หลักสูตร HS:04 โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ ประจำเดือนสิงหาคม

ข้าพเจ้า นางสาวจรรยา พันธ์โยศรี ผู้ปฏิบัติงานประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ในการปฏิบัติงานเดือนสิงหาคม  สถานการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า(COVID-19 ) มีการแพร่ระบาดมากขึ้นและในพื้นที่ตำบลผไทรินทร์มีผู้ติดเชื้อด้วย ข้าพเจ้าพร้อมด้วยทีมผู้ปฏิบัติงานได้ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานเพื่อให้เข้ากับสถานการณ์และป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค

วันที่ 24 กรกฎาคม 2564 เข้ารับฟังวิธีการเขียนรายงานการปฏิบัติงานประจำเดือนเพื่อประโยชน์ในการเขียนรายงานในครั้งถัดไป ผ่านทางแอพพลิเคชัน Microsoft Team เวลา 13:40-14:20 น. โดยมีอาจารย์ ดร. ชาติวุฒิ ธนาจิรันธรเป็นอาจารย์ผู้ดูแลเรื่องการเขียนรายงานการปฏิบัติงานของส่วนกลางรายละเอียดการประชุมดังต่อไปนี้

  1. ผู้ปฏิบัติงานต้องแก้ไขชื่อลิงค์ของบทความ โดยขึ้นต้นด้วยรหัสตำบล ตามด้วยเลขเดือน-ชื่อผู้เขียน (ภาษาอังกฤษ)และต้องเลือกหมวดหมู่ให้ถูกต้อง
  2. ผู้ปฏิบัติงานต้องบันทึกหน้าจอวีดีโอตำบลที่ตนเองรับผิดชอบพร้อมมีคำอธิบายด้านล่างวีดีโอตามที่ส่วนกลางกำหนดโดยต้องมีลิงค์ของโครงการ ลิงค์ของมหาวิทยาลัย และลิงค์ของคณะ พร้อมด้วยบันทึกหน้าจอของบทความผู้ปฏิบัติงานที่เผยแพร่ลงเว็บไซต์ให้ตรงกับลิงค์บทความตนเอง การคัดลอกลิงค์บทความทำได้ 2วิธี คือ วิธีที่1.คัดลอกจากหน้าจอการเขียนบทความโดยใช้เม้าส์ลากและคัดลอกลิงค์ถาวร วิธีที่2. คัดลอกจากURL โดยการเข้าเว๊บไซต์ www.u2t.bru.ac.th แล้วไปยังบทความที่ต้องการแล้วคัดลอก
  3. การลงชื่อเข้า-ออกงาน โดยแบ่งเป็นประเภทนักศึกษาให้ลงชื่อเข้า-ออกงานเฉพาะวันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ประชาชน และ กพร. ให้ลงเวลาเข้า-ออกงานทุกวัน ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ หากผู้ปฏิบัติงานที่ไม่ได้ลงเวลาเข้า-ออกงานจะถูกหักค่าตอบแทนตามอัตราของแต่ละประเภท หากไม่ดำเนินการลาภายในวันที่ 20 ของเดือนนั้นๆ และหากเกิน 3 ครั้งต่อเดือนจะถือว่าขาดงานและถูกหักค่าจ้างตามสัญญาเป็นรายวัน
  4. ในการเขียนรายงานการปฏิบัติงานทุกครั้งจะต้องแนบรูปการลงชื่อเข้า-ออกงานด้วยทุกครั้ง

วันที่28 กรกฎาคม ข้าพเจ้าพร้อมด้วยทีมผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่นำหน้ากากอนามัยและเจลแอลกอฮอล์ที่อาจารย์ประจำหลักสูตรตำบลผไทรินทร์และทีมผู้ปฏิบัติงานได้ดำเนินกิจกรรมการทำแอลกอฮอล์รวมทั้งสิ้นจำนวน 800 ขวด ไปแจกจ่ายเพื่อใช้ประโยชน์ในการการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า(COVID-19 )ดังนี้

