หลักสูตร: HS04 โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประจำเดือน ธันวาคม 2564

ข้าพเจ้า นางสาวศกลวรรณ บุญจูง ผู้ปฏิบัติงานประเภทบัณฑิตจบใหม่ ปฏิบัติงานในเขตพื้นที่ตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้รับมอบหมายงานจากอาจารย์ประจำหลักสูตรให้ลงพื้นที่พร้อมกับทีมผู้ปฏิบัติงานที่บ้านโคกซาด หมู่ที่ 1 เพื่อเข้าร่วมอบรมความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของไผ่และติดตามความคืบหน้าในการสั่งซื้ออุปกรณ์ในการผลิตโครงตะกร้า และบ้านโคกงิ้วใหม่ หมู่ที่ 16 เพื่อศึกษาวิธีการสานตะกร้าและการออกแบบลายตะกร้า

เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรและทีมผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่ ณ ศาลากลางบ้าน หมู่ที่ 1 บ้านโคกซาด ในการติดตามการสั่งซื้อเครื่องดัดโครงตะกร้า โดยมีคุณอริสรา เภสัชชา(ผู้อำนวยการกองสวัสดิการสังคมประจำองค์การบริหารส่วนตำบลไผทรินทร์) ได้กล่าวถึงความเป็นมาของการจักสาน และได้กล่าวถึงความหมายของคำว่า จัก และสาน ดังนี้ การจัก คือการใช้มีดผ่าไผ่ให้เป็นแฉกและเส้นบางๆเพื่อสะดวกต่อการใช้งาน และการสาน คือการนำไม้ไผ่ที่จักออกแล้วเป็นเส้นบางๆนำมาขัดหรือสอดเข้าด้วยกันจนแน่นให้เกิดเป็นลวดลายตามที่ต้องการ

คุณตาสว่าง บึงจันทร์ กล่าวถึงการสนับสนุนโครงการจัดซื้อเครื่องดัดโครงตะกร้าไม้ไผ่ โดยทางคุณตาได้ทำการตรวจเช็คราคาอุปกรณ์ในการผลิตแล้วซึ่งมีราคาและคุณภาพแตกต่างกันออกไป ซึ่งราคาตัวยิงตะกร้าจะอยู่ที่ประมาณ 2000 บาท ทางคุณตาสว่างได้ทดลองลงมือทำโครงตะกร้าเอง โดยปัญหาที่พบคือไม้ไผ่นั้นมีความเหนียวทำให้การยิงตะปูเข้าไปนั้นเป็นไปได้ค่อนข้างยาก หากยิงเยอะเกินไปจะทำให้ไม้ไผ่แตก และปัญหามอดเจาะไม้ไผ่ จากนั้นคุณตาสว่างจึงได้แนะนำว่าให้นำไม้ไผ่ไปแช่น้ำก่อนจะนำมาสาน หรือใช้น้ำยาเคลือบเพื่อป้องกันไม่ให้มอดเจาะไม้ไผ่

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรและทีมผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่ ณ ศาลากลางบ้าน หมู่ที่ 16 บ้านโคกงิ้วใหม่ เพื่อเรียนรู้วิธีการสานตะกร้า โดยมีคุณป้าทองนาค ชนะนาน เป็นผู้ให้ความรู้ในการเริ่มสานตะกร้าและการขึ้นลวดลายของตะกร้า ทางอาจารย์ได้ทำการแบ่งกลุ่มให้ทีมผู้ปฏิบัติงานออกเป็น 3 กลุ่มเพื่อให้ศึกษาขั้นตอนการสานตะกร้าและเก็บข้อมูลทุกขั้นตอนอย่างละเอียด และให้นำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดไปจัดทำเป็นหลักสูตรระยะสั้นให้คนที่สนใจในการสานตะกร้ามาเรียนรู้ต่อไป

วันที่ 4 ธันวาคม 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรและทีมผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่ ณ ศาลากลางบ้าน หมู่ที่ 1 บ้านโคกซาด และได้ทำการเข้าร่วมอบรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์จักสานจากไม้ไผ่ การอบรมในครั้งนี้เป็นการสรุปงานทั้งหมดของโครงการเพื่อรับทราบปัญหาและความต้องการของคนในชุมชนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ทั้งตลอดโครงการนี้ทางทีมผู้ปฏิบัติงานและคนในชุมชนตำบลผไทรินทร์เองก็ได้แลกเปลี่ยนความรู้และร่วมมือกันทำงาน โดยทางชาวบ้านที่เป็นผู้ผลิตสินค้าเองก็ได้ถ่ายทอดความรู้ในการสานตะกร้าอย่างเต็มความสามารถ  ในภาคบ่ายคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้ทำการมอบเงินทุนสนับสนุนในการจัดหาซื้อเครื่องดัดโครงตะกร้าให้กับทางชาวบ้านได้มีเครื่องดัดโครงไม้ไผ่ใช้เองโดยไม่ต้องไปรับซื้อมาจากที่อื่นซึ่งมีราคาแพงกว่า

สรุปผลการดำเนินการลงพื้นที่ ตำบลไผทรินทร์ ประจำเดือนธันวาคม ทางทีมผู้ปฏิบัติงานได้ทำการลงพื้นที่เพื่อศึกษาและเรียนรู้วิธีการสานตะกร้าโดยเริ่มจากการทำโครงตะกร้าไปจนถึงการออกแบบลวดลาย ทางคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้มีโครงการเข้ามาที่ตำบลผไทรินทร์เพื่อที่จะพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในชุมชนให้กระจายสู่ตลาดออนไลน์และผลักดันผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น และได้มอบเงินทุนในการจัดซื้อเครื่องดัดโครงตะกร้าเองเพื่อที่จะลดต้นทุนในการรับซื้อโครงตะกร้ามาจากที่อื่น โดยจัดให้บ้านโคกซาด หมู่ที่ 1 นั้นเป็นที่จัดทำโครงตะกร้าส่งไปขายยังบ้านโคกงิ้วใหม่ หมู่ที่ 16 ที่เป็นที่จัดทำการสานตะกร้า เพื่อให้รายได้กระจายครอบคลุมทั้งสองหมู่บ้านและคนในชุมชนอีกด้วย

ภาพรวมการลงพื้นที่ปฏิบัติงาน

 

                     

                     

                     

อื่นๆ

เมนู