หลักสูตร: HS04 โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประจำเดือน ตุลาคม

ข้าพเจ้า นายราเมศ คะเชนทร์กูล ผู้ปฏิบัติงาน ประเภทประชาชน รับผิดชอบการดำเนินงานในเขตพื้นที่ตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์  ได้ดำเนินการลงพื้นที่เพื่อติดตามผลการดำเนินงานในชุมชนในเรื่องการจัดทำโครงตะกร้าจากไม้ไผ่ และการออกแบบลวดลายการสานตะกร้าหวายเทียม ซึ่งมีรายละเอียดการปฏิบัติงานดังต่อไปนี้

ข้าพเจ้าพร้อมด้วยทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลผไทรินทร์  ดำเนินการลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าของการจัดทำโครงตะกร้าจากไม้ไผ่ เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2564 ที่บ้านโคกซาด หมู่ที่1 ตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์  โดยได้สอบถามข้อมูลจากคุณตาสว่าง บึงจันทร์ และคุณตาประเสริฐ สุทธิ ซึ่งเป็นตัวแทนกลุ่มผู้ผลิตเครื่องจักสานของตำบลผไทรินทร์ จากการที่ได้พูดคุยสอบถามด้านการดำเนินงานสรุปผลได้ดังนี้ 1.ด้านวัตถุประสงค์หลักในการจัดทำโครงตะกร้าจากไม้ไผ่ คือ(1.1) เป็นการลดต้นทุนในการทำตะกร้าหวายเทียม (1.2) เป็นการสร้างและพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถของบุคลากรในท้องถิ่นให้มีความหลากหลายมากขึ้น (1.3)เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้อย่างยั่งยืน   2.ด้านอุปกรณ์ในการจัดทำ ณ ปัจจุบันอยู่ในกระบวนการจัดหาเพื่อนำมาใช้ในการดำเนินกิจกรรม และจากการประสานงานคาดว่าจะได้อุปกรณ์มาประมาณปลายเดือนตุลาคม 2564 นี้  3. ด้านบุคลากรในการดำเนินโครงการ จากการเตรียมความพร้อมเบื้องต้นในการลงมือปฏิบัติงานจะเป็นบุคคลากรที่อยู่ในหมู่บ้านโคกซาดทั้งหมด มีจำนวน 5ท่าน ได้แก่ คุณตาสว่าง บึงจันทร์,คุณตาประเสริฐ สุทธิ , คุณตาผล ฝุ่นตะคุ , คุณตาเครื่อง อุดหนองเลา  , คุณตาเคน วงคณิต และจะได้เพิ่มบุคลากรจากหมู่บ้านอื่นๆของพื้นที่ตำบลผไทรินทร์ด้วย  4.ด้านการเตรียมความพร้อมของวิธีการผลิต ได้มีการทดลองวิธีการเพิ่มเติม โดยคุณตาสว่าง บึงจันทร์ ได้เหลาไม้ไผ่แล้วทำการโค้งงอเพื่อดูลักษณะการทรงตัวการเข้ารูปของไม้ไผ่และพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการจัดทำพร้อมทั้งศึกษาปัญหาจากการทดลอง  ส่วนคุณตาประเสริฐ สุทธิ ได้เสริมเรื่องวิธีการนวดไม้ไผ่ เพื่อช่วยในการโค้งตัวโดยใช้ความร้อนช่วยให้ไม้ไผ่เกิดการยืดและอ่อนตัวเพื่อให้สามารถโค้งงอได้ง่ายขึ้น และท่านยังได้แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมด้วยว่า หากในชิ้นส่วนที่มีการโค้งงอมากจริงๆ ซึ่งไม้ไผ่ไม่สามารถทำได้ก็จะทำการผสมผสานโดยใช้หวายแท้เข้ามาเป็นส่วนประกอบเพิ่มด้วย พร้อมกันนี้คุณตาสว่าง บึงจันทร์ ยังได้พูดถึงเรื่องเกี่ยวกับอยากทำผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ให้มีความหลากหลายมากขึ้น ซี่งข้าพเจ้าจึงได้แนะนำข้อมูลเบื่องต้นโดยให้ศึกษาผ่านช่องทาง You Tube เพื่อดูตัวอย่างผลิตภัณฑ์ของ อาจารย์กรกต อารมณ์ดี ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่เป็นอย่างดี   ทั้งนี้ข้าพเจ้าได้สอบถามถึงปัญหาที่คาดว่าน่าจะเกิดในระหว่างกระบวนการผลิตและความต้องการของกลุ่มผู้ผลิตเครื่องจักสาน มีรายละเอียดดังนี้ 1.ปัญหาด้านบุคลากร ที่อาจจะไม่พร้อมเพรียงกันระหว่างการผลิต เช่นการติดธุระส่วนตัว 2. ปัญหาด้านของวัตถุดิบจำนวนของไม้ไผ่ที่อาจจะไม่เพียงพอ, คุณสมบัติเฉพาะตัวของไม้ไผ่ที่แตกง่ายและดัดยาก ,ศัตรูทางธรรมชาติของไม้ไผ่ ได้แก่ตัวมอดเจาะไม่ไผ่ที่อาจสร้างความเสียหายให้กับไม้ไผ่ก่อนการผลิตได้ 3.ด้านความต้องการของกลุ่มผู้ผลิตที่อยากให้มีบุคลากรที่มีความรู้ในด้านผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ให้เข้ามาสอนงานหรือแนะนำวิธีในการทำงานที่ถูกต้องอีกทั้งยังเป็นการป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างกระบวนการผลิตได้อีกทางหนึ่งด้วย

