ข้าพเจ้า นายอรรถพร โกเลือน ผู้ปฏิบัติงานประเภทประชาชน ได้ทำการลงพื้นที่ปฏิบัติงานพร้อมด้วยอาจารย์ประจำหลักสุตรและทีมผู้ปฏิบัติงาน ต.ผไทรินทร์ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2564 โดยข้าพเจ้าพร้อมด้วยทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลผไทรินทร์ ได้เข้าร่วมการประชุม ณ หอประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลผไทรินทร์ โดยมีอาจารย์ประจำหลักสูตร,ตัวแทนจากกลุ่มผลิตภัณฑ์จักสานตำบลผไทรินทร์และเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลผไทรินทร์ เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ด้วย ซึ่งมีเนื้อหาที่สำคัญคือ การติดตามผลการออกแบบเพื่อสร้างอัตลักษณ์ที่โดดเด่นประจำท้องถิ่นให้กับผลิตภัณฑ์ตะกร้าหวายเทียม โดยมีคุณอริสรา เภสัชชา เป็นผู้ดูแลและติดตามผลการดำเนินงาน ซึ่งได้ให้ความรู้ในด้านการยกระดับผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่ามากขึ้น ชี้แจงปัญหาการผลิตเครื่องจักสาน ในครั้งนี้กลุ่มตัวแทนผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานได้ทดลองออกแบบการทำตะกร้าโดยการใช้วัตถุดิบที่มีในชุมชนและได้ออกแบบลวดลายของตะกร้าตามความคิดสร้างสรรค์ของกลุ่มตัวแทนแต่ละท่านและได้นำมาประกอบการบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับการทำตะกร้าหวายเทียม นอกจากนี้กลุ่มตัวแทนผลิตภัณฑ์เครื่องจักรสารได้มอบตะกร้าให้ทางหัวหน้าหลักสูตรเพื่อเป็นชิ้นงานตัวอย่างและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ คุณฉัตรติญา จำปาทิพย์ พยาบาลวิชาชีพ ให้ความรู้ในด้านสุขภาพการดูแลตนเองในช่วงการแพรระบาดโรคโควิด-19 และคุณจิราลักษณ์ วิจิตรศักดิ์ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ให้ความรู้และแนวทางการดูแลพี่น้องใชุมชนทั้งในด้าน เศรษฐกิจและด้านสาธารณสุข
ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้รับมอบหมายจากอาจารย์ประจำหลักสูตร ให้ลงพื้นที่สำรวจผลิตภัณฑ์ด้านจักสาน และเก็บข้อมูลเพิ่มเติมของแต่ละหมู่บ้านในตำบลผไทรินทร์ทั้ง 19 หมู่บ้าน ซึ่งครั้งนี้ข้าพเจ้าได้รับมอหมายให้ลงพื้นที่ หมู่16 บ้านโคกงิ้วใหม่ ต.ผไทรินทร์ อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2564 ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลให้ได้ตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้โดยนำข้อมูลที่ได้ใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนของชุมชนจากการลงพื้นที่ในหมู่ที่ 16 บ้านโคกงิ้วใหม่ ข้อมูลที่ได้คือหมู่16 มีการรวมกลุ่มการทอผ้า และมีการรวมกลุ่มการทำจักสานตะกร้าหวายเทียมทั้งหมด 12 คน หัวหน้ากลุ่มคือนางทองนาค ชะนะนาน ให้ข้อมูลมาว่าการทำตะกร้าหวายเทียมนั้นเราไม่สามารถทำโครงของตะกร้าเองได้เนื่องจากโครงของตะกร้าต้องมาจากหวายจึงได้ทำการสั่งซื้อโครงตะกร้าราคาอยู่ที่ 150 -190 บาท ลวดลายของตะกร้าขึ้นอยู่กับแบบที่จะทำและระยะเวลาในการทำก็ขึ้นอยู่กับลวดลายที่เราจักสานว่ามีความละเอียดอ่อนมากน้อยเพียงใด ซึ่งได้รายละเอียดดังนี้
ตะกร้าหวายเทียมเป็นการรวมกลุ่มของหมู่ที่ 16 นำโดย นางทองนาค ชะนะนาน
– สินค้าค่อนข้างที่จะขายดีมากเพราะมีความทนทานและละเอียดสวยงามในลวดลาย
– เป็นสินค้าที่ต้องการของตลาด
– จำหน่ายทาง Facebook และ ปากต่อปากบอกต่อ
– ยังไม่มีคนที่สามารถทำโครงตะกร้าได้ จึงต้องซื้อจากจังหวัดเชียงรายโครงตะกร้ามีราคาค่อนข้างที่จะแพง
– ก้นตะกร้าทำมาจากไม้ไผ่ และเส้นหวายได้ แต่เส้นหวายจะมีความแข็งแรงกว่า
– หวายจะไม่กลืนสี จึงใช้ไม้ไผ่เข้ามาทำจะทำให้เกิดการย้อมสีสวยงาม
– หวายมีปริมาณน้อย ใช้เฉพาะทำโครงเพราะมีความเหนียวและแข็งแรง
– ได้มีการทดลองนำไหลมาใช้แทนหวยเทียมเพราะหวายเทียมมีราคาแพง แต่ปรากฎว่าหมายเทียมจะขาดง่ายสีสันจะไม่สวยงามเหมือนการทำจากหวายเทียม
ข้อมูลอื่นๆที่ได้ พบว่าประชาชนมากกว่า 95% ของหมู่บ้านล้วนทำการเกษตรทั้งสิ้นคือการทำนาข้าว ในส่วนที่เสร็จจากการเก็บเกี่ยวข้าวแล้วจะมีการปลูกผักสวนครัวไว้กินเอง เช่น พริก หอม กระเทียม และสัตว์เลี้ยงส่วนใหญ่แทบจะทุกครัวเรือนคือ โค กระบือ สุนัข เป็ด และไก่
จากกการลงพื้นที่ปฎิบัติงานได้เข้าร่วมการประชุม ณ หอประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลผไทรินทร์ และได้รับรับความรู้เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในด้านการลงพื้นที่สำรวจผลิตภัณฑ์ของหมู่บ้านและการเก็บข้อมูลตามแบบสอบถามพบว่าคนในชุมชนมีอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ ทำนา ทำไร่ ทำสวน และเลี้ยงสัตว์โดยส่วนมากคนในชุมชนจะปลูกข้าวเป็นหลัก รายได้หลักของครัวเรือนส่วนมากมาจากการทำอาชีพเกษตรกร นอกจากนี้เมื่อหมดฤดูกาลทำนาจะมีการปลูกหอมแดง กระเทียม และพริกรวมไปถึงการทำตะกร้าหวายเทียมเพื่อจำหน่ายของกลุ่มแม่บ้านเป็นการสร้างรายได้เสริมที่ดีอีกช่องทางหนึ่งและยังเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์อีกด้วย