หลักสูตร: HS04 โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประจำเดือน ตุลาคม 2564

เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2564 เวลา 15.00 น. ข้าพเจ้า นายอรรถพร  โกเลือน ผู้ปฏิบัติงาน ประเภทประชาชน พร้อมด้วยทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลผไทรินทร์ ได้เข้าร่วมประชุมออนไลน์ผ่านโปรแกรม Goolgle meet โดยมีการพูดคุยวางแผนกันของผู้ปฏิบัติงานในตำบลผไทรินทร์และได้กำหนดวันในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลซึ่งจากการประชุมได้กำหนดว่าวันอาทิตย์ ที่ 3 ตุลาคม 2564 กำหนดให้มีการลงพื้นที่หมู่ 1 บ้านโคกซาดเพื่อติดตามการทำโครงตะกร้าจากไม้ไผ่ และวันอังคาร ที่ 5 ตุลาคม 2564 กำหนดให้มีการลงพื้นที่หมู่ 16 บ้านโคกงิ้วใหม่เพื่อทำการติดตามการทำตะกร้าหวายเทียม

เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้รับมอบหมายจากอาจารย์ประจำหลักสูตร ให้ลงพื้นที่สำรวจผลิตภัณฑ์ด้านจักสาน และเก็บข้อมูลเพิ่มเติมของแต่ละหมู่บ้านในตำบลผไทรินทร์ทั้ง 19 หมู่บ้าน ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่ หมู่16 บ้านโคกงิ้วใหม่ ต.ผไทรินทร์ อ.ลำปลายมาศ  จ.บุรีรัมย์ ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลโดยลงพื้นที่ หมู่ที่ 16 ที่บ้านของคุณป้าทองนาค ชะนะนาน ให้ข้อมูลมาว่าการทำตะกร้าหวายเทียมนั้นเราไม่สามารถทำโครงของตะกร้าเองได้เนื่องจากโครงของตะกร้าต้องมาจากหวายจึงได้ทำการสั่งซื้อโครงตะกร้าราคาอยู่ที่ 150 -190 บาท ซึ่ง ป้าทองทองนาคได้สั่งโครงตะกร้ามาจากเชียงรายโดยสั่งผ่านทางเพจ Facebook พร้อมกับสั่วหวายเทียมที่ใช้ในการสานตะกร้ามาด้วย การออกแบบลวดลายของตะกร้าขึ้นอยู่กับแบบที่จะทำและระยะเวลาในการทำก็ขึ้นอยู่กับลวดลายที่เราจักสานว่ามีความละเอียดอ่อนมากน้อยเพียงใด ซึ่งได้รายละเอียดดังนี้

ตะกร้าหวายเทียมเป็นการรวมกลุ่มของหมู่ที่ 16 นำโดย นางทองนาค ชะนะนาน

– สินค้าค่อนข้างที่จะขายดีมากเพราะมีความทนทานและละเอียดสวยงามในลวดลาย

– เป็นสินค้าที่ต้องการของตลาด

– ยังไม่มีคนที่สามารถทำโครงตะกร้าได้ จึงต้องซื้อจากจังหวัดเชียงรายโครงตะกร้ามีราคาค่อนข้างที่จะแพง

– ก้นตะกร้าทำมาจากไม้ไผ่ และเส้นหวายได้ แต่เส้นหวายจะมีความแข็งแรงกว่า

– หวายมีปริมาณน้อย ใช้เฉพาะทำโครงเพราะมีความเหนียวและแข็งแรง

– ได้มีการทดลองนำไหลมาใช้แทนหวยเทียมเพราะหวายเทียมมีราคาแพง แต่ปรากฎว่าหวายเทียมจะขาดง่ายสีสันจะไม่สวยงามเหมือนการทำจากหวายเทียม และได้มีการทดลองทำดะกร้าด้วยโยที่ป้าทองนาค ชะนะนานเป็นคนสอนทำตะกร้า และมีตะกร้าอยู่มากมายที่ทำเสร็จแล้วพร้อมที่จะจัดจำหน่ายมให้กับผู้ที่ต้องการซื้อ และในการลงพื้นที่ครั้งนี้ผู้ปฏิบัติงานแต่ละท่านได้ทดลองฝึกทำตะกร้าหวายเทียม โดยมีคุณป้าทองนาค  ชะนะนาน เป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านการทำ

เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานพร้อมด้วยทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลผไทรินทร์ ได้เข้าร่วมประชุมโดยมีอาจารย์ประจำหลักสูตร เป็นคนชี้แจงรายละเอียดการประชุม โดยการประชุมแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม Goolgle meet โดยรายละเอีดการประชุมมีดังนี้ จะมีการเก็บข้อมูลเพิ่มเติมด้วย แบบสอบถาม U2T-SROI ซึ่งมีการกำหนดหัวข้อในการสำรวจ แบ่งออกเป็น 11 หัวข้อ ดังนี้ 1. ตำบลเป้าหมาย 2. ลูกจ้างโครงการ 3. ครอบครัวลูกจ้างโครงการ 4. ชุมชนภายใน 5. ชุมชนภายนอก 6. อาจารย์ผู้ดูแลโครงการ 7. เจ้าหน้าที่โครงการ USI 8. ผู้แทนตำบล 9. หน่วยงานภาครัฐ 10. หน่วยงาน อปท 11. เอกชนในพื้นที่ และอาจารย์ประจำหลักสูตรยังได้แบ่งหัวข้อการในการลงพื้นที่ให้แก่ผู้ปฏิบัติงานทุกๆท่าน ให้มีการสำรวจข้อมูลให้แล้วเสร็จและส่งให้เร็วที่สุด

สรุปการลงพื้นที่

  1. จากการลงพื้นที่ ณ บ้านโคกงิ้วใหม่ หมู่ที่ 16 พบว่าการทำตะกร้าจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการทำประมาณ 1-2 วัน แต่การที่จะทำได้นั้นจะต้องเลือกสีที่เข้ากันในด้านการจักสานด้วยเพื่อให้ได้ความสวยงามเหมาะกับการจำหน่ายได้ง่าย แต่ถ้าหากเลือกสีที่ไม่เข้ากันหวายจะกลืนสีกันเองทำให้ได้ตะกร้าไม่สวย เพราะจุดเด่นของตะกร้านอกจากการใช้งานที่ทนทานอายุยาวนานต้องมีความสวยงามร่วมด้วยจะทำให้น่าใช้มากขึ้น หรืออาจจะทำตามสีที่ลูกค้าต้องการ ซึ่งก็มีหลายรูปแบบมีทั้งขนาด เล็ก กลาง ใหญ่ และราคาแตกต่างกันออกไป นอกจากนี้ผู้ปฏิบัติงานยังได้ทดลองการทำตะกร้าด้วยโดยที่ ป้าทองนาค ชะนะนาน เป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านการทำ
  2. จากการประชุมออนไลน์ผ่านโปรแกรม Goolgle meet ข้าพเจ้าได้รับผิดหัวข้อที่ 2. ลูกจ้างโครงการ ได้ทำการเก็บข้อมูลแบบสอบถาม : โครงการการติดตามประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมโครงการ U2Tแบบสอบถามนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของการดำเนินกิจกรรม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (U2T) โดยในการปฏิบัติหน้าที่ลูกจ้างโครงการครั้งนี้ ท่านได้รับประโยชน์/การเปลี่ยนแปลงในระดับใด ซึ่งข้าพเจ้าได้สำรวจข้อมูลตามแบบฟอร์มที่กำหนดจนแล้วเสร็จในเวลาที่กำหนด
  3. จากที่ข้าพเจ้าได้รับผิดหัวข้อที่ 2. ลูกจ้างโครงการ ได้ทำการเก็บข้อมูลแบบสอบถาม ซึ่งเป็นการสำรวจเกี่ยวกับลูกจ้างโครงการประเภทประชาชน เป็นการสำรวจตามแบบฟอร์ม U2T-SROI และได้นำข้อมูลจากการสำรวจส่งให้อาจารย์ประจำ    ตำบลไผทรินทร์ได้ตรวจสอบ และกรอกลงในระบบในขั้นตอนต่อไป

 

 

 

อื่นๆ

เมนู