หลักสูตร: HS04 โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประจำเดือน พฤศจิกายน 2564
เนื่องด้วยในวันที่ 25-26 ตุลาคม พ.ศ.2564 ข้าพเจ้านางสาว นวลพรรณ แบบรัมย์ ผู้ปฏิบัติงานประเภทนักศึกษา และร่วมด้วยผู้ปฏิบัติงานประเภทบัณฑิตและประชาชนรวมถึงคณะอาจารย์ผู้ดูแลประจำตำบล ได้ร่วมดำเนินกิจกรรมลงพื้นที่ในตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อลงพื้นที่ทำกิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ การอบรมเพื่อพัฒนาสินค้าขายออนไลน์ และการเฝ้ากำกับติดตามการฉีดวัคซีน ภายในพื้นที่ และรายละเอียดในการดำเนินกิจกรรมมีดังนี้ ซึ่งในกิจกรรมได้รับเกียรติจาก คุณ ปัณณทัต สระอุบล ซึ่งเป็นนักการตลาดออนไลน์มาเป็นวิทยากรดำเนินกิจกรรมในครั้งนี้ และได้มอบความรู้เกี่ยวกับด้านการตลาดและการตลาดสมัยใหม่ (Online Marketing) เพื่อให้กลุ่มประชาชนในท้องถิ่นที่ทำตะกร้าจักสานและรวมถึงผู้ปฏิบัติงานนำไปต่อยอดในการผลิตและขายสินค้าให้ได้ประสิทธิภาพ อีกทั้งท่านวิทยากรได้บรรยายถึงความหมายของสัมมาชีพชุมชน เพื่อให้ตัวผู้ขายสินค้าเองเข้าใจความหมายของการประกอบอาชีพโดยชอบ และมีรายรับมากกว่ารายจ่าย ซึ่งเป็นการลดการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นรวมถึงสิ่งแวดล้อม แต่อย่างไรก็ตามก็ยังคงต้องจำเป็นที่ต้องสอดคล้องกับวิถีชุมชนเพื่อความมุ่นหมายในการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน และท่านวิทยากรได้บรรยายถึงการวิเคราะห์ตลาด กลุ่มเป้าหมาย ส่วนประสมของตลาด (Marketing Mix) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า องค์ประกอบสำคัญในการดำเนินการตลาด การวางกลยุทธ์ในการขายทั้ง 4P ได้แก่ 1.Product หมายถึง สินค้าหรือบริการที่ธุรกิจสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งแน่นอนว่าตัวสินค้าต้องเป็นสิ่งที่สามารถจับต้องได้ 2.Price หมายถึง ราคา แต่ในความหมายที่แท้จริงแล้วนั่นก็คือการที่ลูกค้าหรือผู้บริโภคต้องจ่ายเพื่อแลกกับการได้สินค้าหรือบริการ ซึ่งบางครั้งอาจจะไม่ได้หมายถึงแค่เงิน อาจเป็นเวลาการทำบางอย่างเพื่อแลกตัวสินค้ามานั่นเอง 3.Place คือช่องทางที่ลูกค้าจะสามารถเข้าถึงตัวสินค้าหรือผลิตภัณฑ์และบริการได้ หรือในแง่หนึ่งสามารถมองได้ว่าการจัดจำหน่ายหรือช่องทางการขายสินค้านั่นเอง และท้ายสุด 4.Promotion คือการสื่อสารการตลาดที่เกิดขึ้นเพื่อทำให้ตัวธุรกิจนั้นสามารถสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายและนำไปสู่การโน้มน้าวให้กลุ่มเป้าหมายซื้อสินค้าหรือบริการ เป็นต้น
ถัดมาภายในวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ.2564 ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมการอบรมออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันระบบ Zoom ภายใต้หัวข้อเรื่อง “ Quadruple Helix:จตุรภาคีสี่ประสาน สู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน “ ซึ่งได้รับเกียรติจาก รศ.มาลิณี จุโฑปะมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นประธานเปิดพิธีในโครงการ และมีพิธีกรดำเนินงานช่วงต้นคือ อ.คัมภีรภาพ หลังจากนั้นได้ส่งมอบหน้าที่ดำเนินงานให้กับ อ.ชมพู อิสริยาวัฒน์ รองคณะบดีฝ่ายพันธกิจชุมชน เป็นพิธีกรหลัก และได้รับเกียรติจากวิทยากรอีก 5 ท่านมาบรรยายในการดำเนินกิจกรรมนี้ ได้แก่ 1.