หลักสูตร: HS04 โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล
1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประจำเดือน ธันวาคม 2564

 

ข้าพเจ้า นางสาวขนิษฐา วังหิน ผู้ปฏิบัติงานประเภทบัณฑิตจบใหม่ ปฏิบัติงานในเขตพื้นที่ตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ประจำหลักสูตรให้ทีมผู้ปฏิบัติงานวางแผนและแบ่งหน้าที่การปฏิบัติงาน เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามเป้าหมาย

เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานพร้อมด้วยคณะอาจารย์ ได้ลงพื้นที่ เพื่อเข้าร่วม“โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ ถ่ายทอดองค์ความรู้จากการนำประโยชน์ของต้นไผ่มาพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่า” ณ ศาลาประชาคมอเนกประสงค์ บ้านโคกซาด หมู่ที่ 1 ตำบลผไทรินทร์ โดย คุณอริสรา เภสัชชา ได้กล่าวถึงแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านจักสานจากไม้ไผ่ เครื่องมือการผลิตโครงตะกร้าไม้ไผ่ แหล่งที่มาของโครงตะกร้าหวายซึ่ง ได้สั่งซื้อโครงสำเร็จมาจากจังหวัดเชียงราย เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ปลูกหวายเยอะ และหวายที่นำมาใช้ทำโครงตะกร้าจะต้องมีอายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปถึงจะนำมาทำโครงตะกร้าได้ เพราะหวายที่มีอายุมากจะแข็งแรงไม่แตกหักง่ายเหมือนหวายอ่อน และท่านยังให้ข้อมูลการจัดหาช่องทางการทำการตลาด ในส่วนของ คุณตาสว่าง บึงจันทร์ ได้กล่าวถึงการนำไม้ไผ่มาจักรสานเป็นเครื่องใช้ต่างๆ เช่น ไซดักปลา ที่ทำเป็นเครื่องรางของขลังขนาดเล็กๆ พร้อมทั้งอธิบายถึงความยากง่ายของการทำแต่ละอย่าง การพูดถึงอุปกรณ์ที่ยังขาดแคลนอยู่ขณะนี้

เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2564 ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานพร้อมด้วยคณะอาจารย์ ได้ลงพื้นที่เพื่อเข้าร่วมฟังบรรยาย หัวข้อเรื่อง “ให้คำปรึกษา และสาธิตวิธีการทำผลิตภัณฑ์เครื่องจักรสานจากไม้ไผ่” โดยลงพื้นที่ ณ ศาลาประชาคม หมู่ที่ 16 บ้านโคกงิ้ว ตำบลผไทรินทร์  ได้แบ่งหัวข้อการเก็บข้อมูลทุกขั้นตอนของการทำตะกร้าหวายเทียมและเรียนรู้ขั้นตอนวิธีการทำจากกลุ่มผู้ผลิตตะกร้าหวายเทียมตำบลผไทรินทร์ โดยมีขั้นตอนการสานขอบปากตะกร้าและหูตะกร้า  ขั้นตอนการสานขึ้นลายตะกร้าหวายเทียม และขั้นตอนการทำจูงนางตะกร้าหวายเทียม โดยให้แต่ละกลุ่ม เขียนรายละเอียดของแต่ละขั้นตอนและถ่ายเป็นคลิปวิดีโอ เพื่อจัดทำเป็นหลักสูตรระยะสั้น

เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงาน ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติม ที่บ้านคุณป้าทองนาค ชะนะนาน หมู่ที่ 16 บ้านโคกงิ้ว ตำบลผไทรินทร์  โดยเข้าไปสอบถามเรื่องการทำลวดลายตะกร้า แต่ละรูปแบบ พร้อมทั้งลงมือปฏิบัติเอง เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น เรียนรู้การสานในแต่ละขั้นตอน จนถึงขั้นตอนสุดท้าย คือการลงน้ำมันเคลือบเงา เพื่อให้ตะกร้ามีความเงาและดึงดูดสายตามากขึ้น

เมื่อวันที่  4 ธันวาคม 2564 คณะอาจารย์ประจำหลักสูตร ได้จัดอบรมช่วงเช้า เรื่อง “การพัฒนาผลิตภัณฑ์จักสานจากไม้ไผ่ เพื่อยกระดับเป็นสินค้า OTOP และได้รับรองคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์”ส่วนในช่วงบ่าย เป็นการอบรม“การพัฒนาศักยภาพของชุมชนโดยการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการเพิ่มศักยภาพ Upskill Reskill Newskill ที่จำเป็นและสอดคล้องกับความต้องการในอนาคต” ณ ศาลาประชาคมอเนกประสงค์ บ้านโคกซาด หมู่ที่ 1 ตำบลผไทรินทร์ โดยมีทีมผู้ปฏิบัติงาน ปราชญ์ชาวบ้าน และกลุ่มผู้ผลิตตะกร้าหวายเทียมของ
ตำบลผไทรินทร์ มาร่วมเข้าประชุมเพื่อรับทราบถึงปัญหาและความต้องการของคนในชุมชนและแผนการทำเสนอแนวทางของการยกระดับสินค้า อย่างต่อเนื่อง และทางคณะมนุษยศาตร์และสังคมศาตร์ ได้มีการมอบทุน เพื่อดำเนินการจัดหาวัสดุและอุปกรณ์ในการผลิตโครงตะกร้าหวายเทียม

จากการปฏิบัติงานตั้งแต่เริ่มตลอดจนจบโครงการ ข้าพเจ้า ได้เรียนรู้ถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ภูมิปัญญาชาวบ้าน การจัดตั้งกลุ่มจักรสาน ความร่วมมือความสามัคคี ของคนในชุมชนตำบล
ผไทรินทร์ และได้เข้าไปเรียนรู้การสานตะกร้าหวายเทียม พร้อมทั้งเข้าไปช่วยในส่วนของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ แนวทางการเพิ่มรายได้และลดต้นทุนการผลิต เพื่อมุ่งหวังให้เป็นตำบลต้นแบบในการเพิ่มรายได้แก่ชุมชน และเป็นชุมชนที่เข้มแข็งที่จะสามารถพัฒนาต่อยอดทรัพยากรในท้องถิ่นให้เข้าสู่การตลาดที่มั่นคง และเพื่อให้บรรลุตามจุดประสงค์ของโคงการ

ภาพรวมการลงพื้นที่ปฏิบัติงาน

 

อื่นๆ

เมนู