หลักสูตร: HS04 โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประจำเดือน พฤศจิกายน 2564

           ข้าพเจ้านายชุตินันท์ จันกลิ่น ผู้ปฏิบัติงาน ประเภทบัณฑิตนักศึกษา ได้ทำการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จักสานตะกร้าหวาย ของประชาชนในพื้นที่ตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นให้แก่ชุมชน สร้างมูลค่าและรายได้ให้แก่ชุนชน

วันที่ 25 ตุลาคม 2564 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงาน ได้เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการนักสื่อความหมายผลิตภัณฑ์ การเขียนโฆษณา เขียนเนื้อหาสินค้า และพัฒนาสื่อออนไลน์ เพื่อยกระดับการท่องเที่ยว และเพื่อพัฒนาสินค้าขายออนไลน์ โดยมีคุณปัณณทัต สระอุบล วิทยากรให้ความรู้ในครั้งนี้ ในการประชุมดังกล่าววิทยากรได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการตลาดออนไลน์ วิธีการเผยแพร่สินค้าลงโซเซียลมีเดียตามกลุ่มเป้าหมาย ด้วยการสร้างเนื้อหาและเผยแพร่บนโซเชียลมีเดีย เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่ต้องการ

วันที่ 26 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าได้ทำการลงพื้นที่เก็บข้อมูล cbd  ณ หมู่ 15 บ้านสำโรงใหม่ ตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยข้าพเจ้าได้ไปเก็บข้อมูลในบริเวณหมู่บ้าน เช่น ร้านค้าในหมู่บ้าน พืช สัตว์ แหล่งน้ำ และแหล่งท่องเที่ยว ในส่วนของแหล่งท่องเที่ยวข้าพเจ้าได้ลงสำรวจที่ปราสาทบ้านสำโรง ซึ่งเป็นปราสาทที่ยังไม่ได้รับการบูรณะ มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นปกคลุม สภาพพังทลายและถูกดินทับถมตามกาลเวลา มีลักษณะเป็นโคกกลางท้องนา

วันที่ 27 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าได้ทำการลงพื้นที่สอบถามการทำและสร้างลวดลายของตะกร้าหวาย จากคุณเสงี่ยม ดวงพินิจ ณ บ้านเลขที่ 48 หมู่ 7 ตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยคุณเสงี่ยมได้บอกลักษณะของตะกร้าและลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ของตะกร้าคือลายดอกทานตะวัน ลักษณะประกอบด้วย ขนาดของตะกร้าจะอยู่ที่ความสูง 12 นิ้ว กว้าง 24 นิ้ว และน้ำหนักประมาณ 300 กรัม ลักษณะจะเป็นสี่เหลี่ยมกับแปดเหลี่ยม และวัสดุที่ใช้คือ หวาย หวายเที่ยม ตะปูเข็ม แล็กเกอร์ และดอกไม้ประดิษฐ์

วันที่ 28 ตุลาคม 2564 เวลา 9.00 น -12.00 น. ผ่านระบบ ZOOM ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมการเสวนาจตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน (Quadruple Helix) โดยศูนย์ประสานงานชุมชนสัมพันธ์ HUSOC คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยมี รศ.มาลิณี จุโฑปะมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นประธานเปิดโครงการเสวนา และ อาจารย์ชมพู อิสริยาวัฒน์ รองคณบดีฝ่ายพันธกิจชุมชนสัมพันธ์และภูมิทัศน์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินการเสวนา มีวิทยากรผู้ร่วมเสวนา 5 ท่าน ประกอบด้วย นายสุพจน์ สวัสดิ์พุทรานายกเทศมนตรีตำบลอิสาน ผศ.ดร.ประสาท เนื่องเฉลิม มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นายณัชอิสร์ ศรีสุขพรชัย ประธานหอการค้าจังหวัดบุรีรัมย์ นายคำเดื่อง ภาษี ประธานกลุ่มปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดบุรีรัมย์ และ รศ.ดร.อัครพนธ์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

สรุปผลการปฏิบัติงาน

1.ข้าพเจ้าได้ความรู้จากการเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการนักสื่อความหมายผลิตภัณฑ์ การเขียนโฆษณา เขียนเนื้อหาสินค้า และพัฒนาสื่อออนไลน์ เพื่อยกระดับการท่องเที่ยว และเพื่อพัฒนาสินค้าขายออนไลน์ และได้เรียนรู้วิธีการเผยแพร่สินค้าลงโซเซียลมีเดียตามกลุ่มเป้าหมาย ด้วยการสร้างเนื้อหาและเผยแพร่บนโซเชียลมีเดีย เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่ต้องการ

2.ข้าพเจ้าได้ความรู้จากประชุมเสวนาออนไลน์การเสวนาจตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน (Quadruple Helix) ได้รับความรู้หลายด้าน เช่น ด้านความสามัคคีในชุมชนการมีส่วนร่วมในชุมชน การพัฒนาสังคม ด้านการศึกษา ด้านเทคโนโลยี ด้านเศรษฐกิจ ปัญหาของชุมชน ด้านแนวคิด การปรับตัวให้ทันยุคสมัย และการอยู่แบบพอเพียง

3.ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่ติดตามลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลการสานตะกร้าหวาย และเก็บข้อมูลบันทึกลงในแบบฟอร์ม จากนั้นได้เก็บข้อมูล cbd เพิ่มเติมตามแผนที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้การปฏิบัติงานสำเร็จลุล่วงไปโดยดี ถ้าขาดผู้ปฏิบัติงานคนใดคนหนึ่งไป งานหรือกิจกรรมอาจไม่ประสบผลสำเร็จได้ ทั้งนี้ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มที่และความความสามารถ เพื่อนำพาตำบลผไทรินทร์ก้าวหน้าสู่สากลต่อไป

 

อื่นๆ

เมนู