หลักสูตร: HS04 โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประจำเดือน กันยายน
ข้าพเจ้า นางสาววรัชยา สุขรัมย์ ผู้ปฏิบัติงานประเภทบัณฑิตจบใหม่ ปฏิบัติงานในเขตพื้นที่ตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ทำการลงพื้นที่ปฏิบัติงานพร้อมด้วยอาจารย์ประจำหลักสูตรและทีมผู้ปฏิบัติงาน ต.ผไทรินทร์ ในสถาณการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้การลงพื้นที่แต่ละหมู่บ้านต้องจำกัดการรวมกลุ่มของผู้ปฏิบัติงานเพื่อลดการอยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่โดยการลงพื้นที่ในครั้งนี้มีผู้ปฏิบัติงานเข้าร่วมจำนวน 6 คน
เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2564 ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่ที่หมู่บ้านโคกงิ้วเพื่อศึกษาเกี่ยวกับการสานตะกร้า โดยได้เดินทางไปที่บ้านของคุณแม่ทองนาค ชะนะนาน ซึ่งเป็น 1 ในผู้เข้าร่วมอบรมเกี่ยวกับการสานตะกร้าที่ทางคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้จัดขึ้นที่หอประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลไผทรินทร์เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งคุณแม่ทองนาคได้ให้ความรู้และสอนเกี่ยวกับการสานตะกร้า ซึ่งตะกร้าจะมีหลากหลายแบบหลากหลายลวดลาย มีความยากและความง่ายแตกต่างกัน โดยข้าพเจ้าได้ลองสานตะกร้าแล้วพบว่ากว่าจะได้ตะกร้าแต่ละใบใช้เวลานานพอสมควรเพราะต้องแกะลวดลายของตะกร้าที่เราจะทำและเลือกสีของเส้นหวายเทียมให้เข้ากับสีของโครงตะกร้าอีกด้วย
ซึ่งลวดลายของเครื่องจักสานในแต่ละถิ่นมีหลักเฉพาะท้องถิ่นที่แตกต่างกันไปและมีชื่อเรียกลายต่าง ๆ แตกต่างกันแม้จะเป็นลายชนิดเดียวกันก็ตาม ลักษณะของการสร้างลวดลายแบ่งได้เป็นแบบต่าง ๆ ดังนี้ 1.ลายขัด 2. ลายทแยง 3. ลายขด 4. ลายอิสระ โดยลวดลายของคุณแม่ทองนาค ชะนะนานที่ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่ที่ผ่านมานั้น ได้ใช้ลวดลายอิสระเนื่องจากลายที่สานขึ้นตามความต้องการของผู้สาน เป็นลายที่เกิดจากการสร้างสรรค์ที่อิสระตามความต้องการใช้สอย เป็นการสร้างลวดลายให้เกิดเป็นเครื่องจักสานที่ต่างไปจากลวดลายแบบอื่น ๆ และสามารถเพิ่มมูลค่าของตะกร้าจักสานตามลวดลายที่ผู้สร้างสรรค์คิดขึ้นมาเองได้ด้วย
สรุปการลงพื้นที่ตำบลผไทรินทร์ประจำเดือน กันยายน
ในการลงพื้นที่ประจำเดือนกันยายน ข้าพเจ้าได้เรียนรู้เกี่ยวกับการออกแบบลวดลายของตะกร้า การเลือกใช้โทนสีของตะกร้าให้เหมาะสมกับโครงของตะกร้ารวมทั้งการสานตะกร้าอีกด้วย