หลักสูตร: HS04 โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประจำเดือน พฤษภาคม

ข้าพเจ้า นางสาวจุรีพร วิเศษศรี ผู้ปฏิบัติงานประเภทประชาชน ปฏิบัติงานในเขตพื้นที่ตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ทำการลงพื้นที่ปฏิบัติงานพร้อมด้วยอาจารย์ประจำหลักสูตรและทีมผู้ปฏิบัติงาน ต.ผไทรินทร์ เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2564 โดยได้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ”การวิเคราะห์ตลาดเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์จักสาน” ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ณ หอประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลผไทรินทร์ โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับความรู้ด้านผลิตภัณฑ์เครื่องจักรสาน ตำบลผไทรินทร์มีการจัดกลุ่มอาชีพหลากหลายกลุ่ม แต่หลักๆจะมีกลุ่มจักรสานและกลุ่มเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มกันของ กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มแม่บ้าน และกลุ่มคนพิการ เพื่อให้เกิดรายได้ จึงมีการรวมหลายๆผลิตภัณฑ์เป็นกลุ่มตะกร้าหวายเทียมกลุ่มเดียว ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ได้แก่ ตะกร้าหวายเทียม ตะกร้าเชือกฟาง กระติ๊บข้าว ไม้กวาดทางมะพร้าว และไม้กวาดจากขวดพลาสติก อีกทั้งยังให้ความรู้ในการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ หลักการสำคัญในการจำหน่ายสินค้าคือ ขายแล้วต้องไม่ขาดทุน ดังนั้น เจ้าของสินค้าจำเป็นต้องมีความรู้ดังนี้

1.ต้องคำนวณต้นทุนให้เป็น ทั้งต้นทุนของวัตถุดิบและค่าแรงงาน

  1. จุดเด่น จุดด้อย ข้อแตกต่างจากสินค้าประเภทเดียวกันอย่างไร
  2. การสร้างแบรนด์ให้กับสินค้า
  3. สินค้าต้องใช้ได้จริง

เพื่อให้ผลิตภัณฑ์นั้นสร้างรายได้จริงๆ ไม่ใช่ทำเพราะเขาให้ทำ ถ้าหากทำแล้วขายไม่ได้ ขายยาก หรือใช้เวลานาน ก็ต้องเปลี่ยนไปทำสินค้าประเภทอื่น

จากนั้นข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้รับมอบหมายจากอาจารย์ประจำหลักสูตร ให้ลงพื้นที่สำรวจผลิตภัณฑ์ด้านจักสาน และเก็บข้อมูลเพิ่มเติมของแต่ละหมู่บ้านในตำบลผไทรินทร์ทั้ง19 หมู่บ้าน โดยข้าพเจ้าได้รับมอบหมายในการลงพื้นที่หมู่ 1,9 บ้านโคกซาดต.ผไทรินทร์ อ.ลำปลายมาศ  จ.บุรีรัมย์ ซึ่งเมื่อวันที่ 5-8 พฤษภาคม ข้าพเจ้าได้ดำเนินการลงพื้นที่สำรวจและจัดเก็บข้อมูลโดยได้ทำการประสานงานไปยังผู้ใหญ่บ้านเพื่อขออนุญาตในการลงพื้นที่เพื่อดำเนินงานและข้าพเจ้าได้สอบถามข้อมูล นายสว่าง บึงจันทร์ ซึ่งเป็นนักปราชญ์ประจำหมู่บ้าน ได้สอบถามประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านโคกซาดซึ่งเป็นหมู่หนึ่งในจำนวน19หมู่บ้านของตำบลไผทรินทร์อยู่ทิศตะวันออกของตำบลผไทรินทร์ทิศใต้ของอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์  รอยอดีตเมื่อประมาณปี พ.ศ.2435 ได้มีพรานขำ พรานแปะ และพรานบัวซึ่งเป็นชาวร้อยเอ็ดได้อพยบครอบครัวจากร้อยเอ็ดมาตั้งถิ่นฐานอยู่เนินโคกซาดน้อยประกอบอาชีพทำนาและล่าสัตว์ในสมัยก่อนนั้นพื้นที่ของหมู่บ้านเป็นป่าดงดิบขนาดใหญ่ตลอดทั้งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพันธุ์ ธัญญาหารและสัตว์ป่านาๆชนิดมีห้วยรอบบ้าน มีหนองกางปลาหลายหนองและมีพืชพันธุ์ต้นไม้ใหญ่มากมาย แต่ที่มีมากที่สุดคือพันธุ์ไม้ซาด ต่อมาพรานขำ พรานแปะและพรานบัวเห็นว่าพื้นที่แห่งนี้มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การปักหลักสร้างฐาน บ้านเรือน จึงกลับไปชักชวนญาติพี่น้องของตนอพยบมาอยู่ ณ ที่แห่งนี้เวลาต่อมาจึงเรียกชื่อหมู่บ้านของตนตามเนินและตามชื่อ พันธุ์ไม้ซาด ว่า บ้านโคกาด

