หลักสูตร HS:04 โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ ประจำเดือนกันยายน

     ข้าพเจ้า นางสาวจรรยา พันธ์โยศรี ผู้ปฏิบัติงานประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ในการปฏิบัติงานเดือนกันยายน  สถานการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า(COVID-19 )ยังมีการแพร่ระบาดในพื้นที่ตำบลผไทรินทร์และยังมีผู้ติดเชื้อด้วย ข้าพเจ้าพร้อมด้วยทีมผู้ปฏิบัติงานได้ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานเพื่อให้เข้ากับสถานการณ์และป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค

เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2564 เวลา 9.00 น.ข้าพเจ้าพร้อมด้วยทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลผไทรินทร์ ได้เข้าร่วมประชุมผ่านระบบ Goolgle meet อาจารย์ชมพู   อิสริยาวัฒน์ ได้ชี้แจงเป้าหมายหลักของการดำเนินโครงการ โดยจะมีการรวบรวมข้อมูลจัดทำเป็นหลักสูตรระยะสั้นเรื่องการทำลาย การทำโครงตระกร้าเพื่อเก็บไว้ที่องค์การบริหารส่วนตำบล ให้ผู้ที่สนใจเข้ามาเรียนรู้ โดยทางมหาวิทยาลัยจะสนับสนุนในส่วนอุปกรณ์และงบประมาณสำหรับทำโครงตะกร้าทั้งนี้เพื่อขับเคลื่อนให้ถึงเป้าหมาย และสรุปผลงานของโครงการ U2Tตำบลผไทรินทร์ว่ามีความคืบหน้าสามารถวัดผลได้จริง และประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย  วิทยากร คุณอริสรา เภสัชชา ผู้อำนวยการกองสวัสดิการสังคมองค์การบริหารส่วนตำบลผไทรินทร์ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้สูงอายุที่มีความสามารถในการทำโครงตะกร้าตอนนี้ยังใช้ฝีมือและเครื่องมือแบบโบราณใช้ภูมิปัญญาดั้งเดิม ยังไม่มีอุปกรณ์ที่ช่วยในการ พัฒนาฝีมือ ยังเป็นแบบเดิมๆไม่มีสีสัน รูปแบบยังเป็นทรงกลมยังไม่มีการพัฒนา วิทยากรท่านที่สอง ดอกเตอร์สินีนาฏ รามฤทธิ์ ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบและแนวทางการพัฒนาของผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่และหัตถกรรมจักสาน เดิมทีผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่จะเป็นอุปกรณ์เครื่องใช้ที่มีความจำเป็นในชีวิตประจำวัน เช่นเฟอร์นิเจอร์โต๊ะเก้าอี้ เครื่องดนตรี เช่น ขลุ่ย ซอ เครื่องใช้ในครัวเรือนที่ทำจากไม้ไผ่ เช่นกล่องข้าว ปัจจุบันมีการประยุกต์ผลิตเป็นของใช้หลากหลายมากขึ้น ผลิตภัณฑ์ตะกร้าสานจากเดิมทำจากหวาย ในปัจจุบันหวายมีราคาแพงและหาได้ยากจึงมีการนำเส้นพลาสติกเข้ามาแทนและได้ มีพัฒนามากขึ้นมีการเพิ่มลวดลายแปลกๆเข้ามา ได้มีการตัดเย็บผ้าเข้ามาผสมผสาน เพื่อเป็นการเพิ่มฐานลูกค้าให้หลากหลายขึ้น  ในการออกแบบลวดลาย ดีไซน์ และ สี อาจผสมผสานให้เป็นแบบที่เป็นที่ต้องการของลูกค้า ไม่จำเป็นที่กลุ่มลูกค้า เป็นกลุ่มเดียวกันเสมอไปอาจจะมีกลุ่มลูกค้าที่หลากหลายภายในร้านเดียว การเลือกสีที่เป็นสีตรงข้ามหรือว่าสีโทนเดียวกันโดยมีการไล่โทนสี เป็นลูกเล่นที่สามารถนำมาเป็นแนวทางในการผลิตเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ได้ การจับคู่สีการไล่โทน การวางลาย นำมาประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์ ทำให้ทันสมัยขึ้น ปกติแล้วตัวงานสีที่นำมาจับคู่สีกันนั้นจะเป็นประมาณ 2 คู่สี ไอเดียต่อยอดอาจออกแบบตามเทศกาลก็ได้

แนวคิดในการออกแบบลายหากพิจารณาตามแหล่งที่มาหรือต้นกำเนิดพอแบ่งได้เป็น 4 ลายได้แก่

1. ลายจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่พบเห็นได้แก่ ลายดอกไม้ ใบไม้ ผลไม้ หรือลายสัตว์เป็นต้น 

