หลักสูตร: HS04 โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล
1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประจำเดือน ธันวาคม 2564

ข้าพเจ้า นางสาว วารุณี ไชยโสดา ผู้ปฏิบัติงาน ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ปฏิบัติงานในเขตพื้นที่ตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ประจำหลักสูตรให้ลงพื้นที่พร้อมทีมผู้ปฏิบัติงานเพื่อติดตามความคืบหน้าในการสั่งซื้ออุปกรณ์ในการผลิตโครงตะกร้าและเรียนรู้ข้อมูลการสานตะกร้าเพื่อประกอบเล่มหลักสูตรระยะสั้นและเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามเป้าหมาย

วันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรและทีมผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่ ศาลากลางหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 บ้านโคกซาด เพื่อติดตามการสั่งซื้อเครื่องดัดโครงตะกร้าและปัญหาในการผลิต ซึ่ง คุณลุงสว่าง บึงจันทร์ หนึ่งในทีมผู้ผลิตตะกร้าบ้านโคกซาดบอกว่า ได้เช็คราคาอุปกรณ์ในการผลิตแล้วซึ่งมีราคาและคุณภาพแตกต่างกันออกไป ตอนนี้กำลังหารือกับทีมงานอยู่ว่าจะใช้อุปกรณ์แบบไหน, คุณภาพ, และราคาเท่าไหร่เพื่อให้ตอบโจทย์กับการผลิตโครงตะกร้าในระยะยาว โดยคุณลุงสว่างยังบอกอีกว่า ไม้ไผ่ที่ดีและนิยมนำมาทำเครื่องจักสานหรือโต๊ะเก้าอี้นั้นควรมีอายุ 3 – 4 ปีขึ้นไปเพราะเวลาทำจะค่อนข้างทนแต่จะเจอปัญหามอดกินไม้ไผ่เหมือนกัน คุณลุงสว่างจึงแนะนำว่าให้นำไม้ไผ่ไปแช่น้ำก่อน แล้วจึงนำมาลนไฟแล้วเคลือบน้ำยาเพื่อป้องกันไม่ให้มอดกินไม้ไผ่

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรและทีมผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่ ศาลากลางหมู่บ้าน หมู่ที่ 16 บ้านโคกงิ้วใหม่ เพื่อเรียนรู้วิธีการสานตะกร้าในแต่ละส่วน ซึ่งกลุ่มของเราได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำลวดลายของขอบตะกร้า โดยมีวิทยากรคือ คุณขวัญใจ วิจิตรศักดิ์ เป็นผู้สอนในครั้งนี้ คุณป้าบอกว่าเราได้ทำลวดลายของขอบตะกร้า 3 รูปแบบ คือ 1.ขอบตะกร้าแบบปกติ 2.ขอบตะกร้าลายตาราง 3.ขอบตะกร้าลายจูงนาง ซึ่งในวันนี้เราได้เรียนรู้การทำลวดลายของขอบตะกร้าในแบบที่ 3 คือขอบตะกร้าลายจูงนาง อุปกรณ์ที่ต้องเตรียมสำหรับการทำลวดลายขอบตะกร้าในครั้งนี้ได้แก่ 1.โครงตะกร้า 2.หวายเทียมขนาด2-3มม. 3.กรรไกร 4.เข็ม หรือวัสดุที่สามารถงัดเส้นหวายเทียมเพื่อให้เกิดช่องในการสอดหวาย ซึ่งมีวิธีการทำดังนี้

