หลักสูตร: HS04 โครงการยกระดับเศรษฐกิจ

และสังคมรายตำบล

แบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย

จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประจำเดือนธันวาคม 2564

 

ข้าพเจ้า  นางสาวภรภัทร สว่างอารมย์ ผู้ปฏิบัติงานประเภทประชาชน ปฏิบัติงานในเขตพื้นที่ตำบลผไทรินทร์  อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ สำหรับในเดือนธันวาคม มีการปฏิบัติงาน ดังนี้

              1.ในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2564 ได้เข้าร่วมประชุมโครงการการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นเชิงสหวิทยาการทั้งแบบออนไซต์และออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะเดิม เพิ่มทักษะใหม่และรายได้เสริมให้ประชาชนในพื้นที่บริการวิชาการของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ณ ห้องประชุมนุษยสังคมวัฒนา อาคาร 25 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ พิธีเปิดโครงการ โดย รองศาสตราจารย์มาลิณี จุโฑปะมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ กล่าวรายงาน โดย รศ.ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เสวนาการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นเชิงสหวิทยาการฯ มีผู้ร่วมเสวนา 5 ท่าน ดังนี้

  • นายสิทธิชัย สุดสวาท ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานบุรีรัมย์ ได้เสวนาเกี่ยวกับการทำหลักสูตรระยะสั้น โดยจะมีการฝึกอบรม สอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน วิชาชีพ ลายเส้น มีการสอบ พรบ.ส่งเสริมพัฒนาฝีมือแรงงาน และเครือข่ายการสร้างพันธมิตรก็เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการทำหลักสูตรระยะสั้น กลุ่มเป้าหมาย คือ แรงงานทั้งในระบบและนอกระบบ และได้สรุปสุดท้ายว่า ผู้นำ แกนนำและชุมชนจะต้องเข้าใจบริบทชุมชนของตนเอง
  • คุณไขแสง ซอกรัมย์ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.)ได้เสวนาเกี่ยวกับหลักสูตรระยะสั้นที่ทาง กศน.ได้จัดทำ คือ หลักสูตรจะให้ผู้เรียน เรียนรู้สูงสุด 50 ชั่วโมง ต้องสำรวจกลุ่มเป้าหมายโดยเน้นไปที่ประชาชนทั่วไป หรือผู้ที่พลาดโอกาสจากการเรียนภายในระบบ โดยทุกๆตำบลจะมีคุณครูรับผิดชอบ มีแบบสำรวจให้ประชาชน จุดมุ่งหมายของ กศน. คือ การสร้างอาชีพ ให้กลุ่มเป้าหมายสามารถนำไปประกอบอาชีพได้ วิทยากรจะเป็นปราชญ์ชาวบ้านโดยในหลักสูตรจะไม่สร้างขึ้นมาใหม่ จะยึดในพื้นที่ สิ่งที่ประชาชนเคยปฏิบัติอยู่แล้ว ในใบประกาศจะได้รับหลักสูตรเทียบระดับการศึกษา เกรดจะมี ผ่าน และไม่ผ่าน ใช้เวลาในการเรียนรวม 6 เดือน
  • นายปฐม นิ่มหัตถา วิทยาลัยชุมชนบุรีรัมย์ ด้เสวนาเกี่ยวกับการเน้นพัฒนาอาชีพ ก่อนประชาสัมพันธ์ จะมีการลงพื้นที่ สำรวจข้อมูล อาชีพหรือตลาดมีความต้องการอะไร ถ้าหลักสูตรสอดคล้องจะพัฒนาต่อแต่ถ้าหากไม่สอดคล้อง ทางวิทยาลัยชุมชนก็จะทำการสร้างหลักสูตรขึ้นมาใหม่ โดยเวลาในการเรียนรู้ 45 ชั่วโมง และสามารถเทียบโอนหน่วยกิตได้
  • นายอาทิตย์ จำปาตุม วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์ ได้เสวนาเกี่ยวกับหลักสูตรระยะสั้นที่ทางวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์ได้จัดทำ จะถูกนำไปแขวนไว้ที่เว็บไซต์ของกระทรวงอาชีวศึกษา มีทั้งหมด 1,000 หลักสูตร โดยแต่ละหลักสูตรจะขึ้นอยู่กับบอร์ดบริหารจะจัดการอบรมตามประเภทและภารกิจเร่งด่วน เป้าหมาย คือประชาชนที่ยังไม่มีอาชีพ ลงสำรวจพื้นที่ โครงสร้างหลักสูตรจะเน้นไปที่การปฏิบัติ ระยะเวลาในการเรียนรู้ 20 ชั่วโมงขึ้นไป แต่ไม่เกิน 30 ชั่วโมง จะใช้อาชีพเป็นฐานพัฒนาให้กับผู้เข้าอบรม และรายงานผลไปที่ส่วนกลาง ปรับปรุงหลักสูตรทุกๆ 5 ปี
  • ผศ.ดร.รพีพรรณ พงษ์อินทร์วงศ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ได้เสวนาเกี่ยวกับการนำหลักสูตรมาเทียบโอน โดยจะต้องมี 45 หน่วยกิตขึ้นไป ผู้เข้าอบรมสามารถนำต่อยอดและเรียนปริญญาตรีต่อได้ จะเป็นการเรียนทั้งในรูปแบบของออนไลน์และออนไซต์ ผู้เข้าอบรมจะได้พบปะอาจารย์ภายในมหาวิทยาลัยผ่านการเรียนหลักสูตรระยะสั้น

 

ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในระหว่างดำเนินโครงการ

  • นายสิทธิชัย สุดสวาท ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานบุรีรัมย์ ได้กล่าวถึงปัญหาส่วนใหญ่คือคน หลักสูตรจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จก็อยู่ที่คน คือ สร้างความเข้าใจ สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง แจ้งผู้เข้าอบรมให้ชัดเจนว่าเป็นโครงการให้เปล่า ติดตามผล หรือเป็นโครงการระยะยาว
  • คุณไขแสง ซอกรัมย์ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.)ได้กล่าวถึงปัญหาส่วนใหญ่คือ ช่วงวัย ซึ่งจะมีผู้สูงอายุที่อยู่บ้านเป็นหลัก ต้องสนใจกลุ่มเป้าหมายว่า เขาสนใจหลักสูตรที่ทางเราเปิดหรือไม่ ปัญหาที่สอง คือ เครื่องมือสื่อสารของผู้สูงอายุ และปัญหาที่สาม คือ เรื่องของสัญญาณ บางพื้นที่ไม่มีอินเทอร์เน็ตในการติดต่อสื่อสาร
  • นายปฐม นิ่มหัตถา วิทยาลัยชุมชนบุรีรัมย์ ได้กล่าวถึงปัญหา คือ ความเข้าใจ เรื่องค่าลงทะเบียน ของตอบแทน รวมไปถึงการสอบ และ อาชีพ/วัตถุอุปกรณ์ หาภาคีเครือข่ายขอความอนุเคราะห์อุปกรณ์ในกรณีที่ต้องการอุปกรณ์ในการลงพื้นที่
  • นายอาทิตย์ จำปาตุม วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์ ได้กล่าวถึงปัญหาคือภารกิจตามสถานการณ์ หรือนโยบาย และบุคคลทั้งภายใน ภายนอก
  • ผศ.ดร.รพีพรรณ พงษ์อินทร์วงศ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนได้กล่าวถึง ปัญหาคือ ถ้าพัฒนาแล้ว ใครจะมาเป็นคนดูแล และพัฒนาแล้วต้องสอดคล้องกับคนในท้องถิ่น

 

          2.ในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2564 ได้เข้าร่วมประชุมผ่านระบบออนไลน์ Google Meet พร้อมกับอาจารย์ประจำตำบลและผู้ปฏิบัติงาน ประชุมเกี่ยวกับการจัดทำหลักสูตรระยะสั้น โดยอาจารย์ประจำตำบลได้มอบหมายให้ผู้ปฏิบัติงานประเภทนักศึกษารับผิดชอบในส่วนของการตัดต่อวิดีโอในการจัดทำหลักสูตรระยะสั้นในครั้งนี้จะแบ่งออกเป็น 3 บท และผู้ปฏิบัติงานจะแบ่งหน้าที่ใน 3 บท ดังนี้ โดย บทที่ 1 คือ ประวัติความเป็นมา มีผู้รับผิดชอบทั้งหมด 6 คน บทที่ 2 ขั้นตอนการทำ มีผู้รับผิดชอบทั้งหมด 7 คน และ บทที่ 3 เรื่องลายตะกร้า มีผู้รับผิดชอบทั้งหมด 7 คน

 

         3.ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2564 ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของตะกร้า และค้นคว้าข้อมูลทางเว็บไซต์เกี่ยวกับประวัติความเป็นมารวมไปถึงแบ่งหน้าที่ในกลุ่มที่ได้รับมอบหมายให้ค้นคว้าหาข้อมูลและส่งไฟล์มาที่ข้าพเจ้า หลังจากนั้นข้าพเจ้าจะได้ทำการรวบรวมข้อมูลของผู้ปฏิบัติงานทุกคนส่งให้กับอาจารย์ประจำตำบลในลำดับต่อไป

 

         4.ในวันที่ 1 ธันวาคม 2564 ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมประชุมชี้แจ้ง การจัดการข้อมูล PBM CBD และ TSI โดยได้มี ดร.ชาติวุฒิ ธนาจิรันธร เป็นผู้ดำเนินรายการในครั้งนี้ เนื้อหาในการประชุมได้แจ้งกับทางผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการลงบันทึกข้อมูล CBD โดยให้ลงข้อมูลที่ชัดเจนและใช้ภาษาที่ถูกต้อง รวมไปถึงการกรอกเลขละติจูดและลองติจูด

 

        5.ในวันที่ 4 ธันวาคม 2564 ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงาน รวมถึงอาจารย์ประจำตำบล ได้ลงพื้นที่ หมู่ที่1 เพื่อสรุปการทำงานใน 11 เดือนที่ผ่านมา ได้มีชาวบ้านในบริเวณนั้นเข้าร่วมการอบรมในครั้งนี้ด้วยและหลังจากนั้นผู้ปฏิบัติงานได้ร่วมกันทำหลักสูตรระยะสั้นตามกลุ่ม อีกทั้งยังมีการมอบเงินสนับสนุนให้กับชาวบ้านเพื่อที่จะนำไปต่อยอดในการทำตะกร้าในลำดับต่อไป โดยได้มี รศ.ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นผู้มอบ

 

            สรุป จากการดำเนินงานในเดือนสุดท้ายในครั้งนี้ ผู้ปฏิบัติงานทุกท่านได้ให้ความร่วมมือกันเป็นอย่างดี เพื่อที่จะทำให้หลักสูตรระยะสั้นของตำบลไผทรินทร์ออกมาดีที่สุด และอาจารย์ประจำตำบลก็ได้มีการมอบเงินสบทบครั้งสุดท้ายสำหรับการซื้อเครื่องดัดโครงตะกร้าให้กับชาวบ้าน จะเห็นได้ว่า การทำงานในเฟสที่ 1 ของตำบลไผทรินทร์ดำเนินไปได้ด้วยดีและมีการพัฒนาเป็นขั้นตอนตามลำดับ

 

อื่นๆ

เมนู