หลักสูตร : HS04 โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564

ข้าพเจ้า นางสาวภัทรนันท์ ทองพา ผู้ปฏิบัติงานประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตําบลผไทรินทร์ อําเภอลําปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ประจำหลักสูตรให้ลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ด้านการจักสาน การสานตะกร้าด้วยหวายเทียม การทำโครงตะกร้าและการออกแบบลวดลาย เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่โดดเด่น มีลักษณะเฉพาะของชุมชน สร้างมูลค่าและรายได้ให้แก่ชุนชน

วันที่ 25 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานทุกท่าน พร้อมด้วยอาจารย์ประจำหลักสูตรได้เข้าร่วมอบรมในหัวข้อ อบรมเชิงปฏิบัติการนักสื่อความหมายผลิตภัณฑ์ การเขียนโฆษณา การเขียนเนื้อหาสินค้า และพัฒนาสื่อออนไลน์เพื่อยกระดับการท่องเที่ยว ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลผไทรินทร์ ซึ่งมีตัวแทนจากกลุ่มแม่บ้านและกลุ่มผลิตภัณฑ์ด้านการจักสานเข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ด้วย มีวิทยากรมาให้ความรู้ 2 ท่านคือ 1.คุณอริสรา เภสัชชา ผู้อำนวยการกองสวัสดิการสังคมองค์การบริหารส่วนตำบลผไทรินทร์ 2.คุณปัณณทัต สระอุบล นักการตลาดออนไลน์ ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับด้านการตลาดและการตลาดสมัยใหม่ การใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการขาย เช่น ทำเพจเฟซบุ๊กของเราเอง การโพสต์ในชีวิตประจำวัน การสร้างเรื่องราว การสร้าง QC CODE ในการขาย การแปรรูปสินค้า นำทรัพยากรวัตถุดิบที่มีอยู่มาเป็นส่วนผสมให้เกิดสินค้าใหม่และน่าสนใจ เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความสนใจและเกิดความต้องการในสินค้าของเรา

วันที่ 28 ตุลาคม 2564 เวลา 9.00 น -12.00 น. ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานตำบลผไทรินทร์ ได้เข้าร่วมรับฟังการเสวนาจตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Quadruple Helix) โดยศูนย์ประสานงานชุมชนสัมพันธ์ HUSOC คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ จัดเสวนาออนไลน์ผ่านระบบ ZOOM การเสวนาในครั้งนี้มี รศ.มาลิณี จุโฑปะมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นประธานเปิดโครงการเสวนา และ อาจารย์ชมพู อิสริยาวัฒน์ รองคณะบดีฝ่ายพันธกิจชุมชนสัมพันธ์และภูมิทัศน์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินการเสวนา มีวิทยากรผู้ร่วมเสวนา 5 ท่าน ดังนี้ 1.นายสุพจน์ สวัสดิ์พุทรา นายกเทศมนตรีตำบลอิสาน 2.รศ.ดร.ประสาท เนืองเฉลิม มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 3.นายณัชอิสร์ ศรีสุขพรชัย ประธานหอการค้าจังหวัดบุรีรัมย์ 4.นายคำเดื่อง ภาษี ประธานกลุ่มปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดบุรีรัมย์ 5.รศ.ดร.อัครพนธ์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ การเสวนาในครั้งนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับการขับเคลื่อนชุมชน การพัฒนาชุมชนให้ยั่งยืน คือการเปลี่ยนแปลงคน เปลี่ยนแปลงชุมชนให้ดีขึ้น โดยความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและคนในชุมชนมีส่วนร่วม พัฒนาในด้านความเป็นอยู่ ด้านอาหารการกิน ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อมของชุมชน ทำให้ชุมชนน่าอยู่ รวมทั้งการทำความเข้าใจกับคนในชุมชน ทำให้เป็นชุมชนสามัคคีและจะได้ง่ายต่อการพัฒนาชุมชนให้ดีขึ้นในทุกๆด้าน

วันที่ 30 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้ทำการลงพื้นที่เก็บข้อมูลการสานตะกร้าในชุมชน ได้แบ่งกลุ่มออกเป็น 8 กลุ่ม โดยกลุ่มของข้าพเจ้าได้เก็บข้อมูลจากคุณป้าต้อย แสนชูปา บ้านโคกซาด ตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ มีรายละเอียดดังนี้ 1.ชื่อรายการวัตถุคือ ตะกร้าหวายเทียม 2.ขนาด ความสูง ความยาว ความกว้าง น้ำหนักและเส้นผ่านศูนย์กลาง 3.วัสดุอุปกรณ์ มีไม้ไผ่ หวายแท้ หวายเทียม แม็กซ์ใหญ่ สีเคลือบเงา 4.อายุของชิ้นงาน คือ 1 ปี 5.แหล่งที่พบ/แหล่งที่มา เลขที่ 52 หมู่ที่ 1 บ้านโคกซาด ตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ 6.ผู้ผลิต/เจ้าของ นางต้อย แสนชูปา 7.ตำหนิ ไม่มี ถ้าเก็บไว้นานก็จะขึ้นลาได้และเสื่อมสภาพตามเวลา 8.ลักษณะของตะกร้า และนำข้อมูลที่ได้พร้อมแนปรูปภาพของตะกร้าไปจัดทำลงในเอกสาร พรอมทั้งส่งให้อาจารย์ประจำหลักสูตรตรวจสอบความถูกต้อง

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2564 ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้รับมอบหมายจากอาจารย์ประจำหลักสูตรให้ลงพื้นที่เก็บข้อมูล CBD เพิ่มเติมตามหัวข้อในระบบ U2T ทั้ง 10 หัวข้อ มีดังนี้ 1.ผู้ที่ย้ายกลับบ้าน เนื่องจากสถานการณ์โควิด 19 2.แหล่งท่องเที่ยว 3.ที่พัก โรงแรม 4.ร้านอาหารในท้องถิ่น 5.อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น 6.เกษตรกรในท้องถิ่น 7.พืชในท้องถิ่น 8.สัตว์ในท้องถิ่น 9.ภูมิปัญญาในท้องถิ่น 10.แหล่งน้ำในชุมชน โดยข้าพเจ้าลงพื้นที่เก็บข้อมูลบ้านโคกซาดและบ้านหนองหัวช้าง ตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ และได้ทำการกรอกข้อมูลลงระบบ U2T ครบตามเป้าหมายที่กำหนด

สรุปการลงพื้นที่ตำบลผไทรินทร์ ประจำเดือนพฤศจิกายน ด้านการอบรมในหัวข้อ “อบรมเชิงปฏิบัติการนักสื่อความหมายผลิตภัณฑ์ การเขียนโฆษณา การเขียนเนื้อหาสินค้า และพัฒนาสื่อออนไลน์เพื่อยกระดับการท่องเที่ยว ได้ความรู้เกี่ยวกับด้านการตลาด การใช้สื่อสังคมออนไลน์ต่างๆในการขายสินค้าทำให้ผู้บริโภคมีความต้องการในสินค้าเพิ่มขึ้น การลงพื้นที่เก็บข้อมูลการสานตะกร้าในชุมชนได้ข้อมูลครบตามเป้าหมายและการเก็บข้อมูล CBD เพิ่มเติม ได้ลงพื้นที่บ้านโคกซาดและบ้านหนองหัวช้างเก็บข้อมูลและได้ทำการกรอกลงระบบ U2T

                   

อื่นๆ

เมนู