าเป็นอย่างไร โดยตัวผู้เล่าประสบการณ์ทางคณะผู้ปฏิบัติงานได้ทำการขออนุญาตก่อนถ่ายทำ หากเมื่อวิดีโอที่ทางคณะผู้ปฏิบัติงานเผยแพร่ออกไป ประชาชนที่เข้ารับชมสามารถที่จะใช้วิจารณญาณและการคิดวิเคราะห์ผลกระทบต่อร่างกายของตนเองได้ หากตนเองมีโรคประจำตัว ร่างกายไม่แข็งแรง จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์อย่างรอบคอบก่อนทำการฉีดวัคซีน ร่างกายของเราเราควรได้เลือกสิ่งที่ดีที่สุดเข้าสู่ร่างกายของตน แต่หากผู้ใดมีความพร้อมทั้งสภาพร่างกายและจิตใจ ต้องการดำเนินชีวิตต่อ เพราะการใช้ชีวิตต้องพบปะผู้คนมากมาย การเลือกฉีดวัคซีนอาจเป็นทางเลือกหนึ่งที่ดี