ในด้านการติดตามผลการออกแบบลวดลายตะกร้าหวายเทียมเพิ่มเติม ข้าพเจ้าพร้อมด้วยทีมผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการดำเนินเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2564 ที่บ้านโคกงิ้วใหม่ หมู่ที่16 ตำบลผไทรินทร์  อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ทำการสอบถามคุณป้าทองนาค ชนะนาน ถึงเรื่องการออกแบบลวดลายตะกร้าหวายเทียมเพื่อให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า สรุปรายละเอียดได้ดังนี้ 1.การสั่งซื้อโครงตะกร้าให้ตรงกับความต้องการของลูกค้ารูปแบบของโครงตะกร้าจะมีหลายแบบแต่ที่ลูกค้านิยมคือแบบทรงสีเหลี่ยมและทรงกลม  2.สีของหวายเทียมจะสั่งตามความต้องการของลูกค้าและมีการใช้ข้อมูลการจับคู่โทนสีจากเอกสารที่ทีมผู้ปฏิบัติงานได้นำไปให้เพื่อศึกษาเมื่อคราวที่แล้ว นำมาช่วยในการตัดสินใจได้เพิ่มเติมอีกทางหนึ่งด้วย  3.ลวดลายการสานจะเพิ่มลวดลายที่แปลกใหม่มากขึ้นโดยศึกษาข้อมูลจากสื่อออนไลน์ เช่น goolgle , เพจการขายตะกร้า  ในด้านของปัญหาที่พบจากการสั่งซื้อวัตถุดิบโครงตะกร้าเพื่อใช้ในการจัดทำแต่ละรอบ จะไม่ได้รับตามความต้องการในทันที ต้องรอตามลำดับการสั่งซื้อก่อน-หลัง  สีของหวายเทียมในบางครั้งอาจจะไม่ได้ตามสีที่ต้องการเนื่องจากสินค้าหมด ซึ่งจากปัญหาที่กล่าวมาจะส่งผลให้เกิดการสูญเสียโอกาสในการผลิตและการขายสินค้าได้ แนวทางแก้ไขปัญหาเบื้องต้น ก่อนการสั่งซื้อต้องวางแผนเรื่องวันที่ต้องการ  สีของหวายเทียมควรเลือกสีสำรองไว้1-2สี หากไม่มีสีที่ต้องการ

สรุปผลการลงพื้นที่ ตำบลผไทรินทร์ ประจำเดือน ตุลาคม

จากการลงพื้นที่และได้พูดคุยปรึกษาหารือร่วมกับตัวแทนกลุ่มเพื่อติดตามความคืบหน้าของการจัดทำโครงตะกร้าจากไม้ไผ่ ถึงวิธีการทำงานและปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการผลิต ที่มีการเตรียมความพร้อมก่อนการผลิตในหลายๆด้านอาทิเช่น ด้านการเตรียมอุปกรณ์สำหรับใช้ในการผลิต  ด้านบุคคลากรที่จะเข้ามาร่วมดำเนินงานในกระบวนการทำงาน ด้านวัตถุดิบ ด้านวิธีการในการปฏิบัติงาน มีการใช้วัสดุที่มีอยู่ในชุมชนมาทดลองทำงานเพื่อศึกษาถึงลักษณะความเป็นไปได้  การเข้ารูป การทรงตัว รวมถึงวิธีการแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการปฏิบัติงาน เพื่อให้เป็นแนวทางในการดำเนินงานในเบื้องต้นและการแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที ซึ่งทางตัวแทนกลุ่มต้องการผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับการทำงานจากผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่เข้ามาสอนวิธีการทำงาน การป้องกันปัญหา  แนะนำเทคนิคต่างๆเพื่อให้สามารถทำให้ผลของการดำเนินงานเป็นไปตามความต้องการและประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

อื่นๆ

เมนู