หลักสูตร: HS04 โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประจำเดือน พฤษภาคม 2564
ข้าพเจ้า นางสาวณัฐชา รินนรา ผู้ปฏิบัติงานประเภทนักศึกษา รับผิดชอบการดำเนินงานในเขตพื้นที่ตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ทำการลงพื้นที่ปฏิบัติงานประจำเดือน พฤษภาคม 2564 ตามแบบฟอร์มที่ได้รับมอบหมายประจำเดือน
ในวันที่ 24 เมษายน 2564 ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมโครงการอบเชิงปฏิบัติการการวิเคราะห์ตลาดเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์จักสาน ซึ่งข้าพเจ้าได้สาระตามข้อมูลดังนี้ มีการจัดตั้งกลุ่มทอผ้าไหมในชุมชนเพื่อสร้างรายได้เสริมอีกทั้งยังพบว่าในหลายหมู่บ้านมีการจักสานและทำตะกร้าจากเส้นหวายไม้ไผ่อาทิเช่นหมู่บ้านพิมายทำหวายไม้ไผ่และยังมีผู้สูงอายุ80ปีที่ยังคงทำเครื่องจักสานอยู่เช่นกัน ในส่วนต่อมามีการทำตะกร้าไฮโซในพื้นที่ หมู่3และ หมู่7 เพื่อจัดจำหน่ายหารายได้เสริมใบละ500บาทและนำไปขายในเพจขายสินค้าตลาดออนไลน์ลำปลายมาศ ในการอบรมครั้งนี้มีว่าที่ร้อยตรี อานนท์ ด่านดอน ได้ชี้แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เช่น ใส่โลโก้เอกลักษณ์ในสินค้าตนเอง เพื่อเป็นลักษณะเฉพาะของสินค้า
นอกจากนี้ข้าพเจ้าได้รับผิดชอบลงพื้นที่ปฏิบัติงานในหมู่ที่ 18 บ้านโนนศิลา สอบถามข้อมูลประชาชนในพื้นที่เกี่ยวกับแบบฟอร์มใหม่ในระบบเว็บไซต์U2T เป็นข้อมูลสอบถามเกี่ยวกับ อาทิ เช่น ผู้ที่ย้ายกลับ เนื่องด้วยสถานการณ์โควิด แหล่งท่องเที่ยว ที่พัก/โรงแรม ร้านอาหารในท้องถิ่น อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น เกษตรกรในท้องถิ่น พืชในท้องถิ่น สัตว์ในท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น และแหล่งน้ำในท้องถิ่น เป็นต้น และในการลงพื้นที่สำรวจครั้งนี้ซึ่งพบข้อมูลที่แตกต่างจากครั้งก่อนๆเนื่องจากสถานการณ์ในขณะนี้ ประชาชนในพื้นที่ยังคงกังวลและระมัดระวังตนเองมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่ถึงอย่างไรในพื้นที่ของหมู่ 18 ก็ยังคงไม่พบผู้ที่อยู่นอกพื้นที่ย้ายกลับมายังเคหสถานของตนเอง อีกทั้งในส่วนข้อมูลอื่นๆเช่น แหล่งท่องเที่ยวกับที่พักหรือโรงแรมก็ยังไม่มีในพื้นที่เพราะในหมู่ 18 นั้นยังคงเป็นชุมชนที่ประชาชนในหมู่บ้านอาศัยกันมาเนิ่นนาน มีผู้สูงอายุที่ยังคงอนุรักษ์ภูมิปัญญาดั้งเดิม ได้แก่ การทอเสื่อ , การทำเสื่อกก เป็นต้น และสัตว์เลี้ยงที่พบส่วนมาก ได้แก่ สุนัข , วัว , ควาย ซึ่งเป็นสัตว์พื้นฐานของทุกชุมชน ส่วนแหล่งน้ำในพื้นที่พบแหล่งน้ำเพียงแห่งเดียวแต่เป็นบ่อใหญ่ใช้ส่วนรวมในบริเวณกว้าง
