หลักสูตร: HS04 โครงการยกระดับเศรษฐกิจ และสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประจำเดือนตุลาคม 2564

           ข้าพเจ้า นางสาวศศิวรรณ นาคศรี ผู้ปฏิบัติงานประเภทนักศึกษา ตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เริ่มดีขึ้น ทางผู้ปฏิบัติงานตำบลผไทรินทร์ได้เร่งดำเนินการลงพื้นที่เพื่อติดตามผลการสานตะกร้าจากไม้ไผ่ เพื่อทราบปัญหาและดำเนินการช่วยเหลือให้เร็วที่สุด

           เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานในตำบลผไทรินทร์ลงพื้นที่ปฏิบัติงาน ณ หมู่ 1 บ้านโคกซาด ตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อติดตามความคืบหน้าการจัดทําโครงตะกร้าจากไม้ไผ่ ได้เรียนรู้ขั้นตอนและวิธีการทำจากคุณตาสว่าง บึงจันทร์ และ คุณตาประเสริฐ สุทธิ จึงได้ทราบปัญหาในการผลิตเบื้องต้นคือวัสดุอุปกรณ์ไม่เพียงพอต้องใช้งบประมาณเพิ่มเติมในการเตรียมความพร้อมก่อนการผลิต อาธิ โครงเหล็กในการสร้างตะกร้า ไม้ไผ่ในชุมชนอาจไม่พอเพียง ทางชุมชนจึงแก้ปัญหาเบื้องต้นโดยการนำไม้ไผ่จากในชุมชนและชุมชนใกล้เคียงมาใช้ และทางชุมชนต้องการความรู้จากผู้เชี่ยวชาญในด้านการสร้างลายของตะกร้าเพื่อให้สามารถพัฒนาให้โดดเด่น และอยากได้เทคโนโลยีมาช่วยในการจักสานเพื่อช่วยทุ่นแรง และลดระยะเวลาในกระบวนการผลิต

           วันที่ 8 ตุลาคม 2564 เวลา 14:00 – 16:00 น. ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานร่วมกับอาจารย์ ประจำตำบลผไทรินทร์เข้าร่วมการประชุมออนไลน์ผ่านระบบ Google meet ซึ่งอาจารย์ประจำตำบลได้ชี้แจงถึงเรื่องการดําเนินการเก็บข้อมูลตามแบบสอบถามโครงการติดตามประเมินผล กระทบทางเศรษฐกิจและสังคมโครงการ U2T-SROI โดยมีกลุ่มเป้าหมายในการสํารวจ 11 กลุ่ม ซึ่งข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้ดําเนินการเก็บขอมูล กลุ่มเป้าหมายที่ 2 รูปแบบลูกจ้างโครงการ ซึ่งเป็นแบบสอบถามเพื่อวิเคราะห์และประเมินประโยชน์/ผลกระทบในการเปลี่ยนแปลงก่อนและหลังการปฏิบัติงานภายใต้โครง U2T ทางเศรษฐกิจและสังคมของการดำเนินกิจกรรมของผู้ปฏิบัติงานในรายตำบลผไทรินทร์

           วันที่ 11 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าได้ดำเนินการกรอกข้อมูลลงในแบบฟอร์มที่ได้รับ มอบหมายของกลุ่มเป้าหมายที่ 2 ซึ่งเป็นการตอบแบบสอบถามของผู้ปฏิบัติงานรายบุคคล ซึ่งมี 6 ส่วนในการตอบ ได้แก่ ส่วนที่ 1 ส่วนของหน้าที่ได้รับมอบหมาย ส่วนที่ 2 ผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านศักยภาพหลังการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ปฏิบัติงาน ส่วนที่ 3 ผลกระทบที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและการเงินของผู้ปฏิบัติงาน ส่วนที่ 4 การเปลี่ยนแปลงด้านเครือข่ายและภาคีในการมีส่วนร่วมกับชุมชน ตำบล จังหวัด มหาวิทยาลัย ส่วนที่ 5 การเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาวะ ด้านกายและใจ และส่วนที่ 6 การปฏิบัติหน้าที่หรือดำเนินกิจกรรมภายใต้กิจกรรม U2T ส่งผลให้เกิดผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงด้านความเป็นอยู่สังคมและสิ่งแวดล้อม โดยข้าพเจ้าได้ตอบตามความเป็นจริงเพื่อประโยชน์ในการพัฒนารูปแบบโครงการต่อไป และส่งต่อให้อาจารย์ประจำตำบลได้ทำการกรอกข้อมูลลงระบบ

           วันที่ 15 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าได้อบรมทักษะด้านดิจิตอล ผ่านระบบออนไลน์ lms.thaimooc.org ในรายวิชาไมโครซอฟท์ เพาเวอร์พอยต์ (โปรแกรมนำเสนอชิ้นงาน) Microsoft PowerPoint รหัสวิชา MICROSOFT004 จำนวน 2 ชั่วโมง และด้านสังคม ในรายวิชาภูมิปัญญาท้องถิ่น “ว่าวเบอร์อามัส” Local Wisdom of Kite “BERAMAS” รหัสวิชา PNCC001 จำนวน 5 ชั่วโมง ซึ่งการอบรมทั้ง 2 ด้านที่กล่าวมาสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในการดำเนินกิจกรรมติดตามผลการสานตะกร้าได้ ทั้งด้านเทคโนโลยีที่สามารถนำมาออกแบบลวดลายให้ชาวบ้านได้เรียนรู้จากสื่อและการทำว่าวสามารถประยุกต์ไม้ไผ่เพื่อทำการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆที่น่าสนใจต่อไป

           ซึ่งการลงพื้นที่ในเดือนตุลาคม สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เริ่มเบาบาง ลง สามารถลงพื้นที่ได้มากขึ้น แต่เรายังปฏิบัติตามมาตรการป้องกันอย่างเคร่งครัด ซึ่งการลงพื้นที่ในแต่ละครั้ง ทางตำบลผไทรินทร์จะประชุมล่วงหน้าผ่านออนไลน์ทุกครั้ง เพื่อแบ่งหน้าที่การลงช่วยลดการรวมตัวเป็นกลุ่มคนจำนวนมาก และทางผู้ปฏิบัติงานของตำบลผไทรินทร์จะดำเนินการติดตามผลจนประสบความสำเร็จสามารถนำชุมชนเป็นชุมชนผลิตภัณฑ์ OTOP ต่อไป

อื่นๆ

เมนู