หลักสูตร: HS04 โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประจำเดือน ธันวาคม 2564

 

ในส่วนของวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ.2564 ได้มีการอบรมในพื้นที่หมู่ 1 บ้านโคกซาด โดยวัตถุประสงค์ในการอบรมครั้งนี้เพื่อส่งเสริมเพื่อก่อให้เกิดรายได้ภายในชุมชน และภายใต้โครงการการอบรมครั้งนี้มีวิทยากรทั้ง 3ท่านซึงเป็นผู้มีประสบการณ์ในด้านการจักรสานตะกร้าภายในชุมชนได้แก่ 1.นางสาวอริศรา เภสัชชา ซึ่งได้อธิบายถึงเรื่องการจักรสานโดยการใช้ไม้ไผ่นำมาผ่าให้เป็นเส้นเล็กๆและในด้านการสานนำไม้ไผ่มาขัดด้านให้เป็นแผ่น ซึ่งในการจักรสานนี้มีมาประมาณ 4,000ปีที่แล้ว โดยเริ่มมาจากเครื่องใช้ ซึ่งใช้ภูมิปัญญามาร่วมสมัยในปัจจุบัน ในถัดมาท่านที่ 2.คุณตาประเสริฐ สุทรี ได้เริ่มสานไม้ไผ่ตั้งแต่เยาว์วัยจนถึงปัจจุบันโดยได้สานกับบิดา อาทิเช่น กระติ๊บข้าว ไซร ตะกร้าโดยเป็นการเริ่มทำใช้ภายในครัวเรือนหลังจากนั้นก็ได้กลายมาเป็นอาชีพเสริมจนถึงปัจจุบัน และท่านสุดท้ายได้แก่ คุณตาสว่าง บุญจันทร์ โดยได้เริ่มทดลองศึกษาการจักรสานด้วยตนเองโดยมีจุดประสงค์เพื่อนำมาใช้เองและอีกทั้งได้มีแนวคิดการทำโคมไฟ เพื่อส่งให้รีสอร์ทใช้ตกแต่ง ซึ่งนับว่าเป็นการหารายได้เสริมอีกช่องทางหนึ่ง

 

ในวันที่  21 พฤศจิกายน  พ.ศ.2564 ตามที่ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ผู้ดูแลประจำหลักสูตรโครงการได้แจ้งให้ผู้ปฏิบัติงานที่เป็นตัวแทนได้มีการเข้าร่วมโครงการกิจกรรมการอบรมการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นเชิงสหวิทยาการแบบออนไซต์และออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะเดิมเพิ่มเติมทักษะใหม่และรายได้เสริมให้กับประชาชนในพื้นที่บริการวิชาการของคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยจัดขึ้น ณ ห้องประชุมมนุษย์สังคมวัฒนาอาคาร 25 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  และมีรศ.มาลินี จุโฑปะมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  เป็นประธานเปิดงาน รศ.ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กล่าวรายงานเกี่ยวกับโครงการการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้น เป็นไปตามแนวทางการดำเนินการระบบคลังหน่วยกิตระดับอุดมศึกษา การเรียนการสอนในอนาคตจะมีการจัดทำเป็นหลักสูตรระยะสั้นเพื่อเก็บสะสมหน่วยกิตแล้วสามารถเทียบโอนในระดับมหาวิทยาลัย ได้เชิญวิทยากรมาร่วมเสวนาในการหาแนวทางการจัดทำหลักสูตร 5 ท่าน 1.คุณสิทธิชัย สุดสวาท ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดบุรีรัมย์ ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำหลักสูตรระยะสั้นเกี่ยวกับฝีมือแรงงาน มาตรฐานของฝีมือแรงงาน ส่วนปัญหาและอุปสรรคที่พบส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากคน  2.คุณไขแสง ซอกรัมย์ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย(กศน) โครงสร้างหลักสูตรของกศน.ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับเป้าหมายเพื่อสร้างอาชีพ คือประชาชนทั่วไปสามารถทำได้จริงและต่อยอดได้ 3.คุณปฐม นิ่มหัตถา วิทยาลัยชุมชนบุรีรัมย์ การจัดการเรียนการสอนวิเคราะห์ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ “หนึ่งหลักสูตร หนึ่งฤดูกาล” ปัญหาและอุปสรรคที่พบคือความเข้าใจกับชุมชนและช่วงวัยของผู้เรียน 4.คุณอาทิตย์ จำปาพุฒ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์ ได้แนะแนวในส่วนของ การจัดทำหลักสูตรอบรมที่มีความหลากหลายจัดตามประเภทการเกษตร เน้นอาชีพของชุมชนนอกระบบที่ยังไม่มีอาชีพ กลุ่มที่มีอาชีพอยู่แล้วอบรมเพื่อพัฒนาต่อยอด ปัญหาและอุปสรรคที่พบในการจัดทำหลักสูตร 5. ผศ.ดร.รพีพรรณ พงษ์อินทร์วงศ์ รองผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนแนวทางในการศึกษาโดยการจัดทำเป็นหลักสูตรระยะสั้นเพื่อส่งเสริมในด้านการดำเนินชีวิต

ในวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2564 ข้าพเจ้ารวมถึงคณะผู้ปฏิบัติงานทุกท่านและคณะอาจารย์ประจำหลักสูตรได้มีการลงพื้นที่ ณ บ้านโคกงิ้วใหม่ หมู่ที่ 16 โดยได้ลงพื้นที่เพื่อศึกษาวิธีการทำตะกร้าโดยได้สอบถามข้อมูลจาก คุณดอกริน มาฆะมนต์ คุณเรียม สาโรจน์ และคุณขวัญใจ วิจิตรศักดิ์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการสานลายตะกร้า โดยมีการเริ่มจากการเลือกลายก่อนที่จะวัดระยะขอบตามความเหมาะสมของตัวตะกร้าและอาจมีการยกข้าม ซึ่งเป็นวิธีการสานลายตะกร้าและลายที่นิยมทำมีสองแบบได้แก่ ลายสันปลาช่อน และลายกระดูกงู ซึ่งทำลายเป็นตารางเป็นต้น

 

ในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.2564 ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติทุกท่านตามด้วยคณะอาจารย์ผู้ดูและประจำหลักสูตรได้มีการลงพื้นเพื่อสรุปภาพรวมกิจกรรมตลอดทั้งปีที่ผ่านมาโดยช่วงเช้าได้มีคุณ อริสรา เภสัชชา ได้กล่าวให้ความรู้เพิ่มเติมและมีการสรุปวัตถุประสงค์ในการดำเนินโครงการจัดทำโครงตะกร้าโดยมีคุณตาสว่าง บึงจันทร์ และคุณตาประเสริฐ สุทรี เป็นผู้นำในการทำตะกร้า และได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.อัครพล เนื้อไม้หอม โดยมีการรับมอบอุปกรณ์ในการดำเนินการทำตะกร้าหวายให้เสร็จสมบูรณ์

 

จากการลงพื้นที่ปฏิบัติงานในเดือน ธันวาคม 2564 ในส่วนของทุกกิจกรรมประจำเดือนข้าพเจ้าได้เรียนรู้ถึงวิธีการทำตะกร้าหวายเทียมตามภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีมาแต่ดั้งเดิมจนสานต่อมาถึงปัจจุบันและทำให้การดำเนินโครงการเสร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีตามเป้าหมายที่ตั้งไว้และไม่เกิดปัญหาต่างๆตามมาในโครงการครั้งนี้

อื่นๆ

เมนู