  1. ศูนยกักกันตัวที่องค์การบริหารส่วนตำบลผไทรินทร์
  2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลผไทรินทร์
  3. ศูนย์กักกันตัวที่โรงเรียนรวมมิตรวิทยา
  4. ศูนย์กักกันตัวที่โรงเรียนหนองหัวช้าง
  5. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองมะค่า

จากการลงพื้นที่ทำให้ทราบว่าประชาชนที่มีภูมิลำเนาในตำบลผไทริทร์ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคมีความประสงค์เดินทางกลับมาในพื้นที่มีจำนวนมากทำให้ต้องมีการจัดเตรียมสถานที่ในการกักกันตัวเพื่อเฝ้าสังเกตอาการให้เพียงพอกับจำนวนของประชาชนที่เดินทางเข้ามา ดังนั้นจึงได้มีการจัดเตรียมสถานที่กักกันตัวที่โรงเรียนรวมมิตรวิทยาที่มีความเหมาะสมและพร้อมที่สุดในพื้นที่ไว้รองรับ แม้ว่าในสถานะการณ์ที่ยากลำบากนี้ แต่ก็ยังเห็นถึงความมีน้ำใจคนในชุมชนที่ร่วมแรงร่วมใจออกมาช่วยกันทำความสะอาดเตรียมความพร้อมของสถานที่ การที่หน่วยงานต่างๆ ผู้นำชุมชน ประชาชนในพื้นที่รวมทั้งทีมงานโครงการ u2t ให้ความร่วมมือช่วยเหลือกันเชื่อว่าทุกคนจะสามารถผ่านวิกฤติโรคระบาดนี้ไปได้

วันที่ 9สิงหาคม2564 ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูล ในระบบ cdb.u2t.ac.th เป็นการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผู้ที่ย้ายกลับบ้านเนื่องจากสถานการณ์โควิด แหล่งท่องเที่ยว ที่พัก/โรงแรม ร้านอาหารในท้องถิ่น อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น เกษตรกรในท้องถิ่น พืชในท้องถิ่น สัตว์ในท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น และแหล่งน้ำในท้องถิ่น พบว่าในหมู่ 7 บ้านสีชวา มีสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมคือวัดสีชวา ภูมิปัญญาในท้องถิ่นคือการทำกระติ๊บข้าวจากต้นไหล มีนายเตา รำพัน อายุ59 ปี เป็นปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเรื่องจักสาน กระติ๊บข้าวเป็นผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจเพราะเป็นสินค้าที่ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันต้องมีการซื้อซ้ำและที่สำคัญวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเป็นวัสดุที่สามารถหาได้ในชุมชนสามารถปลูกได้เอง มีกลุ่มที่ทำกระติ๊บข้าวประมาณ 15 ครัวเรือน นอกจากนี้ยังมีการทอเสื่อจากต้นกกไว้ใช้ในครัวเรือนและจำหน่ายแต่เนื่องจากสถานะการณ์การแพร่ระบาดของโรคจึงทำให้การจำหน่ายหยุดชะงักไป

สรุปการปฏิบัติประจำเดือนสิงหาคม

เป็นช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า(COVID-19)ที่รุนแรงมาก ในพื้นที่ตำบลผไทรินทร์มีผู้ติดเชื้อและผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงเดินทางเข้ามาในพื้นที่จำนวนมากจึงทำให้เป็นอุปสรรคในการลงพื้นที่ปฏิบัติงาน ในบางหมู่บ้านมีความเข้มงวดในการควบคุมดูแลผู้ที่เข้าออกหมู่บ้าน ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบติงานและเพื่อการปฏิบัติให้เป็นไปตามเป้าหมายผู้ปฏิบัติงานต้องติดตามข่าวสารและปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันการติดเช้อของโรคอย่างเข้มงวด

 

 

อื่นๆ

เมนู