หลักสูตร: HS04 โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ประจำเดือน ธันวาคม 2564

         เนื่องด้วยในวันที่ 18 พฤศจิกายน ..2564 ข้าพเจ้านางสาวนวลพรรณ แบบรัมย์ ได้เข้าร่วมกิจกรรมการอบรม ศาลาอเณกประสงค์ หมู่1 บ้านโคกซาด ตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศจังหวัดบุรีรัมย์ ร่วมกับคณะอาจารย์และรวมถึงผู้ปฏิบัติงานทุกประเภท ซึ่งวัตถุประสงค์ของการอบรมการลงพื้นที่ในครั้งนี้คือเพื่อส่งเสริมก่อให้เกิดรายได้ภายในชุมชนและเป็นการสานสัมพันธ์กับประชาชนในพื้นที่ และได้รับเกียรติจากวิทยากรทั้งสามท่าน ดังนี้ 1. คุณอริสรา เภสัชชา 2. คุณประเสริฐ สุทรี และ 3. คุณสว่าง บึงจันทร์ ซึ่งวิทยากรทั้งสามเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการจักสานตะกร้าภายในท้องถิ่น เช่น จักสาน ด้านงานฝีมือการคิดค้นลายตะกร้า เป็นต้น อีกทั้งในการอบรมนี้ท่านวิทยากรยังได้กล่าวถึงประโยชน์ของไม้ไผ่ที่สามารถนำมาใช้ทำตะกร้า และรวมถึงการอธิบายวิธีจักสาน ซึ่งหมายถึงการใช้มีดผ่าไม้ไผ่ให้เป็นเส้นเล็กๆไว้จักสาน และนำไม้ไผ่มาขัดกันจนกระทั่งให้เป็นแผ่นก่อนจะนำมาสานกันให้เป็นตะกร้าจนเสร็จสมบูรณ์ เป็นต้น และต้นกำเนิดของการคิดลายนั้นคุณตาสว่าง บึงจันทร์ได้บอกอีกว่าตนเองได้ศึกษาด้วยตัวเอง โดยการศึกษาจาก YouTube หรือเป็นการสังเกตุสิ่งแวดล้อมจากธรรมชาติเพื่อมาคิดสร้างสรรค์ให้เป็นลายที่ต้องการ  

         ถัดมาวันที่ 21 พฤศจิกายน .. 2564 ทางตำบลผไทรินทร์ ได้ส่งตัวแทน 2 ท่าน เพื่อไปทำกิจกรรมภายใต้โครงการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นเชิงสหวิทยาการแบบออนไซต์และออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะเดิมเพิ่มเติมทักษะใหม่และรายได้เสริมให้กับประชาชนในพื้นที่บริการวิชาการของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ซึ่งรายละเอียดในการอบรมโครงการมีดังนี้ โดยในช่วงต้นของพิธี ได้รับเกียรติจาก รศ.มาลิณี จุโฑปะมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ให้เกียรติเพื่อมาเป็นประธานเปิดงานในครั้งนี้ และถัดมาได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้กล่าวรายงานเกี่ยวกับโครงการการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้น และได้เชิญวิทยากรมาร่วมเสวนาในการหาแนวทางการจัดทำหลักสูตร 5 ท่าน ดังนี้ 1. คุณสิทธิชัย สุดสวาท ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดบุรีรัมย์  2. คุณไขแสง ซอกรัมย์ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย(กศน) 3. คุณปฐมนิ่มหัตถา วิทยาลัยชุมชนบุรีรัมย์ 4. คุณอาทิตย์จำปาพุฒ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์และ 5. ผศ.ดร.รพีพรรณ พงษ์อินทร์วงศ์ รองผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน   ส่วนในด้านสาระสำคัญในงานได้กล่าวถึงการเรียนการสอนในอนาคตจะมีการจัดทำเป็นหลักสูตรระยะสั้นเพื่อเก็บสะสมหน่วยกิตแล้วสามารถเทียบโอนในระดับมหาวิทยาลัย สิ่งสำคัญในการจัดทำหลักสูตรในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปต้องเลือกวิชาที่เหมาะสมการบริหารจัดการบริบทให้ทันสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ปัญหาและแนวทางแก้ไขหลักสูตรต้องสอดคล้องกับการพัฒนาท้องถิ่น เมื่อบรรจุเป็นหลักสูตรแล้วการอธิบายหลักสูตรต้องสอดคล้องกับหลักสูตรของมหาวิทยาลัยเพือการเทียบโอนหลักสูตรกับมหาวิทยาลัยได้ เป็นต้น ถัดมาในช่วงบ่ายเป็นการนำเสนอข้อมูลโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ(1ตำบล 1มหาวิทยาลัย) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์จำนวน 11 ตำบล โดยในส่วนของตำบลผไทรินทร์นั้นได้นำเสนอโครงการจักสานจากไม้ไผ่เพื่อเพิ่มรายได้ในครัวเรือนอย่างยั่งยืน 

