หลักสูตร: HS04 โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประจำเดือน พฤษภาคม

ข้าพเจ้า นางสาวขนิษฐา วังหิน ผู้ปฏิบัติงานประเภทบัณฑิตจบใหม่ ปฏิบัติงานในเขตพื้นที่ตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ทำการลงพื้นที่ปฏิบัติงานพร้อมด้วยอาจารย์ประจำหลักสูตรและทีมผู้ปฏิบัติงาน ต.ผไทรินทร์

เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2564 ได้มีตัวแทนไปเข้าร่วมกิจกรรม โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การวิเคราะห์ตลาดเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์จักสาน” ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ณ หอประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลผไทรินทร์ โดยคุณอริสรา เภสัชชา ตำแหน่งผู้อำนวยการกองสวัสดิการสังคม องค์การบริหารส่วนตำบลผไทรินทร์ เป็นวิทยากร แนะนำข้อมูลผลิตภัณฑ์ด้านจักสานของตำบลไผทรินทร์ มีการจัดกลุ่มอาชีพหลากหลายกลุ่ม แต่หลักๆจะมีกลุ่มจักสานและกลุ่มเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มกันของ กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มแม่บ้าน และกลุ่มคนพิการ เพื่อให้เกิดรายได้ จึงมีการรวมหลายๆผลิตภัณฑ์ เช่น  ตะกร้าหวายเทียม  ไม้กวาดทางมะพร้าว  ไม้กวาดจากวัสดุรีไซเคิล ตะกร้าถักจากเชือกมัดฟาง เป็นต้น  ซึ่งในแต่ละหมู่บ้านจะมีการจัดทำผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกันไป  โดยในตอนนี้ได้ผลักดันการผลิตตะกร้าหวายเทียมให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นชื่อของตำบลผไทรินทร์ มีการขอขึ้นทะเบียนเป็นสินค้า OTOP แต่ยังติดปัญหา เนื่องจากทางสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอลำปลายมาศยังไม่ได้ดำเนินการขึ้นทะเบียนให้ ซึ่งจะต้องดำเนินการติดตามผลให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ต่อไป ส่วนในด้านแนวการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์  คุณอานนท์ ด่านดอน  ตำแหน่ง รองผู้จัดการศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์   ได้ให้แนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านการจักสานแก่ชุมชนว่า หลักการสำคัญในการจำหน่ายสินค้าคือ ขายแล้วต้องไม่ขาดทุน ดังนั้น เจ้าของสินค้าจึงจำเป็นที่จะต้องต้องมีความรู้ดังนี้

1.ต้องคำนวณต้นทุนให้เป็น ทั้งต้นทุนของวัตถุดิบและค่าแรงงาน

2.จุดเด่น จุดด้อย ข้อแตกต่างจากสินค้าประเภทเดียวกันอย่างไร

3.การสร้างแบรนด์ให้กับสินค้า

4.สินค้าต้องใช้ได้จริง

หลักการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์

1.การพัฒนาสินค้าให้เด่นเพียงตัวเดียวให้ได้ก่อนแล้วค่อยพัฒนาตัวอื่นไม่ควรพัฒนาสินค้าหลายๆตัวพร้อมๆกัน

2.การหากลุ่มเป้าหมายในการจำหน่ายสินค้า

3.การหาอัตลักษณ์ของชุมชนเพื่อสร้างเอกลักษณ์ให้กับสินค้า

ซึ่งในตอนท้ายได้มอบหมายงานให้กับกลุ่มผู้ผลิตตะกร้าหวายเทียมจำนวน 5 กลุ่ม ได้ดำเนินการคิดค้น ออกแบบการผลิตตะกร้าโดยใส่อัตลักษณ์ที่โดดเด่นของของชุมชนตำบลผไทรินทร์ เพื่อสามารถนำมาผสมผสานและต่อยอดให้กับผลิตภัณฑ์ในการอบรมครั้งต่อไป

