ข้าพเจ้า นางสาวศกลวรรณ บุญจูง ผู้ปฏิบัติงานประเภทบัณฑิตจบใหม่ ปฏิบัติงานในเขตพื้นที่ตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2564 เวลา 09.00 น. ได้ทำการลงพื้นที่ปฏิบัติงานที่บ้านโคกซาด ได้ทำการติดตามการทำโครงตะกร้าจากไม้ไผ่ เนื่องจากชาวบ้านมีความเห็นว่าควรที่จะผลิตโครงตะกร้าจากไม้ไผ่ด้วยตนเอง เพื่อลดต้นทุนในการนำเข้าของสินค้า ทีมปฏิบัติงานได้ให้คำแนะนำในการหาวัสดุอุปกรณ์ และสอบถามถึงปัญหาของการทำในการทำโครงตะกร้าจากไม้ไผ่ จากการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลชาวบ้านมีความต้องการวิทยากรมาให้คำแนะนำในการออกแบบโครงตะกร้า โดยทางทีมปฏิบัติงานรับทราบข้อมูลและจะนำไปพิจารณาหาวิทยากรที่จะสอนทำโครงตะกร้าเพื่อให้ตรงกับความต้องการของชาวบ้าน

วันที่ 5 ตุลาคม 2564 เวลา 09.00 น. ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่บ้านโคกงิ้ว เพื่อไปติดตามการทำตะกร้าหวายเทียมและเรียนรู้การสานตะกร้า โดยทีมผู้ปฏิบัติงานได้ทดลองลงมือสานตะกร้าด้วยตัวเอง จากการลงพื้นที่นั้นได้ทราบถึงปัญหาจากกลุ่มผู้ที่สานตะกร้าเรื่องการนำเข้าของโครงตะกร้า เนื่องจากทางกลุ่มจักสานไม่สามารถทำโครงตะกร้าได้เอง และโครงตะกร้านั้นทำมาจากหวายซึ่งมีราคาค่อนข้างสูง หากนำไปขายทำให้ได้กำไรน้อยและไม่คุ้มค่ากับแรงงาน ดังนั้นทางกลุ่มจักสานได้ทำการปรึกษากับทีมผู้ปฏิบัติงานว่าหากสามารถทำโครงตะกร้าได้เองก็จะเป็นการลดต้นทุนและเพิ่มกำไรให้กลุ่มจักสานตะกร้าหวายเทียม

วันที่ 8 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าพร้อมด้วยทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลผไทรินทร์ ได้เข้าร่วมประชุมกับอาจารย์ประจำหลักสูตรผ่าน Google Meet โดยอาจารย์ได้ชี้แจงรายละเอียดและมอบหมายงานให้ทีมผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบสอบถามโครงการการติดตามประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมโครงการ U2T โดยแบ่งทีมที่รับมอบหมายงานเป็น 11 ทีม ได้แก่ 1.ตำบลเป้าหมาย  2.ลูกจ้างโครงการ 3.ครอบครัวลูกจ้างโครงการ 4.ชุมชนภายใน 5.ชุมชนภายนอก 6.อาจารย์ผู้ดูแลโครงการ 7.เจ้าหน้าที่โครงการ USI  8.ผู้แทนตำบล  9.หน่วยงานภาครัฐ 10.หน่วยงาน อปท  11.เอกชนในพื้นที่ โดยข้าพเจ้าได้รับมอบหมายงานให้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบสอบถามตามข้อที่ 11 เอกชนในพื้นที่ ตามที่อาจารย์ได้มอบหมาย ข้าพเจ้าได้เลือกเก็บข้อมูลแบบสอบถามที่ หจก. หนองหัวช้างเคหะ และมีคุณรัตนาพร ชาญชาติ(เจ้าของธุรกิจ) เป็นผู้ให้ข้อมูล จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลนครั้งนี้เพื่อสอบถามถึงปัญหาและความต้องการที่จะให้มีการพัฒนาอาชีพของคนในชุมชนอย่างไรบ้าง โดยทางห้างร้านเอกชนนั้นเห็นด้วยที่ได้มีการนำเอาอาชีพใหม่เข้ามาเพื่อเป็นอาชีพเสริมให้คนในชุมชนสร้างรายได้ และในส่วนของทีมผู้ปฏิบัติงานเองนั้นจะทำการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลและความต้องการของชาวบ้านในชุมชนต่อไป และนำเอาข้อมูลตรงนี้ไปปรึกษากับทางอาจารย์เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาอาชีพของคนในชุมชนอีกต่อไป

สรุปผลจากการลงพื้นที่ที่บ้านโคกซาดและบ้านโคกงิ้วนั้น เพื่อแนะนำและสอบถามปัญหาในการทำโครงตะกร้าจากไม้ไผ่และสานตะกร้าจากหวายเทียม โดยทั้ง 2 หมู่บ้านนั้นมีปัญหาอย่างเดียวกันคือวัสดุในการทำตะกร้านั้นมีราคาค่อนข้างสูง ชาวบ้านจึงขอคะแนะนำในการที่จะจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการทำตะกร้าเองเพื่อลดต้นทุนของการผลิต จากการลงพื้นที่ในครั้งนี้ข้าพเจ้ามีความประทับใจอย่างยิ่งที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในทีมปฏิบัติงาน ที่จะพัฒนาทักษะฝีมือและสร้างอาชีพให้คนในชุมชนได้มีรายได้เสริมจากการทำการเกษตรและผลักดันผลิตภัณฑ์จากชุมชนสู่ตลาดให้เป็นที่รู้จากมากขึ้น และข้าพเจ้ายังได้ร่วงลงมือสานตะกร้าด้วยตนเองโดยมีคำแนะนำจากผู้เชียวชาญในการสานตะกร้า ซึ่งในการสานตะกร้านั้นค่อนข้างยากและในเวลานานในการผลิตเพราะเป็นงานฝีมือที่มีความประณีตและยังมีลวดลายที่สวยงามจึงทำให้มีราคาสูง แต่ก็ยังคงเป็นที่ต้องการของตลาด ทางทีปฏิบัติงานจึงได้หารือกันว่านอกจากจะส่งผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาดแล้วยังจะเพิ่มการขายผ่านช่องทางออนไลน์ที่เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการเพิ่มรายได้ให้ชุมชน

ภาพกิจกรรมลงพื้นที่ประจำเดือนตุลาคม

                                  

               

 

วิดีโอการจัดกิจกรรม ต.ผไทรินทร์ อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์

อื่นๆ

เมนู