  1. เริ่มจากการใช้หวายเทียมพันรอบขอบตะกร้า ถ้าจะขึ้นเป็นลายจูงนางควรใช้หวายเทียมวาง1หรือ3เส้นตรงกลางและขอบทั้ง2ข้าง โดยหวายเส้นที่จะสานเป็นลายจูงนางควรใช้ขนาด3มิลลิเมตรเพราะจะทำให้ลายไม่ดูเล็กมากจนเกินไปและจะทำให้ลายมีความโดดเด่นและสวยงาม
  2. เริ่มทำลายจูงนางโดยใช้หวาย 1 เส้นที่มีความยาวพอประมาณกับลวดลายที่เราจะสานเลือกใช้ด้านนูนเพื่อทำให้ลวดลายมีมิติ ใช้เข็มงัดที่เส้นหวายที่จะทำลวดลายตรงขอบตะกร้าขึ้น แล้วนำหวายที่จะใช้สานสอดใต้ช่องที่ 1 จากขวาไปซ้ายก่อนเสมอ ให้นำเข็มงัดหวายช่องที่ 3 ขึ้น นับจากช่องที่ 1 ขึ้นไป แล้วใช้หวายทางขวาสอดจากขวาไปซ้ายแล้วดึงให้ตึง จากนั้นใช้เข็มงัดหวายช่องที่ 1 ขึ้นอีกครั้งแล้วจึงนำหวายเส้นทางซ้ายที่เราดึงตึงสอดเข้าทางขวาของหวายช่องที่ 1 แล้วดึงให้ตึงเพื่อเป็นการขึ้นรูปช่องถัดไป
  3. เมื่อเราได้ปมแล้วก็เริ่มทำการสานลวดลายชั้นต่อไปได้เลย โดยเริ่มทำการนับจากหวายช่องที่ 1 ขึ้นไป 3 ช่องแล้วใช้เข็มงัดหวายช่องที่ 3 ขึ้น จากนั้นสอดหวายจากทางขวาไปทางซ้ายแล้วดึงให้ตึง และงัดหวายช่องที่ 2 ขึ้นโดยนับจากข้างล่างขึ้นบนไปเรื่อยๆจนจบถึงช่องสุดท้าย หากเราเหลือหวายยาวเกินไป อาจจะทำการตัดและซ่อนให้เหลือน้อยที่สุดหรืออีก1วิธีคือการสานย้อนกลับมา โดยจะย้อนกลับทางขวามาซ้ายเหมือนเดิม

วันที่ 4 ธันวาคม 2564 ทีมผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่ หมู่ 1 บ้านโคกซาด ณ ศาลากลางหมู่บ้าน เพื่อเรียนรู้การทำหลักสูตรระยะสั้นและสรุปผลการปฏิบัติงานประจำปี 2564 โดยจากผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมา ทั้งตัวผู้ปฏิบัติงานและประชาชนในตำบลไผทรินทร์ให้ความร่วมมือร่วมใจกันและถ่ายทอดความรู้ของตนเองออกมาอย่างเต็มที่และเต็มความสามารถ และทางด้านอาจารย์ประจำตำบลกับทีมผู้ปฏิบัติงานมีเป้าหมายจะผลักดันตะกร้าหวายเทียมให้ไปสู่ตลาดที่ใหญ่ขึ้นและเป็นที่รู้จักให้กว้างขึ้น

สรุปผลการดำเนินการและลงพื้นที่ ตำบลผไทรินทร์ ประจำเดือนธันวาคม ทีมผู้ปฏิบัติงานมีการลงพื้นที่เพื่อเรียนรู้วิธีการทำโครงตะกร้าและลวดลายของตะกร้า ซึ่งได้เรียนรู้ถึงขั้นตอนต่างๆของการทำตะกร้า ทำให้ผู้ปฏิบัติงานได้เข้าใจวิธีการจักสานและกว่าจะได้ตะกร้ามาแต่ละใบต้องใช้เวลาไปเท่าไหร่ และทำอย่างไรให้ลวดลายบนตะกร้าดึงดูดใจผู้ซื้อ เพื่อให้สามารถเพิ่มราคาให้กับผลิตภัณฑ์ได้และการลงพื้นที่ในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งในการเก็บข้อมูลเพื่อประกอบเป็นเล่มหลักสูตรระยะสั้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ทางทีมผู้ปฏิบัติงานได้ตั้งไว้

 ภาพการปฎิบัติงานประจำเดือน ธันวาคม 2564 ของ ตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

                 

              

วิดีโอประจำเดือนธันวาคม 2564 ต.ผไทรินทร์ อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

อื่นๆ

เมนู