1. หน้าแรก
  2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  3. HS04 - ตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ
  4. HS04 – อบรมเชิงปฏิบัติการนักสื่อความหมายผลิตภัณฑ์ การเขียนโฆษณา เขียนเนื้อหาสินค้าและพัฒนาสื่อออนไลน์เพื่อยกระดับการท่องเที่ยว ตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

HS04 – อบรมเชิงปฏิบัติการนักสื่อความหมายผลิตภัณฑ์ การเขียนโฆษณา เขียนเนื้อหาสินค้าและพัฒนาสื่อออนไลน์เพื่อยกระดับการท่องเที่ยว ตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

หลักสูตร: HS04 โครงการยกระดับเศรษฐกิจ

และสังคมรายตำบล

แบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย

จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564

 

             ข้าพเจ้า  นางสาวภรภัทร สว่างอารมย์ ผู้ปฏิบัติงานประเภทประชาชน ปฏิบัติงานในเขตพื้นที่ตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยในวันที่ 25 ตุลาคม 2564 ได้ลงพื้นที่เข้าร่วมการอบรมพร้อมกับอาจารย์ประจำตำบล ในหัวข้อ “อบรมเชิงปฏิบัติการนักสื่อความหมายผลิตภัณฑ์ การเขียนโฆษณา เขียนเนื้อหาสินค้าและพัฒนาสื่อออนไลน์เพื่อยกระดับการท่องเที่ยว” ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ มีวิทยากรในการบรรยายจำนวน 2 ท่าน คือ

  1. คุณอริสรา เภสัชชา ผู้อำนวยการกองสวัสดิการสังคม ประจำองค์การบริหารส่วนตำบลไผทรินทร์
  2. คุณปัณณทัต สระอุบล นักการตลาดออนไลน์

          โดยในการอบรมในครั้งนี้ได้กล่าวถึงการเชื่อมโยงสัมมาชีพสู่การตลาด จะแบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ ศูนย์สาธิตการตลาด ตลาดนัดชุมชน ร้านค้าประชารัฐ ตลาดท้องถิ่น และกระดานสินค้า ในส่วนของส่วนประสมทางการตลาดจะแบ่งประเภทออกเป็น 4p คือ 1.Product สินค้าหรือบริการที่ธุรกิจสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค 2.Price ราคา คือสิ่งที่ลูกค้าต้องจ่ายเพื่อแลกกับการได้สินค้าและบริการ 3.Place ช่องทางที่ลูกค้าจะสามารถเข้าถึงสินค้าและบริการได้ 4.Promotion การสื่อสารการตลาดที่เกิดขึ้นเพื่อทำให้ตัวธุรกิจสามารถสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายได้ ในส่วนของกลยุทธ์ทางการตลาดท่านวิทยากรจำแนกให้มา 20 กลยุทธ์ คือ 1.การตลาดแบบขาดแคลน 2.การตลาดแบบทดลองฟรีก่อน จ่ายทีหลัง 3.งานอีเวนต์แบบจัดเอง 4.งานอีเวนต์แบบเข้าร่วม 5.ทำPublic Speaking 6.การตลาดแบบบอกต่อ 7.การตลาดแบบช่วยขาย 8.การตลาดแบบร่วมมือ 9.การตลาดผ่านผู้มีอิทธิพลทางความคิด 10.การเขียนบทความ 11.การเขียนบทความบนแพล็ตฟอร์มอื่น 12.การตลาดแบบเหาฉลาม 13.การตลาดแบบขายเพิ่ม 14.การตลาดแบบภูธร 15.การตลาดผ่านทีมงาม 16.การตลาดผ่านโซเชียล 17.การตลาดผ่านการค้นหา 18.การตลาดผ่านอีเมล 19.การตลาดผ่านชุมชน 20.การตลาดเฉพาะกลุ่ม และนอกจากนั้นท่านวิทยากรยังได้กล่าวถึง 10 Social Media ยอดนิยม โดยอันดับที่๑ จะเป็นYoutube ตามด้วย Facebook Line และ Facebook Messenger จบการบรรยายด้วยข้อความที่ว่า “ธุรกิจและผลิตภัณฑ์จะยั่งยืนหรือไม่ อยู่ที่ตัวคุณ เข้าใจลูกค้า หาโอกาส สร้างนวัตกรรม เสริมเรื่องราว นำเสนอความเป็นแบรนด์”

           ในวันที่ 28 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมอบรมออนไลน์ ในหัวข้อ “จตุรภาคีสี่ประสาน สู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน” จัดโดย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ดำเนินรายการโดย อาจารย์ชมพู อิสรยาวัฒน์ รองคณบดี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  ในส่วนของวิทยากรมีทั้งหมด 5 ท่าน คือ 1. นายสุพจน์ สวัสดิ์พุทรา นายกเทศมนตรีตำบลอิสาน อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้กล่าวถึงการมีส่วนร่วมของชุมชน ความสามัคคีของคนในชุมชน ต้องใช้ความสนิทสนมของทุกคนจึงจะทาให้การทางานเป็นไปได้อย่างราบรื่น 2. รศ.ดร.ประสาท เนืองเฉลิม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้กล่าวถึง แนวคิดของสหประชาชาติ เป็นแนวคิดที่เกี่ยวกับ “จะทาอย่างไรให้นักศึกษามีความเท่าเทียมกัน ?” คนไหนต้องการมาก ก็ให้มาก ส่วนคนไหนที่ต้องการน้อยก็ให้น้อย ซึ่งจะตรงกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง แนวคิดของสหประชาชาติ เกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนคือ สังคม  เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม มิติการพัฒนา การมีส่วนร่วม 3.นายณัชอิสร์ ศรีสุขพรชัย ประธานหอการค้าจังหวัดบุรีรัมย์ ได้กล่าวถึง เกี่ยวกับโลกในทุกวันนี้ ว่าไม่เหมือนจากเดิมแล้ว เนื่องจากโลกทุกวันนี้มีการเปลี่ยนแปลง มนุษย์ต้องเรียนรู้และแก้ไข ซึ่งเราต้องสร้าง Smart People ผู้ที่จะเป็นตัวกลางจะต้องมองเห็นภาพ เช่น ต่างคนต่างอยู่คนละที่แต่สามารถมาร่วมอยู่ในที่เดียวกัน อย่างเช่นการเสวนาในวันนี้ ปรัชญา 3H Heart Hands การที่จะเดินหน้าต้องมีสามสิ่งนี้ 4. พ่อคำเดื่อง ภาษี ประธานกลุ่มปราชญ์ชาวบ้าน จังหวัดบุรีรัมย์ ได้กล่าวถึง การไม่ยึดติดกับสิ่งที่เป็นอดีต การใช้ชีวิตอย่างไรให้ทันโลก ทันเหตุการณ์ การปรับเปลี่ยนวิธีคิดให้ทันกับโลกสมัยใหม่ ด้านแนวคิดเรื่องการกระทำ มี  3 อย่าง คือ ทำในสิ่งที่เรารู้ ทำในสิ่งที่เรารัก ทำแล้วทำให้จบ 5. รศ.ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้สรุปเกี่ยวกับความหมายของจตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

             ในวันที่ 30–31 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลCBD และในการลงพื้นที่ในครั้งนี้ ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานทุกท่าน ได้เก็บข้อมูลตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

                ในวันที่ 4-5 พฤศจิกายน ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานจำนวน 3 ท่าน ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลผู้ผลิตตะกร้า รวมไปถึงสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับวัสดุ อุปกรณ์ในการใช้งานและลักษณะของตะกร้านั้นๆ

 

           

   

อื่นๆ

เมนู