หลักสูตร: HS04 โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประจำเดือน ธันวาคม 2564

 

ข้าพเจ้านายอำพล ยศแก้วกอง ผู้ปฏิบัติงาน ประเภทบัณฑิตจบใหม่ รับผิดชอบการดำเนินงานในเขตพื้นที่ตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์  18 พฤศจิกายน 2564 ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานทุกท่าน พร้อมด้วยคณะอาจารย์ ได้ลงพื้นที่ เพื่อเข้าร่วม“โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ ถ่ายทอดองค์ความรู้จากการนำประโยชน์ของต้นไผ่มาพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่า” ณ ศาลาประชาคม บ้านโคกซาด หมู่ที่ 1 ตำบลผไทรินทร์อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์   เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านจักสานจากไม้ไผ่ เครื่องมือการผลิตโครงตะกร้าไม้ไผ่  คุณตาสว่าง บึงจันทร์ กล่าวไว้ว่าเป็นผู้คิดเริ่มลวดลายต่างๆ และออกแบบลายใหม่ๆขึ้นเพื่อทำเป็นเอกลักษณ์ของตำบลคุณตาแจ้งว่าการคิดลายใหม่นั้นอาจต้องใช้เวลาเพระต้องทดลองทำดูก่อนว่าตรงตามที่ตนเองได้กำหนดไว้หรือหรือไม่จึงเขียนแบบต่างๆขึ้นมาด้วยความรวดเร็ว คุณอริสรา เภสชัชา  ได้กล่าวถึง ประวัติความเป็นมาของเครื่องจักสาน คือ เครื่องใช้ที่ทาด้วยไม้ไผ่หรือหวาย จากฝีมือความคิด ภูมิปัญญาของชาวบ้านมีลักษณะรูปทรงแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น การที่ตำบลผไทรินทร์นำเครื่องจักสานจากไม้ไผ่เป็นผลิตภัณฑ์เด่นของชุมชนเพราะมีภูมิปัญญาอยู่เป็นจำนวนมากไม่ว่าจะเป็น กลุ่มผู้สูงอายุ ชาวบ้านทั่วไป รวมทั้งกลุ่มสตรีแม่บ้านที่สามารถเชื่อมโยงกันได้

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2564 ทีมผู้ปฏิบัติงานได้มีตัวแทนเข้าร่วมอบรมโครงการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นเชิงสหวิทยาการแบบออนไซต์และออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะเดิมเพิ่มเติมทักษะใหม่และรายได้เสริมให้กับประชาชนในพื้นที่บริการวิชาการของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยมี รศ.มาลินี จุโฑปะมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นประธานเปิดงาน รศ.ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กล่าวรายงานเกี่ยวกับโครงการการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้น เป็นไปตามแนวทางการดำเนินการระบบคลังหน่วย
กิตระดับอุดมศึกษา การเรียนการสอนในอนาคตจะมีการจัดทาเป็นหลักสูตรระยะสั้นเพื่อเก็บสะสมหน่วยกิตแล้วสามารถเทียบโอนในระดับมหาวิทยาลัย

เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2564  ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมฟังบรรยายเรื่อง การสาธิตวิธีการทำผลิตภัณฑ์เครื่องจักรสานจากไม้ไผ่” โดยลงพื้นที่ ณ ศาลาประชาคม หมู่ที่ 16 บ้านโคกงิ้ว ตำบลไผทรินทร์  อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ทีมผู้ปฏิบัติงานได้แบ่งหัวข้อการเก็บข้อมูลอยู่ 3 หัวข้อคือ การทำแบบลายตะกร้า การทำขอบตะกร้า และการทำที่ถือตะกร้าของการทำตะกร้าหวายเทียมทุกขั้นตอนและเขียนรายละเอียดของแต่ละขั้นตอนและถ่ายเป็นคลิปวิดีโอ เพื่อจัดทำเป็นหลักสูตรระยะสั้น โดยแบ่งกลุ่มกันทำข้อมูลดังกล่าวเพื่อทำหลักสูตร

เมื่อวันที่  4 ธันวาคม 2564 ได้จัดกิจกรรมอบรม ณ ศาลาประชาคมอเนกประสงค์ บ้านโคกซาด หมู่ที่ 1 ตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์  คณะอาจารย์ประจำหลักสูตร ได้จัดอบรม เรื่องการพัฒนาศักยภาพของชุมชนโดยการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการเพิ่มศักยภาพ ที่จำเป็นและสอดคล้องกับความต้องการในอนาคตเพื่อรับทราบถึงปัญหาและความต้องการของคนในชุมชนและแผนการทำเสนอแนวทางของการยกระดับสินค้า อย่างต่อเนื่อง ก่อนจบโครงการทางทีมการได้มอบของที่ระลึกให้กับชุมชนเพื่อเป็นการสานต่อในการทำตะกร้าและได้ให้ชาวบ้านลดต้นทุนเพิ่มรายได้แก่ชุมชนสืบต่อไป

สรุปผลการลงพื้นที่ประจำเดือนธันวาคม การศึกษาข้อมูลผลิตภัณฑ์ชุมชนเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ในชุมชุนเพื่อเป็นฐานข้อมูลของชุมชนได้ทำให้แนวคิดและวิธีในการปฏิบัติเพื่อให้สามารถดำเนินงานด้านการขับเคลื่อนชุมชน เพื่อทำงานร่วมกับชุมชนในการสร้างและพัฒนาสร้างองค์ความรู้ให้ประสบผลสำเร็จ ด้านความสามัคคีในชุมชนการมีส่วนร่วมในชุมชน การพัฒนาสังคม ด้านการศึกษา ด้านเทคโนโลยี ด้านเศรษฐกิจ ปัญหาของชุมชน ด้านแนวคิด การปรับตัวให้ทันยุคสมัย การขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนนั้นจะต้องใช้ความร่วมมือของทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและชุมชนร่วมมือกันเพื่อให้ง่ายต่อการพัฒนาภาครัฐจะต้องทำความเข้าใจกับชุมชนด้วยการสร้างสัมพันธภาพที่ดีให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น ด้านการศึกษาเพื่ออนาคตต้องใช้แนวคิดแบบองค์รวม การจัดการเรียนการสอนที่ไม่เน้นเนื้อหาวิชาการอย่างเดียวให้เน้นการลงพื้นที่เพื่อศึกษาข้อมูลจริง ประเด็นปัญหาในชุมชน การวิจัย วิเคราะห์และการหาแนวทางแก้ไขให้กับชุมชน ให้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้โดยมี มหาวิทยาลัยเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน

 

 

อื่นๆ

เมนู