หลักสูตร: HS04โครงการยกระดับโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัยจากมหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประจำเดือนเมษายน 

        ข้าพเจ้า นางสาว นวลพรรณ แบบรัมย์ ผู้ปฏิบัติงานประเภทนักศึกษา เนื่องจากในวันที่ 7 เมษายนพ.ศ. 2564 ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่ในพื้นที่ตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ และทำงานร่วมกับกลุ่มผู้ปฏิบัติงานประเภทบัณฑิตและประเภทประชาชน ประเภทข้อมูลที่เก็บเพิ่มเติมได้แก่ แบบฟอร์ม 01: แบบสอบถามข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน , แบบฟอร์ม 02: แบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด-19 และ แบบฟอร์ม 06: แบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ (Emerging infectious diseases)

         จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติมครั้งนี้ พบว่ามีข้อแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดจากการลงพื้นที่ครั้งก่อ ในส่วนแบบฟอร์ม 02 พบว่าประชาชนวิตกกังวลอย่างมากเหตุเนื่องจากโรคโควิด-19ระลอกใหม่ระบาดอย่างรวดเร็ว มีผู้เชื้อติดขึ้นเพิ่มมากและเชื้อร้ายแรงยิ่งขึ้น ซึ่งทำให้ประชาชนต้องดูแลตัวเองอย่างเข้มงวดกว่าเดิม เช่น สวมหน้ากากอนามัยเมื่อออกไปทำธุระในพื้นที่อื่น ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์เมื่อสัมผัสสิ่งของในที่สาธารณะ เป็นต้น ในส่วนแบบฟอร์ม 06 ประชาชนที่ค้าขายได้รับผลกระทบอย่างมาก เมื่อโรคโควิด-19กลับมาระบาดระลอกใหม่จึงทำให้ผู้คนในพื้นที่ไม่ออกจากเคหสถาน ทำให้พ่อค้าแม่ค้าในพื้นที่นั้นขาดรายได้แต่อย่างไรก็ตามในพื้นที่ตลาดนั้นยังคงมีมาตรการตามที่รัฐบาลได้กำหนดไว้ เช่น ตั้งจุดคัดกรองวัดอุณหภูมิและล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ สวมหน้ากากอนามัยก่อนเข้าพื้นที่ เว้นระยะห่างทางสังคม SOCIAL DISTANCING

        สรุปผลการลงพื้นในเดือนเมษายน ประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบตนเองมากขึ้น และหากมีผู้ที่เดินทางมาจากเขตพื้นที่อื่นมาในเขตพื้นที่ตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ก็ทำการไปตรวจหาเชื้อโควิด-19ที่โรงพยาบาลบุรีรัมย์ หากพบเชื้อก็ดำเนินการเข้ารับการรักษาและหากไม่พบเชื้อก็กลับมากักตัวจนครบ 14 วันตามมาตรการที่กรมควบคุมโรคกำหนดไว้แล้วไปตรวจหาเชื้ออีกครั้ง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประชาชนยังคงไม่ละเลยการรับผิดชอบในสังคม

         และเพิ่มเติมในเดือนเมษายนนี้ ข้าพเจ้าได้ฝึกอบรมพัฒนาทักษะครบทุกหลักสูตรผ่านระบบ e-learning (อบรมด้วยตนเอง) ตามที่โครงการกำหนดไว้ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ 1.ด้านดิจิทัล (Digital Literacy) 2.ด้านภาษาอังกฤษ (Language Literacy) 3.ด้านการเงิน (Financial Literacy) และ 4.ด้านสังคม (Social Literacy) ซึ่งในการอบรมพัฒนาทักษะในครั้งนี้ผลออกมาอย่างพึงพอใจ ไม่ยากเกินไปสำหรับนักศึกษาหรือประชาชนทั่วไป อีกทั้งยังสามารถเข้าถึงได้ทุกคนและยังได้ความรู้ที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย

 

 

 

 

อื่นๆ

เมนู