หลักสูตร: HS04 โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประจำเดือน พฤศจิกายน 2564

ข้าพเจ้านายพีระพล เสาวโรรังสฤษฎ์ ผู้ปฏิบัติงาน ประเภทบัณฑิตจบใหม่ รับผิดชอบการดำเนินงานในเขตพื้นที่ตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ประจำหลักสูตร ในการลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จักสานตะกร้าหวาย เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นให้แก่ชุมชน สร้างมูลค่าและรายได้ให้แก่ชุนชน

วันที่ 25 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงาน ทุกท่าน เข้าร่วมการอบรมเพื่อพัฒนาสินค้าขายออนไลน์ และ การเฝ้ากำกับติดตามการฉีดวัคซีน ในการอบรมครั้งนี้ โดยมีคุณปัณณทัต สระอุบล มาเป็นวิทยากร ในเนื้อเรื่องที่เข้าประชมได้กล่าวถึงการขยายตลาดในออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ เช่นการตลาดออนไลน์ (content marketing) คือกระบวนการทำการตลาดด้วยการสร้างเนื้อหาและเผยแพร่บนโซเชียลมีเดีย เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากสามราถเข้าถึงผู้คนจำนวนมาก และเป้าหมายที่ต้องการได้ ไม่ว่าพวกเขาจะอยู่ที่ไหนก็สารมารถรับรู้ถึงผลิตภัณฑ์ที่วางขายได้ และได้รู้ถึงวิวัฒนาการการตลาดแต่ละยุคสมัย ยุค 1.0 สินค้าในท้องตลาดมีจำนวนน้อยต่อความต้องการของผู้บริโภคเน้นการสร้างการทดลอง การใช้สินค้าใหม่ๆ เครื่องมือการตลาดที่ประสบความสำเร็จ คือ การฉายหนังเร่ พร้อมขายสินค้า ยุค 2.0 การตลาดที่เน้นประโยชน์ที่ได้รับจากตัวผลิตภัณฑ์มีการเปรียบเทียบราคาเน้นปรับปรุงคุณภาพของสินค้าและรูปลักษณ์ ยุค 3.0 การตลาดที่มุ่งเน้นการขายเป็นหลัก เป็นยุคที่มีการแข่งขันสูงด้านการขายสินค้า ด้านราคา ด้านส่งเสริมการขาย หลังจากเสร็จการอบรม ข้าพเจ้าได้ทำการลงพื้นที่เก็บข้อมูล cbd เพิ่มเติม เพื่อให้ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้

วันที่ 28 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมการเสวนาจตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน (Quadruple Helix)โดยศูนย์ประสานงานชุมชนสัมพันธ์ HUSOC คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ จัดเสวนาออนไลน์ ในวันที่ 28 ตุลาคม 2564 เวลา 9.00 น -12.00 น. ผ่านระบบ ZOOM โดยมี รศ.มาลิณี จุโฑปะมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นประธานเปิดโครงการเสวนา และ อาจารย์ชมพู อิสริยาวัฒน์ รองคณะบดีฝ่ายพันธกิจชุมชนสัมพันธ์และภูมิทัศน์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินการเสวนา มีวิทยากรผู้ร่วมเสวนา 5 ท่าน คือ1.นายสุพจน์ สวัสดิ์พุทรา (นายกเทศมนตรีตำบลอิสาน) 2.ผศ.ดร.ประสาท เนื่องเฉลิม (มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม) 3.นายณัชอิสร์ ศรีสุขพรชัย (ประธานหอการค้าจังหวัดบุรีรัมย์) 4.นายคำเดื่อง ภาษี (ประธานกลุ่มปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดบุรีรัมย์) 5.รศ.ดร.อัครพนธ์ เนื้อไม้หอม (คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) ซึ่งสรุปเนื้อหาได้ดังนี้

ความสามัคคีของคนในชุมชน การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน การขับเคลื่อนชุมชน การพูดคุยเพื่อให้ทุกคนเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ที่จะปรับเปลี่ยนสังคมให้ดีขึ้นการไม่ยึดติดกับอดีต ก้าวทันโลกทันเหตุการณ์ การสร้างพื้นที่แบบพอเพียง เพื่อไม่ให้อด และให้ข้อคิดมาว่า ต้องทำในสิ่งที่รู้ และแนวคิดเป้าหมายของ SDG การพัฒนาทางด้านสังคม ด้านการศึกษา ด้านเทคโนโลยี และทางด้านเศรษฐกิจ พูดถึงการมีส่วนร่วม ร่วมคิดและตัดสินใจ ในการพัฒนาชุมชน การเรียนรู้ให้ทันโลก การใช้สื่อโซเชียลในการเรียนรู้

วันที่ 6 พฤศจิกายน 2564 ข้าพเจ้าและทีมงานผู้เก็บข้อมูลการสานตะกร้าในชุมชน โดยได้แบ่งกลุ่ม ให้แต่ละกลุ่ม เก็บข้อมูลของผู้ที่สานตะกร้า กลุ่มของข้าพเจ้าได้เก็บข้อมูลของคุณตาสว่าง บึงจันทร์ ได้ทราบถึงแหล่งการผลิต การสาน และลวดลายของตะกร้า ข้อมูลที่ได้มาข้าพเจ้าได้ทำการบันทึกลงในแบบฟอร์ม เพื่อนำส่งให้กับทางอาจารย์ที่รับผิดชอบประจำตำบลต่อไป ทั้งนี้ในการลงพื้นที่ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้ลงเก็บข้อมูล cbd เพิ่มเติม ข้าพเจ้าได้ลงสำรวจและเก็บข้อมูลได้มากพอสมควรและทำการบันทึกลงในระบบแล้ว

สรุปผลการปฏิบัติงาน

1.ข้าพเจ้าได้ความรู้ในการอบรมการตลาดมาก ได้รู้ถึงการปรับเปลี่ยนวิธีขาย ได้รู้ถึงการเจาะการขายในออนไลน์และจากนี้ข้าพเจ้าจะนำความรู้ที่ได้มาประยุคใช้ในการปฏิบัติงานต่อไป

2.ในการประชุมเสวนาออนไลน์การเสวนาจตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน (Quadruple Helix) ได้รับความรู้หลายด้าน ในด้านความสามัคคีในชมชนการมีส่วนร่วมในชุมชน การพัฒนาสังคม ด้านการศึกษา ด้านเทคโนโลยี ด้านเศรษฐกิจ ปัญหาของชุมชน ด้านแนวคิด การปรับตัวให้ทันยุคสมัย การอยู่แบบพอเพียง

3.ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่ติดตามการสานตะกร้า และเก็บข้อมูลบันทึกลงในแบบฟอร์ม จากนั้นได้เก็บข้อมูล cbd เพิ่มเติมตามแผนที่ได้รับมอบหมา

อื่นๆ

เมนู