          และอีกทั้งวันที่ 22 พฤศจิกายน ..2564 มีการลงพื้นที่ บ้านโคกงิ้ว ซึ่งทางผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่เพื่อศึกษารายละเอียดการสานตะกร้า โดยได้ประสานงานขอความอนุเคราะห์เพื่อสอบถามข้อมูลจาก คุณดอกริน มาฆะมนต์ คุณเรียม สาโรจน์และคุณขวัญใจ วิจิตศักดิ์ ซึ่งทั้งสามท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญการจักสานในพื้นที่ ซึ่งจากการที่ได้สอบถามและศึกษารายะเอียดแล้วได้พบว่าการจักสานเริ่มจากการเลือกลายที่จะสานจากนั้นจะวัดระยะขอบตามความกว้างของตะกร้า และในการสานนั้นจะสานโดยการยกข้ามของเส้นไม้ไผ่ไปมาและพบว่าลายที่จูงนาที่ทำมานั้นมี 2 แบบ ได้แก่ 1. ลายสันปลาช่อน และ 2. ลายกระดูกงู 

       วันที่ 4 ธันวาคม ..2564  ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่ บ้านโคกซาด ร่วมกับผู้ปฏิบัติงานท่านอื่นๆและร่วมด้วยคณะอาจารย์ประจำตำบลทุกท่าน โดยมีจุดประสงค์เพื่อสรุปภาพรวมของการทำกิจกรรมที่ผ่านมาตลอดทั้งปี และปัญหาอุปสรรคในการทำงานที่ผ่านมา ซึ่งในในการอบรมลงพื้นที่ บ้านโคกซาดในครั้งนี้ มีประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการบรรยายและให้ความรู้ในด้านการสานตะกร้าและได้มีการตั้งเป้าหมายเพื่อให้ได้ยอดขายและสร้างกำไรให้ประชาชนในพื้นที่มีรายได้เสริม โดยภายใต้ในการอบรมครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากคุณอริสรา เภสัชชา มามอบความรู้เพิ่มเติมสืบเนื่องจากการอบรมในด้านการจักสานตะกร้าที่แล้วมาในแต่ละโครงการ และในช่วงท้ายสุดเป็นการปิดโครงการโดยมี รศ.ดร.อัครพร เนื้อไม้หอม คณบดีของคณะสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ ได้ให้เกียรติมาเป็นประธานในการปิดโครงงานในครั้งนี้ และได้ร่วมพูดคุยกับผู้ปฏิบัติงานและประชาชนในพื้นที่เล็กน้อยเพื่อสานสัมพันธ์สร้างมิตรไมตรี ท้ายสุดแล้วได้มอบงบประมาณประจำปีในการจัดทำผลิตภัณฑ์ตะกร้าจักสานของโครงการนี้ เป็นอันแล้วเสร็จสิ้นสุดของโครงการ

       สรุปภาพรวมตลอดทั้งปีที่ผ่านมา แม้ว่าสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ยังคงรุนแรงต่อเนื่องเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และส่งผลต่อการลงพื้นที่และส่งผลต่อการทำงานรวมกลุ่มคนหมู่มากได้ค่อนข้างลำบาก แต่คณะอาจารย์รวมถึงคณะผู้ปฏิบัติงานทุกท่านยังคงปฏิบัติหน้าที่ของตนเองที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มความสามารถ และพร้อมที่จะพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ของพื้นที่ตำบลผไทรินทร์ให้ก้าวไกลและส่งเสริมเศรษฐกิจของชุมชนได้อย่างเต็มที่ ท้ายสุดแล้วคณะผู้ปฏิบัติงานและคณะอาจารย์ยังคงร่วมมือกันและมีความสามัคคีกันจึงทำให้โครงการสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

       

 

 

อื่นๆ

เมนู