ท่านนายก นายสุพจน์ สวัสดิ์พุทรา นายยกเทศมนตรีตำบลอิสาน 2. รศ.ดร. ประสาท เนืองเฉลิม 3.นาย ณัชอิสร์ ศรีสุขพรชัย ประธานหอการค้าจังหวัดบุรีรัมย์ 4. นาย คำเดื่อง ภาษี ซึ่งท่านเป็นประธานกลุ่มปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดบุรีรัมย์ และ 5. รศ.ดร. อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นต้น ซึ่งรายละเอียดในการอบรมมีดังนี้ เสวนาถึงเรื่องการขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนและมีการพัฒนาส่วนรวม และในการพัฒนาบางครั้งอาจจะพัฒนาได้ค่อนข้างมีอุปสรรคเพราะภายในชุมชนนั้นมีประชาชนแต่ประเภทต่างกัน อาทิเช่น ผู้สูงอายุ ข้าราชการ ประชาชนทั่วไป เป็นต้น ซึ่งแต่ละประเภทอาจจะมีความคิดที่หลากหลาย และในการทำงานก็ต้องลงชุมชนเพื่อเข้าไปพัฒนา และจำเป็นต้องพูดคุยกับประชาชนให้เข้าใจในจุดประสงค์ที่จะพัฒนาชุมชนสิ่งแวดล้อมยั่งยืน และท่านวิทยากรได้บรรยายถึงเรื่องในด้านธุรกิจ อุตสาหกรรม จำเป็นต้องตามโลกให้ทัน และปรับเปลี่ยนความคิดเป้าหมายตามสถานการณ์ แนวทางการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าด้วยตนเอง การอยู่บนโลกของความเป็นจริง โน้มน้าวการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และการช่วยเหลือพึ่งพาซึ่งกันและกันในสถานการณ์คับขัน เป็นต้น
และวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานระเภทนักศึกษาอีกหนึ่งท่านได้ร่วมลงพื้นที่ตามที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งข้าพเจ้าได้รับมอบหมายเก็บข้อมูลเพิ่มเติม CBD สืบเนื่องจากเดือนที่ผ่านมา ข้าพเจ้ารับผิดชอบดำเนินการรวบรวมข้อมูลของหมู่ที่ 19 บ้านผไทรินทร์พัฒนา ตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อดำเนินการบันทึกข้อมูลลงในระบบ U2T ให้แล้วเสร็จ และการลงพื้นที่ดำเนินงานในครั้งนี้ ข้าพเจ้าได้พยายามเก็บข้อมูลในแต่ละหัวข้อให้ได้มากที่สุด อาทิเช่น สัตว์ในท้องถิ่น พืชในท้องถิ่น และรวมถึงร้านค้าภายในชุมชนของหมู่ที่ 19 เป็นต้น ซึ่งจากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติมพบว่าภายในพื้นที่ที่ข้าพเจ้าได้รับผิดชอบนั้น ส่วนใหญ่จะพบข้อมูลที่เป็นเกี่ยวกับสัตว์ท้องถิ่น พืชและแหล่งน้ำ ไม่พบโรงแรมหรือสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ภายในพื้นที่ ซึ่งจากข้อมูลนั้นข้าพเจ้าเล็งเห็นถึงความเป็นอยู่ในพื้นที่ที่ประชาชนอาศัยอยู่กันอย่างวิถีชีวิตชนบทและพึ่งพาอาศัยกัน หากมีร้านค้าก็เป็นร้านค้าขนาดเล็กเพื่อขายผักหรืออาหารเป็นส่วนใหญ่
สรุปผลการดำเนินกิจกรรมภายในเดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2564 อย่างที่ทราบกันดีว่าสถานการณ์โควิด-19ค่อนข้างระบาดหนักในช่วงต้นแต่คณะอาจารย์รวมถึงผู้ปฏิบัติงานทุกท่านร่วมมือกันและแลกเปลี่ยนความคิด ช่วยกันดำเนินทุกกิจกรรมอย่างไม่ประมาท ส่งผลให้กิจกรรมแล้วเสร็จสิ้นไปด้วยดี ถึงอย่างไรหากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เริ่มดีขึ้นแล้ว ทางคณะอาจารย์ก็อาจจะมอบหมายให้ดำเนินการลงพื้นที่ร่วมกันอย่างเห็นสมควรตามสถานการณ์ อีกทั้งไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใดทางคณะอาจารย์และผู้ปฏิบัติงานทุกท่านก็ยังคงไม่ละเลยการปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย และยังคงรับผิดชอบตนเองและรวมถึงส่วนรวมอีกด้วย