หลักสูตร : HS04 โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประจำเดือนพฤศจิกายน

วันที่ 25 ตุลาคม 2564 ดิฉันและทีมงานผู้ปฏิบัติงานตำบลผไทรินทร์ ได้เข้าร่วมการอบรมเพื่อพัฒนาสินค้าขายออนไลน์ ในการอบรมครั้งนี้มีคุณปัณณทัต สระอุบล มาเป็นวิทยากร โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการขยายตลาดในออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ เช่น การตลาดออนไลน์ (Content marketing) เป็นกระบวนการทำการตลาดด้วยการสร้างเนื้อหาและเผยแพร่บนโซเชียลมีเดีย ซึ่งเข้าถึงผู้คนจำนวนมาก และตรงตามเป้าหมายที่ต้องการ ไม่ว่าผู้คนจะอยู่ที่ไหนก็สามารถรับรู้ถึงข้อมูลที่ต้องการจะสื่อได้ และได้รู้ถึงวิวัฒนาการการตลาดแต่ละยุคสมัย

วันที่ 26 ตุลาคม 2564 ดิฉันและทีมงานได้แบ่งกลุ่มเป็นจำนวน 4 คนเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในจัดทำเอกสารวัตถุผลิตภัณฑ์ชุมชน ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้ทำการลงพื้นที่บ้านเลขที่ 103 บ้านโคกงิ้วใหม่ หมู่ 16 ตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีผู้ให้ข้อมูลคือคุณป้าทองนาค ชนะนาน เป็นผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ตะกร้าหวายเทียม ทั้งลักษณะและตัวโครงตะกร้า ซึ่งเป็นหวายแท้เส้นตั้งเป็นไม้ไผ่เส้นที่ใช้สานรอบตัวตะกร้าเป็นหวายเทียม มีรูปทรง 5 แบบ คือ สี่เหลี่ยมห้า เหลี่ยมแปด เหลี่ยมทรงกลม เหลี่ยมทรงกลมและทรงวงรี จำนวนลายที่ใช้ทำตอนนี้ มีจำนวน 6 ลาย คือ ลายหัวใจ ลายไทย ลายนก ลายดอกไม้ ลายหงส์และลายตัวอักษร

วันที่ 28 ตุลาคม 2564 ดิฉันและทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลผไทรินทร์ได้เข้าร่วมการเสวนาออนไลน์ผ่านระบบ ZOOM ในหัวข้อ “จตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน” ซึ่งมีวิทยากรมาให้ความรู้จำนวน 5ท่าน  ได้แก่ 1.นายสุพจน์ สวัสดิ์พุทรา นายกเทศมนตรีตำบลอิสาน 2.ผศ.ดร.ประสาท เนื่องเฉลิม มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 3.นายณัชอิสร์ ศรีสุขพรชัย ประธานหอการค้าจังหวัดบุรีรัมย์ 4.นายคำเดื่อง ภาษี ประธานกลุ่มปราชญ์ชาวบ้าน จังหวัดบุรีรัมย์  5.รศ.ดร.อัครพนธ์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ซึ่งในการประชุมได้บอกถึงแนวความคิดด้านการขับเคลื่อนชุมชน การมีส่วนร่วมของชุมชนในทุกภาคส่วนให้เข้ามาพัฒนาร่วมกัน การสร้างชุมชนสามัคคี การทำความเข้าใจกับผู้คนที่อยู่ในชุมชน การพัฒนาที่อาจต้องใช้ความสนิทสนมส่วนตัวด้วย การปรับตัวปรับความคิด การเรียนรู้คู่บริการหรือเรียนรู้โดยชุมชน เพื่อหาประเด็นปัญหาที่เป็นสภาพจริงของชุมชน และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และหาทางแก้ไขให้กับชุมชน ให้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้โดยมีมหาวิทยาลัยเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ในด้านแนวคิดเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนจตุรภาคีสี่ประสาน เชื่อมทั้งสี่ประสานเข้าด้วยกัน เพื่อให้การดำเนินงานประสบผลสำเร็จ

วันที่ 30 ตุลาคม 2564 ดิฉันและทีมงานผู้ปฏิบัติงานตำบลผไทรินทร์ได้ทำการลงพื้นที่หมู่บ้านในตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องของการทำเครื่องจักสาน และเก็บข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องของแหล่งท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร เกษตรกร พืช สัตว์ แหล่งน้ำ ภูมิปัญญาในท้องถิ่นและผู้ที่ย้ายกลับบ้านเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19

สรุปการทำงานในเดือนพฤศจิกายน เข้าร่วมการอบรมเพื่อพัฒนาสินค้าขายออนไลน์ โดยมีคุณปัณณทัต สระอุบล มาเป็นวิทยากร โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการขยายตลาดในออนไลน์ ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพื่อนำไปจัดทำเอกสารวัตถุผลิตภัณฑ์ชุมชน เข้าร่วมการเสวนาออนไลน์ผ่านระบบ ZOOM ในหัวข้อ “จตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน” และเก็บข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องของการทำเครื่องจักสาน และเก็บข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องของแหล่งท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร เกษตรกร พืช สัตว์ แหล่งน้ำ ภูมิปัญญาในท้องถิ่นและผู้ที่ย้ายกลับบ้านเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19

         

 

 

อื่นๆ

เมนู