หลักตำนานความเชื่อของหมู่บ้าน

1.สดือหมู่บ้าน ชาวบ้านใช้ไม้ที่มีชื่อเป็นมงคลมาทำเป็นเสาจำนวน 5 ต้น ต้นที่อยู่กลางจะสูงกว่าต้นอื่นนำมาฝั่งที่กลางหมู่บ้าน เรียกว่า หลักบ้านหลักเมือง ที่ตั้งอยู่ในบริเวณทิศใต้โรงเรียนวัดบ้านโคกซาด

2.ศาลเจ้าพ่อขุนด้าน (ตาปู) ตั้งอยู่ที่สามแยกกลางหมู่บ้านเดิมมีต้นไทรใหญ่ปกคลุม ปัจจุบันต้นไทรใหญ่ตายแล้วเหลือแต่ศาลเจ้าพ่อชาวบ้านเคารพนับถือมากจะมรการเลี้ยงตาปูทุกปี เพื่อขอพรให้ท่านรักษาภัยพิบัติต่างๆและให้เกิดความผาสุขทุกครอบครัว  ต่อมากหมู่บ้านโคกเริ่มขยายออกมามีจำนวนครัวเรือนเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆจนถึงปัจจุบันซึ่งเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ทำให้ต้องแบ่งการปกครองออกเป็น 2 หมู่บ้านคือหมู่บ้านโคกซาดหมู่1และหมู่บ้านโคกซาดน้อย หมู่9 เพื่อง่ายต่อการ ชาวบ้านมีอาชีพหลัก คือ ทำไร่ทำนา ตามช่วงฤดูกาล อาชีพเสริมได้แก่การเลี้ยงสัตว์(วัว,ควาย) ทำไร่มันสำปะหลัง กรีดยางพาราและยังสอบถามในด้านผลิตภัณฑ์จักสานในหมู่บ้านโคกซาดมีการทำหลายอย่าง เช่น การทำตะกร้าหวาย การทอผ้าไหม  การสานสวิง การทอเสื้อ ข้อมูลการทำตะกร้าหวายเทียมจะมีผู้ที่ผลิตเพียง1ท่านคือ คุณตาสว่าง บึงจันทร์ โดยได้รับการประสานงานด้านวิธีการ วัตถุดิบ จากองค์การบริหารส่วนตำบลไผทรินทร์ ส่วนใหญ่จะใช้เวลาว่างจากการทำไร่ทำสวนมาจักสานตะกร้าหวายเทียมขายให้กับผู้ที่สั่งจอง หรือคนในชุมชนหรือลูกหลานที่ทำงานอยู่กรุงเทพแต่ยังไม่มีกลุ่มจักสานตะกร้าหวายที่เป็นกลุ่มแม่บ้าน ทำเพียงแต่ผู้ที่สนใจบางท่านในหมู่บ้านเท่านั้น

ในด้านของการเก็บข้อมูลตามแบบสอบถามของหมู่บ้านโคกซาด จะมีข้อมูลในด้าน อาหาร, พืชในท้องถิ่น, สัตว์ในท้องถิ่น,แหล่งน้ำ  ร้านอาหารจะมีเพียงร้านก๋วยเตี๋ยว 1-2 ร้าน รานค้าชุมชนจะมี 2 ร้าน ในส่วนที่ไม่มีข้อมูลเลยคือ ที่พักในชุมชน, ผู้ที่กลับบ้านจากสถานการณ์โควิด-19 ,แหล่งท่องเที่ยว

เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2564  เวลา 9.00น-15.00น ข้าพเจ้าได้ร่วมรับชมกิจกรรมงานบุญผ้าป่า-ปาฐกถาชุมชนออนไลน์ ผ่านช่องทาง YOUTUBE   เวลา 9.00น-15.00น สถานที่จัดกิจกรรม ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านโคกว่าน ต.หนองโสน อ.นางรอง  จ.บุรีรัมย์  การปาฐกถาชุมชนออนไลน์ (ยักษ์ จับ โจน)  วิทยากรท่านแรกคือ อาจารย์วิวัฒน์  ศัลยกำธร(ยักษ์)ท่านได้รับใช้ในหลวงรัชกาลที่ 9 มาเป็นเวลานาน ถือได้ว่ามีความรู้ในด้านเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเชี่ยวชาญ  ท่านได้ให้แนวคิดในด้านความพอเพียง ความพอเพียงมีหลายมิติ  อาหารพอเพียง ที่อยู่อาศัยพอเพียง การสร้างป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง การปลูกป่าเพื่อรักษาความชื้น การไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อมนุษย์  วิทยากรท่านที่สองคือ ท่านโจน จันได ท่านได้ให้แนวทางการใช้ชีวิตต่อไปในอนาคต การอยู่บนพื้นฐานของปัจจัย 4 นับว่ามีความสำคัญ  เศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้ปฏิเสธความร่ำรวย แต่ชีวิตจะต้องมีความมั่นคง มีรากฐานที่แน่นแล้วค่อยสร้างความร่ำรวย  เงินเป็นสิ่งที่ไม่มีความมั่นคง  ความมั่นคงที่แท้จริงคือ ความพอเพียง คือหนทางสุดท้ายที่เรียบง่ายที่สุด

เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2564 ข้าพเจ้าได้เข้าร่วม อบรบเชิงปฎิบัติการ การพัฒนาวิธีการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ บรรยายโดย 1.คุณ อริสรา เภสัชชา การผสมผสาน  เชือกมัดฝาง ,ต้นกก,ต้นไหล,ตอกไม้ไผ่ย้อมสี ซึ่งนำมาแทนหวายเทียมแต่ปัญหาที่เกิดคือ ไหลแตกไหลหัก ต้องแช่น้ำก่อนหรือพรมน้ำตลอด และเชือดมัดฝางจะดูเหมือนไม่คงทนจะผุง่ายขาดงายกว่าหวาเทียมวิธีการแก้ปัญหา ต้องขูดไส้ในต้นไหลออกก่อนแล้วเอามาแบ่งออกเป็น2ส่วนซึ่งจะทำให้เสียเวลาในการทำแต่ต้นไหลจะไม่แตกไม่หักเวลาเราจักสาน จุดประสงค์คือ ทำง่าย ใช้เวลาน้อย สวยงาม

2.ดร.สินีนาฏ เสนอแนะเกี่ยวกับ การออกแบบการดีไซร์ลวดลายของผลิตภัณฑ์ได้อย่างหลากหลายและทำอย่างไรให้กลุ่มลูกค้าต้องการหรือสนใจในผลิตภัฑ์ให้มากขึ้น

3.อาจารย์ อานนท์ ด่านดอน ซึ่งแนะนำเกี่ยวการแปรรูปจากไม้ไผ่ให้ได้หลายหลากรูปแบบ และสามารถทำให้ผลิตภัณท์ขายได้ –สินค้ามีโอกาสชื้อซ้ำ

-ต้องขายได้ตัองมีกำไร

-ทำยังไงให้มีมูลค่าให้มีกำไร

-การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น

สรุปผลการลงพื้นที่ ตำบลผไทรินทร์ ประจำเดือน พฤษภาคม

1.ในด้านกิจกรรมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ”การวิเคราะห์ตลาดเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์จักสาน” ได้รับความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ การเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์

2.ในด้านการลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามแบบสอบถาม ได้รับความร่วมมือจากประชาชนในชุมชนเป็นอย่างดี

3.ด้านกิจกรรมงานบุญผ้าป่า-ปาฐกถาชุมชนออนไลน์ ได้ทราบถึงการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง พออยู่ พอกิน

4.อบรบเชิงปฎิบัติการ การพัฒนาวิธีการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ คือ ต้องทำให้ผลิตภัณฑ์จักสานเกิดรายได้โดยใช้ต้นทุนต่ำผลิตภัณฑ์ต้องขายได้ มีกำไร

 

 

อื่นๆ

เมนู