หลักสูตร: HS04 โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล
1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประจำเดือน กันยายน 2564
ข้าพเจ้า นางสาวขนิษฐา วังหิน ผู้ปฏิบัติงานประเภทบัณฑิตจบใหม่ ปฏิบัติงานในเขตพื้นที่ตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ประจำหลักสูตรให้ทีมผู้ปฏิบัติงานวางแผนและแบ่งหน้าที่การปฏิบัติงาน เนื่องด้วยในช่วงที่ผ่านมาเกิดการแพร่กระจายของไวรัสโควิด-19 ทำให้คนในพื้นที่ติดเชื้อเป็นจำนวนมากรวมทั้งผู้ที่มาจากพื้นที่เสี่ยง เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามเป้าหมาย
เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2564 เวลา 09.00 น.ข้าพเจ้าพร้อมด้วยทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลผไทรินทร์ ได้เข้าร่วมประชุมผ่านระบบออนไลน์ แอพพลิเคชั่น Google meet ในหัวข้อการส่งเสริมการทำวัสดุจากไม้ไผ่ โดยมี อาจารย์ชมพู อิสริยาวัฒน์ กล่าวเปิดการประชุมและชี้แจงเป้าหมายหลักของการดำเนินโครงการ และดร.สินีนาฏ รามฤทธิ์ ได้กล่าวถึง การออกแบบผลิตภัณฑ์และแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม จากผลิตภัณฑ์ที่คุ้นเคย พัฒนาขึ้นมาให้หลากหลายมากขึ้น เช่น แก้วไม้ไผ่ที่วางตามร้านอาหาร หรือพัฒนาให้ทันสมัยมากขึ้น เช่น นาฬิกา เก้าอี้ พวงมาลัยรถยนต์ แว่นตา สเกตบอร์ด ขวดน้ำ งานตกแต่ง ฟอร์นิเจอร์ กระเป๋าสะพายหลัง และ เพิ่มเติมในเรื่องของสีสันให้เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้า มีการใช้สื่อโซเชียลในการประชาสัมพันธ์ นอกจากนี้ยังได้ให้แนวคิดในการออกแบบลาย โดยอ้างอิงตัวอย่าง ผ้าอีสานที่มีสีสันและลวดลายต่างกันเป็นจำนวนมาก ได้แก่ ลายจากสิ่งของใกล้ตัวที่ใช้ในชีวิตประจำวันและลายที่เกิดจากความเชื่อและจินตนาการนายช่างเองหากพิจารณาลายผ้าตามแหล่งที่มาหรือต้นกำเนิดพอแบ่งได้เป็น 4 ลาย ได้แก่ 1. ลายธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ตนได้พบเห็น ได้แก่ ลายดอกไม้ ใบไม้ และผลไม้ ลายสัตว์ ฯลฯ 2. ลายจากสิ่งของเครื่องใช้ ได้แก่ ลายขอ ลายกุญแจ ลายลูกโซ่ ลายบันได ลายขาเปีย ลายขันกระหย่อง ฯลฯ 3. ลายจากความเชื่อทางศาสนาและจินตนาการในวรรณคดี ได้แก่ ลายธรรมมาสน์ ลายขันหมากเบ็งจ์ ลายหอปราสาท ลายนาค ลายสิงค์ ลายหงส์ ฯลฯ 4. ลายประดิษฐ์หรือลายผสม ลายประยุกต์ เป็นลายที่เกิดจากเทคนิคการผสมผสานให้เกิดลายใหม่ ได้แก่ ตัวอักษร รูปทรงอิสระ ฯลฯ ส่วนแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตะกร้าจักสาน ได้แก่ รูปแบบที่แปลกใหม่ มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่หลากหลาย การผสมผสานวัสดุ ลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์และสะดุดตา มีชุดคอลเลคชั่นหลายขนาด เพิ่มเทคนิคการตกแต่ง เช่น สติกเกอร์หรือกระดาษละลายน้ำ การจับคู่โทนสี และการนำเสนอที่น่าสนใจ ในส่วนของ คุณอริสรา เภสัชชา ผู้อำนวยการกองสวัสดิการสังคมประจำองค์การบริหารส่วนตำบลผไทรินทร์ ได้กล่าวถึง การหาผู้ที่มีความรู้ในการทำโครงตะกร้า และการลดระยะเวลาในการทำแต่รูปแบบและลวดลายทันสมัยขึ้น
เมื่อวันที่29 สิงหาคม 2564 เวลา 08.00 น. ทีมผู้ปฏิบัติงานได้ดำเนินการลงพื้นที่เพื่อติดตามผลการดำเนินงานในชุมชนพร้อมกับการศึกษาวิธีการสานตะกร้าจากหวายเทียม ณ บ้านเลขที่ 103 บ้านโคกงิ้วใหม่ หมู่ที่16 ตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อสอบถามข้อมูลด้านการออกแบบลวดลายของตะกร้าจากคุณป้าทองนาค ชนะนาญ สมาชิกในกลุ่มผู้ผลิตตะกร้าหวาย พร้อมนำเอกสารแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตะกร้าจักสานที่ได้จากการประชุมไปมอบให้กับท่านไว้ศึกษา เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ จักสานอีกทางหนึ่งด้วย และเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2564 ทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลผไทรินทร์ ได้ลงพื้นที่ที่บ้านโคกงิ้ว อีกครั้ง เพื่อศึกษาการสานตะกร้าและการออกแบบลวดลายของตะกร้า และผู้ปฏิบัติงานได้ให้ความรู้เกี่ยวกับ การเลือกโทนสีของตะกร้าแก่คุณแม่ทองนาค นอกจากนี้ท่านยังได้มีการสาธิตและสอนการทำตะกร้าให้กับทีมผู้ปฏิบัติงานเพื่อเป็นความรู้
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการลงพื้นที่ของผู้ปฏิบัติงานเป็นอย่างมาก ทำให้การลงพื้นที่ปฏิบัติงานในช่วงนี้เกิดความยากลำบากและเข้าถึงชาวบ้านได้ยากขึ้นเนื่องจากทางผู้นำแต่ละหมู่บ้านเคร่งครัดในการป้องกันและเฝ้าระวังการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสเป็นอย่างมาก และอาจเกิดความเสี่ยงต่อตัวผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง แต่ทางทีมผู้ปฏิบัติงานก็ไม่ย่อท้อ พร้อมที่จะปฏิบัติงานให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
ภาพรวมการลงพื้นที่ปฏิบัติงาน
วิดีโอการจัดกิจกรรม ต.ผไทรินทร์ อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ ประจำเดือนกันยายน