2 ลายจากสิ่งของเครื่องใช้ ได้แก่ลายขอ ลายกุญแจ ลายลูกโซ่ ลายบันได ลายขาเปีย ลายขันกะหย่อง 

3 ลายจากความเชื่อทางศาสนาและจินตนาการในวรรณคดีได้แก่ ลายธรรมาสน์ ลายขันหมากเป้ง ลายหกปราสาทลายนาค ลายสิงห์ ลายหงส์

4.ลายประดิษฐ์หรือลายผสมลายประยุกต์เป็นรายที่เกิดจากเทคนิคการผสมผสานได้ให้เกิดรายใหม่ได้แก่ตัวอักษรรูปทรงอิสระ

วันที่ 4 กันยายน 2564 ได้ลงพื้นที่เพื่อศึกษาและรวบรวมข้อมูลด้านการออกแบบลวดลายตะกร้าจากป้าทองนาค ชะนะนาน บ้านเลขที่ 103 บ้านโคกงิ้วใหม่ หมู่ที่16 ตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นสมาชิกในกลุ่มผู้ผลิตตะกร้าหวายเทียมของตำบลผไทรินทร์ ได้ให้ข้อมูลว่าโครงตะกร้าที่ใช้จะสั่งมาจากอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ราคาตั้งแต่ 300-400บาทแล้วแต่ขนาดของตะกร้าส่วนลายตะกร้ายังไม่ได้ออกแบบลายใหม่ๆ ส่วนใหญ่ทำจากตัวอย่างที่มีอยู่ทั่วไป ปัญหาที่พบคือการจับคู่สียังไม่ค่อยลงตัว เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จึงได้มอบตารางการจับคู่สีและ การไล่โทนสีให้ นอกจากนี้พบว่าการเลือกลายเป็นสิ่งสำคัญที่สุดต้องคำนึงถึงขนาดของตะกร้า ขนาดของเส้นหวาย จำนวนของหลักดิ้ว หากดิ้วมีความถี่เส้นหวายเทียมเส้นเล็กจะสามารถทำลายที่ความละเอียดได้ และการเลือกคู่สีที่เหมาะสำหรับสีของหลักดิ้วและสีของเส้นหวายให้เข้ากันจึงจะได้ตะกร้าที่มีความสวยงาม

นอกจากนี้ข้าพเจ้ายังได้เรียนรู้เพิ่มเติมการอบรมออนไลน์จากสถาบันพัฒนาบุคลากรภาครัฐด้านดิจิทอลหรือTDGAหลักสูตรต่างๆดังนี้

1.หลักสูตรความรู้พื้นฐานเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับข้าราชการและบุคลากรภาครัฐทุกระดับ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับความหมายของ Big Data และการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ กระบวนการในการจัดเก็บ Big Data รวมถึงเรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ Big Data และแนวทางในการวิเคราะห์ Big Data เพื่อการทำงานภาครัฐ

2.หลักสูตรUses of Hadoop in Big Data ได้เรียนรู้เกี่ยวกับหลักการทำงานของฮาดูปและระบบที่เกี่ยวข้องกับฮาดูปเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลใหญ่เบื้องต้นเกี่ยวกับ Big Data ความหมายและลักษณะที่สำคัญของ Big Data รวมทั้งแนวทางการวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือต่าง ๆ แนวทางการนำ Big Data ไปใช้ประโยชน์เพื่อการทำงาน และมีความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อสามารถเลือกใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการทำงานได้อย่างเหมาะสม

3.หลักสูตรการเปลี่ยนผ่านสู่องค์กรดิจิทัล  ได้เรียนรู้เกี่ยวกับความหมายของการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล รวมทั้งการศึกษาแนวทางการเปลี่ยนแปลงทั้งในเรื่องความคิด การพัฒนาคน การพัฒนาการทำงานร่วมกัน การสร้างวัฒนธรรมดิจิทัลและการบริหารจัดการเทคโนโลยีเพื่อการขับเคลื่อนไปสู่รัฐบาลดิจิทัลให้มีความรู้เกี่ยวกับการให้บริการและมาตรฐานการให้บริการดิจิทัลภาครัฐและสามารถนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานในองค์กรได้

สรุปผลการลงพื้นที่ประจำเดือน กันยายน จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรน่า(Covid-19 ) ส่งผลกระทบต่อการลงพื้นที่ของผู้ปฏิบัติงานไม่สามารถลงพื้นที่พร้อมกันเป็นกลุ่มใหญ่ได้ จึงมีการปรับเปลี่ยนการทำงานให้เข้ากับสถานะการณ์โดยการแบ่งการลงพื้นที่คราวละไม่เกิน5คน หมุนเวียนกันไปและต้องปฏิบัติตนตามมาตรการป้องกันของกระทรวงสาธารณสุขและชุมชนโดยเคร่งครัด

 

อื่นๆ

เมนู