เมื่อวันที่ 5-6 พฤษภาคม 2564 ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้รับมอบหมาย ให้ลงพื้นที่เก็บข้อมูล ในด้านของแหล่งท่องเที่ยว ที่พัก/โรงแรม ร้านอาหารในท้องถิ่น อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น เกษตรกรในท้องถิ่น พืชในท้องถิ่น สัตว์ในท้องถิ่น แหล่งน้ำในท้องถิ่น ภูมิปัญญาในท้องถิ่นและผู้ที่ย้ายกลับบ้านเนื่องจากสถานการณ์โควิด ของหมู่บ้านในตำบลผไทรินทร์ ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายในการลงพื้นที่ บ้านหนองมะค่า หมู่ 8 ต.ผไทรินทร์ อ.ลำปลายมาศ  จ.บุรีรัมย์ ข้าพเจ้าได้ดำเนินการลงพื้นที่สำรวจและจัดเก็บข้อมูล โดยได้ทำการประสานงานไปยังผู้ใหญ่บ้านเพื่อขออนุญาตในการลงพื้นที่เพื่อดำเนินงาน และได้รับความอนุเคราะห์จากผู้นำชุมชนรวมถึงชาวบ้านเป็นอย่างดี  ข้าพเจ้าได้สอบถามข้อมูลจาก คุณยายพุด  พันธ์มณี ซึ่งเป็นคนเฒ่าคนแก่ในหมู่บ้าน ได้เล่าประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านว่า เดิมเคยมีคุณตาโจ๊ะ มาอาศัยอยู่ก่อนแต่ด้วยสภาพพื้นที่แห้งแล้งไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ จึงได้ย้ายออก แต่ไม่นานคุณตาโจ๊ะ ก็กลับมาอยู่ในหมู่บ้านนี้เช่นเดิม เมื่อประมาณ 50 ปีที่แล้วหมู่บ้านหนองมะค่าเป็นพื้นที่ป่าสงวนที่มีสภาพเสื่อมโทรม พ่อลา พันธ์มณี ซึ่งเป็นคนจังหวัดสุรินทร์ได้เข้ามาอยู่อาศัยและเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งหมู่บ้านหนองมะค่าขึ้น เดิมมีผู้อยู่อาศัยประมาณ 30 หลังคาเรือนโดยส่วนใหญ่จะเป็นคนส่วยที่ย้านถิ่นฐานมาจากจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งในปัจจุบันมีผู้อยู่อาศัยเกือบ 300 หลังคาเรือน ซึ่งเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ทำให้ต้องแบ่งการปกครองออกเป็น 2 หมู่บ้านคือหมู่บ้านหนองมะค่า หมู่ 8 และหมู่บ้านหนองมะค่าใหม่ หมู่ 17 เพื่อให้ง่ายต่อการดูแล การเก็บข้อมูลตามแบบสอบถามของหมู่บ้านหนองมะค่า จะมีข้อมูลแหล่งน้ำในท้องถิ่น 2 แหล่ง คือ แหล่งน้ำหนองตาโจ๊ะ ซึ่งตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่คุณตาโจ๊ะที่ได้เริ่มเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านก่อน และอีกแหล่งคือ แหล่งน้ำหนองตาจาน และข้อมูลที่พบในท้องถิ่นมากสุดคือ พืชในท้องถิ่น,สัตว์ในท้องถิ่น,ร้านอาหาร,อาหารในท้องถิ่นและภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่วนข้อมูลที่พบน้อยสุดหรือไม่พบเลย คือ ที่พักในชุมชน, ผู้ที่กลับบ้านจากสถานการณ์โควิด-19 ,แหล่งท่องเที่ยว

เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2564  เวลา 9.00-15.00 น. ข้าพเจ้าได้ร่วมรับชมกิจกรรมงานบุญผ้าป่า-ปาฐกถาชุมชนออนไลน์ ผ่านช่องทาง YOUTUBE สถานที่จัดกิจกรรม ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านโคกว่าน ต.หนองโสน อ.นางรอง  จ.บุรีรัมย์  โดยมีนางสาวเพชรรัตน์  ภูมาศ  นายอำเภอนางรอง กล่าวรายงาน และนายธัชกร  หัตถาธยากูล  ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์เป็นประธานเปิดงานผ่านระบบออนไลน์ การปาฐกถาชุมชนออนไลน์ (ยักษ์ จับ โจน)  วิทยากรท่านแรกคือ อาจารย์วิวัฒน์  ศัลยกำธร (ยักษ์)  ได้ให้แนวคิดในด้านความพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 ความพอเพียงมีหลายมิติ  อาหารพอเพียง ที่อยู่อาศัยพอเพียง การไม่ทำลายป่าไม้ ไม่ทำลายสภาพแวดล้อม เพื่อป้องกันการเกิดผลกระทบต่อมนุษย์ ในส่วนของ ท่านโจน จันได ได้ให้แนวทางการใช้ชีวิตไม่ว่าจะเป็น การอยู่ การกิน การสร้างความสุขในชีวิต การสร้างรากฐานบนความพอเพียง

เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2564  เวลา 8.00-12.00 น. ข้าพเจ้าได้ข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาวิธีการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ รายละเอียดการอบรมมีดังนี้ คุณอริสรา เภสัชชา ตำแหน่งผู้อำนวยการกองสวัสดิการสังคม องค์การบริหารส่วนตำบลผไทรินทร์ ได้กล่าวถึงปัญหาจากการทำตะกร้า ด้วยวัสดุต่างๆ เช่น การใช้ไหลในการสานตะกร้า ไหลเกิดการแตกหักง่ายแก้ปัญหาโดยการนำไหลไปแช่น้ำตลอดผ่าไหลเป็นครึ่งซีก และขูดไส้ในออก ลักษณะจะคล้ายหวายเทียม และการใช้ตอกไม้ไผ่ในการสาน ตอกก็เกิดการแตกหักง่าย และยังต้องซื้อตอกไม้ไผ่สำเร็จมาสาน ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ทางแก้ปัญหาคือ ต้องแช่น้ำและใช้กระดาษแนปกิ้นเพื่อปิดรอยทับรอยรั่ว ลวดลายอาจจะมีความทันสมัยมากขึ้น และอยากให้มีการทำโครงตะกร้าหวาย และตอกไม้ไผ่ที่มีในชุมชน เพื่อลดต้นทุนการผลิต ในส่วนของ ดร.สินีนาฏ เสนอแนะเกี่ยวกับ การออกแบบการดีไซน์ลวดลายการสร้างเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ได้อย่างหลากหลายและทำอย่างไรให้กลุ่มลูกค้าต้องการหรือสนใจในผลิตภัณฑ์ให้มากขึ้น และอานนท์ ด่านดอน ได้แนะนำเกี่ยวการแปรรูปจากไม้ไผ่ให้ได้หลายหลากรูปแบบ และสามารถทำให้ผลิตภัณฑ์ขายได้ สินค้ามีโอกาสชื้อซ้ำ ต้องขายได้ ต้องมีกำไร ทำอย่างไรให้มีมูลค่าให้มีกำไร มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น โดยใช้ต้นทุนต่ำแต่เกิดรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น

สรุปผลการปฏิบัติงาน ตำบลผไทรินทร์ ประจำเดือน พฤษภาคม ในด้านกิจกรรมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การวิเคราะห์ตลาดเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์จักสาน” ข้าพเจ้าได้รับความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ การเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ ส่วนในด้านการลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามแบบสอบถาม ได้รับความร่วมมือจากประชาชนในชุมชนเป็นอย่างดี อีกทั้งกิจกรรมงานบุญผ้าป่า-ปาฐกถาชุมชนออนไลน์ ข้าพเจ้าได้ทราบถึงการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง พออยู่ พอกิน ได้แนวทางจากอบรบเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาวิธีการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่

ภาพประกอบการลงพื้นที่ปฏิบัติงาน

วิดีโอแนะนำชุมชน ต.ผไทรินทร์ อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ ประจำเดือนพฤษภาคม

อื่นๆ

เมนู