หลักสูตร: HS04 โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประจำเดือนพฤศจิกายน

ข้าพเจ้า นายธนารัตน์ เนตรวิลา ผู้ปฏิบัติงานประเภทประชาชน ปฏิบัติงานในเขตพื้นที่ตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์  วันที่ 25 ตุลาคม 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรพร้อมด้วยทีมผู้ปฏิบัติงานและกลุ่มผู้สานตะกร้าหวายเทียมได้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัตินักสื่อความหมายผลิตภัณฑ์ การเขียนโฆษณา เขียนเนื้อหาสินค้าและพัฒนาสื่อออนไลน์เพื่อยกระดับการท่องเที่ยว และการตลาดสมัยใหม่ Online Marketing ณ.ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลผไทรินทร์โดยมี วิทยากร 2 ท่านคือ คุณอริสรา เภสัชชา ผู้อำนวยการกองสวัสดิการและสังคมประจำองค์การบริหารส่วนตำบลผไทรินทร์ ให้รายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ตะกร้าหวายเทียมถึงกระบวนการและขั้นตอนการผลิตตลอดจนปัญหาในการจัดจำหน่ายและอุปกรณ์ในการผลิตชิ้นงาน วิทยากรท่านที่ 2 คุณปัณณฑัต สระอุบล (โค้ชเอส) ที่ปรึกษาการตลาดออนไลน์ ได้บรรยายถึงการตลาดออนไลน์ในยุคปัจจุบันเชื่อมโยงกับผลิตภัณฑ์ของชุมชน การตลาดออนไลน์มีความสำคัญอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการตลาดที่ทำผ่านข้อความ ตัวอักษร รูปภาพ หรือวิดีโอ ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน นอกจากจะช่วยให้สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างกว้างขวางแล้ว ยังเป็นการประหยัดต้นทุนอีกด้วย โดยประโยชน์ของการตลาดออนไลน์ มีดังต่อไปนี้

วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 9.00 น – 12.00 น.การเสวนาจตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน (Quadruple Helix)โดยศูนย์ประสานงานชุมชนสัมพันธ์ HUSOC คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ จัดเสวนาออนไลน์ผ่านโปรแกรม ZOOM วัตถุประสงค์ของการเสวนาเพื่อเผยแพร่ผลงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์และชุมชน เป็นการประสานความร่วมมือในการลงพื้นที่ร่วมกับชุมชน มีวิทยากรผู้ร่วมเสวนา 5 ท่าน ซึ่งสรุปเนื้อหาในการเสวนาได้ดังนี้ การขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนนั้นจะต้องใช้ความร่วมมือของทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและชุมชนร่วมมือกันเพื่อให้ง่ายต่อการพัฒนาภาครัฐจะต้องทำความเข้าใจกับชุมชนด้วยการสร้างสัมพันธภาพที่ดีให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น ด้านการศึกษาเพื่ออนาคตต้องใช้แนวคิดแบบองค์รวม การจัดการเรียนการสอนที่ไม่เน้นเนื้อหาวิชาการอย่างเดียวให้เน้นการลงพื้นที่เพื่อศึกษาข้อมูลจริง ประเด็นปัญหาในชุมชน การวิจัย วิเคราะห์และการหาแนวทางแก้ไขให้กับชุมชน ให้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้โดยมี มหาวิทยาลัยเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนเพื่อจะนำมาพัฒนา สรุปจตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน (Quadruple Helix) คือการปรับบริบทและพลิกโฉมมหาวิทยาลัยเพื่อทำงานร่วมกับชุมชนในการสร้างและพัฒนาสร้างองค์ความรู้ให้ประสบผลสำเร็จ

วันที่ 6 พฤศจิกายน 2564 กระผมและทีมผู้ปฏิบัติงานได้รับมอบหมายจากอาจารย์ประจำหลักสูตรให้แบ่งกลุ่มเพื่อเก็บข้อมูลการสานตะกร้าในชุมชน ได้เก็บข้อมูลของคุณตาสว่าง บึงจันทร์ ได้ทราบถึงแหล่งการผลิต การสาน และลวดลายของตะกร้าและได้ทำการบันทึกลงในแบบฟอร์ม เพื่อนำส่งให้กับทางอาจารย์ที่รับผิดชอบประจำตำบลต่อไป ทั้งนี้ในการลงพื้นที่ได้รับมอบหมายให้เก็บข้อมูลและบันทึกข้อมูลลงในระบบCBDเพื่อนำไปใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลCBD และArea Business Citizen Centric Model (ABC Model) ในพื้นที่ตำบลผไทรินทร์เพื่อให้ได้ข้อมูลตามเป้าหมาย 1,000 Records

อื่นๆ

เมนู