หลักสูตร: HS04 โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประจำเดือน กันยายน 2564
ข้าพเจ้านายพีระพล เสาวโรรังสฤษฎ์ ผู้ปฏิบัติงาน ประเภทบัณฑิตจบใหม่ รับผิดชอบการดำเนินงานในเขตพื้นที่ตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ประจำหลักสูตร ในการลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จักสานตะกร้าหวายเทียม เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นให้แก่ชุมชน ซึ่งได้เริ่มศึกษาตั้งแต่การหาอุปกรณ์จนถึงการสานตะกร้า เพื่อสร้างมูลค่าและรายได้ให้แก่ชุนชน
วันที่ 20 สิงหาคม 2564 ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมประชุมออนไลน์เกี่ยวกับการจักสานตะกร้า เพื่อสร้างมูลค่าและรายได้ให้แก่ชุมชน โดยมีวิทยากร 2ท่าน คือ 1.อาจารย์ ดร.สินีนาฏ รามฤทธิ์ และ 2.คุณอริสรา เภสัชชา หัวข้อสำคัญในการประชุมออนไลน์ครั้งนี้
1.รูปแบบการตกแต่งลวดลายในการสานตะกร้า
โดยมีลวดลายให้เป็นเอกลักษณ์และให้โดดเด่น โดยให้กลุ่มผู้สานตะกร้าหาแนวคิดลวดลายเพื่อมาสาน ตะกร้าที่สานของแต่ล่ะท่านให้มีลวดลายโดดเด่นและให้แตกต่างกันไป จะมีทั้งลวดลายตัวอักษร ลวดลายผลไม้ หรือลวดลายสถานที่สำคัญประจำหมู่บ้าน เป็นต้น
2.แนวทางการพัฒนาสินค้า
รูปแบบที่แปลกใหม่มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่หลากหลาย และการผสมผสานวัสดุ เช่น การนําผ้า หนัง มาใช้ร่วม ลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์และสะดุดตา มีชุดคอลเล็กชั่นหลายสี เช่น รูปแบบลายเดียวกันแต่คนละสี มีชุดคอลเล็กชั่นที่หลายขนาด เช่น ขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ เพิ่มเทคนิคการตกแต่ง เช่น เทคนิคเดคูพาจ ผ้าลูกไม้ มีการนําเสนอที่น่าสนใจ เช่น การขายออนไลน์ต้องจัดองค์ประกอบมีฉากประกอบหรือมีสิ่งของมาประกอบ การจับคู่โทนสี ให้มีความสัมพันธ์กันไม้ขัดหรือแย้งกัน การผสมผสานสีการกระจายสีและการประยุกต์ใช้งาน หวายเทียมสามารถประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆได้เช่น โต๊ะ เก้าอี้ การออกแบบลวดลายโทนสี ขาว-ดํา จะสามารถจําหน่ายได้ตลอด อาทิเช่นนําไปใช้ในร้านอาหารในส่วนของ วิทยากรท่านที่สอง คุณอริสรา เภสัชชา ได้นําเสนอข้อมูลของการทําโครงตะกร้าของคนในชุมชน ซึ่งตอนนี้ใช้อุปกรณ์และภูมิปัญญาดั้งเดิมในการจัดทําปัจจุบันยังอยู่ในระหว่างการจัดหาอุปกรณ์เพื่อนํามาใช้ในการผลิต ด้านข้อมูลแนวความคิดในการออกแบบลวดลายที่เป็นอัตลักษณ์ของตําบลผไทรินทร์ ได้นําเสนอข้อมูลเกี่ยวกับปราสาทธรรมศาลา ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ตําบลผไทรินทร์ แต่ยังไม่มีข้อมูลรูปร่างของตัวปราสาทที่แท้จริง จะเป็นเพียงรูปร่างจากจินตนาการของผู้เฒ่าผู้แก่ ซึ่งจะได้ทําการสืบค้นข้อมูลในลําดับต่อไป
วันที่ 14 กันยายน 2564 ข้าพเจ้าและทีมงานได้ลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลการจักสานตะกร้า ในการเรียนรู้การสานตะกร้าของชุมชน เริ่มสอบถามตั้งแต่การเริ่มหาวัสดุอุปกรณ์ วัสดุอุปกรณ์ ที่ชุมชนนำมาใช้ในตอนนี้ คือ ไม้ไผ่ หรือหวาย เป็นหลัก โดยเริ่มจากการสานโครงสร้าง ออกแบบลวดลาย ก่อนจะสานจนเสร็จสิ้นขั้นตอน และนำไปจำหน่าย ในการลงพื้นที่ครั้งนี้ ยังไม่สามารถทราบข้อมูลการสานตะกร้ามากนัก เนื่องด้วยสถานการณ์ โควิด-19 ที่ระบาดหนัก
สรุปผลการปฏิบัติงาน
1.ข้าพเจ้าได้ประชุมออนไลน์ในหัวข้อสำคัญเกี่ยวกับการจักสาน โดยให้มีการออกแบบลวดลายให้โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ และแนวทางการพัฒนาสินค้าเพื่อให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น
2.ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่ศึกษาหาความรู้จากชาวบ้านเรื่องจักสาน การออกแบบลวดลายให้สวยงาม การลดต้นทุน และการนำสิ่งของที่มีอยู่ในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น เพื่อให้ประชาชนมีอาชีพเสริมสร้างรายได้ให้แก่ประชาชน และข้าพเจ้าจะนำความรู้มาปรยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ต่อไป

อื่นๆ

เมนู