ในวันที่ 12 พฤษภาคม 2564 เวลา 09.00น. ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมกิจกรรมอบรมออนไลน์ผ่านช่องทาง YouTube ในส่วนของ งานบุญผ้าป่า-ปาฐกถานชุมชนออนไลน์ ‘ยักษ์ จับ โจน’ ภายใต้กิจกรรมนี้มีวิทยากร ได้แก่ อาจารย์ ดร.ยักษ์และท่าน โจ จัน ได ซึ่งท่านวิทยากรทั้งสองท่านได้ให้ความรู้เกี่ยวกับด้านเศรษฐกิจพอเพียงต่างๆที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันในบางส่วนและเพิ่มเติมในส่วนของความพอเพียงที่จะเกิดขึ้นอย่างไรในหัวข้อของความพอเพียงคือหนทางสุดท้ายที่เรียบง่ายที่สุดจากการอบรมครั้งนี้ข้าพเจ้าได้ข้อคิดหลายๆอย่างกับการดำรงชีวิตที่เรียบง่ายในความพอเพียงตามหลักเศรษฐกิจต่างๆของรัชกาลที่ 9 ซึ่งความรู้ที่ได้นั้นเป็นความรู้ที่ข้าพเจ้าสามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตได้โดยไม่ยากจนเกินไปและถัดมาในวันที่ 15 พฤษภาคม 2564 ข้าพเจ้าได้เข้าอบรมกิจกรรมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาวิธีการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ จากวิทยากรทั้งสามท่าน 1.อาจารย์ ดร.สินีนาฎ รามฤทธิ์ 2.ว่าที่ร้อยตรีอานนท์ ด่านดอน และ 3.อริสรา เภสัชชา ซึ่งโดยรวมแล้วข้อมูลที่ได้จากการอบรมจะเป็นไปแนวทางของการจักสานจากไม้ไผ่ที่ทำจากวัสดุต่างๆมาผสมผสานกันทำให้เกิดการสร้างรายได้ของชุมชนและมีการพัฒนาทำให้ดีขึ้น ขายได้ มีกำไร และ สามารถใช้ได้ในชีวิตประจำวัน เช่น ตะกร้าหวายเทียม อีกทั้งยังได้ทราบถึงผลลัพธ์กำไรที่เกิดขึ้นในเรื่องของกลุ่มลูกค้าและผู้ผลิตที่ต้องควรทำอย่างไรกับวิธีการทำตะกร้าจักสานให้เป็นผลสำเร็จรูปและมีรายได้เข้าชุมชนโดยการกระตุ้นเศรษฐกิจของชุมชนและได้รับความรู้ในการแก้ปัญหาของผลิตภัณฑ์อีกด้วย ทั้งนี้ความรู้ที่วิทยากรทั้งสามท่านมาบรรยายนั้นมีประโยชน์อย่างมากต่อการสร้างผลิตภัณฑ์หรือผลงานที่จะออกไปจัดจำหน่าย มีแนวทางที่จะสามารถทำให้ผลิตภัณฑ์มีความสวยงามโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์แล้วยังสามารถเพิ่มกำไร ลดต้นทุนการผลิต อีกทั้งยังใช้วัสดุภายในท้องถิ่นของตนเองมาก่อรายได้และประโยชน์ต่อไปในอนาคต
สรุปผลจากการลงพื้นที่ปฏิบัติงานในเดือน พฤษภาคม 2564 ข้าพเจ้าได้รับความรู้ต่างๆจากการอบรมที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้และยังสามารถนำความรู้ไปต่อยอดในการทำงานเดือนถัดไปแต่เนื่องจากการลงพื้นที่ในครั้งนี้ต้องมีความระมัดระวังในการสอบถามข้อมูลเพราะว่ามีผลกระทบในเรื่องของการแผ่ระบาดของโรค(Covid -19)มาในละลอกนี้อีกครั้งแต่อย่างไรชาวบ้านในชุมชนและผู้นำชุมชนก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการให้ข้อมูล แต่ก็ยังคงไม่ประมาทและหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดหรือสัมผัส เว้นระยะห่างอย่างปลอดภัยในการปฏิบัติงาน อีกทั้งผู้ปฏิบัติงานและประชาชนที่ร่วมมือให้ข้อมูลก็ยังคงสวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งอย่างไม่ละเลยการรับผิดชอบส่วนรวมในสังคม