หลักสูตร : HS04 โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประจำเดือนกันยายน 2564

ข้าพเจ้า นางสาวภัทรนันท์ ทองพา ผู้ปฏิบัติงานประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตําบลผไทรินทร์ อําเภอลําปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ประจำหลักสูตรให้ลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ด้านการจักสาน การสานตะกร้าด้วยหวายเทียม การทำโครงตะกร้าและการออกแบบลวดลาย เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่โดดเด่น มีลักษณะเฉพาะของชุมชน สร้างมูลค่าและรายได้ให้แก่ชุนชน

วันที่ 20 สิงหาคม 2564 เวลา 09.00 น. ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลผไทรินทร์ ได้เข้าร่วมอบรมออนไลน์ผ่านแอพพลิเคชั่น GOOGLE MEET โดยมีวิทยากรที่มาให้ความรู้ 2 ท่าน ผู้บรรยายท่านที่ 1 อาจารย์ ดร.สินีนาฏ รามฤทธิ์ ได้บรรยายเกี่ยวกับด้านการออกแบบลวดลายของตะกร้า 1.ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทีี่ได้พบเห็น เช่น ลายดอกไม้ ใบไม้และผลไม้ ลายสัตว์ 2.ลายจากสิ่งของเครื่องใช้ เช่น ลายขอ ลายกุญแจ 3.ลายจากความเชื่อทางศาสนาและจินตนาการในวรรณคดี เช่น ลายธรรมมาสน์ ลายขันหมากเบ็งจ์ ลายหอปราสาท ลายสิงค์ ลายหงส์ 4.ลายประดิษฐ์หรือผสม ลายประยุกต์ เป็นลายที่เกิดจากเทคนิคการผสมผสานให้เกิดลายใหม่ เช่น ตัวอักษร รูปทรงอิสระ ด้านแนวทางในการพัฒนาตะกร้าจักสาน 1.มีรูปแบบที่แปลกใหม่ 2.มีการใช้งานที่หลากหลาย 3.การผสมผสานวัสดุ 4.ลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์และสะดุดตา 5.มีชุดคอเลคชั่นหลายสีหลายขนาด เช่น ลายธงชาติ 6.การเพิ่มเทคนิคการตกแต่ง 7.การนำเสนอสินค้าที่น่าสนใจให้เหมาะกับกลุ่มลูกค้า นอกจากการจักสานตะกร้า ยังสามารถทำเป็นเก้าอี้ โครงเก้าอี้ กระติบข้าว เพื่อให้มีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและเป็นที่ต้องการของลูกค้า ผู้บรรยายท่านที่ 2 คุณอริสรา เภสัชชา ผู้อำนวยการกองสวัสดิการสังคมองค์การบริหารส่วนตำบลผไทรินทร์ ได้บรรยายข้อมูลของการทำโครงตะกร้า ซึ่งตอนนี้ใช้อุปกรณ์และภูมิปัญญาดั้งเดิมในการจัดทำ ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการจัดหาอุปกรณ์เพื่อนำมาใช้ในการผลิต ด้านข้อมูลแนวความคิดในการออกแบบลวดลายที่เป็นอัตลักษณ์ของตำบลผไทรินทร์ ได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับปราสาทธรรมศาลา ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลผไทรินทร์ แต่ยังไม่มีข้อมูลรูปร่างของตัวปราสาทที่แท้จริงจะเป็นเพียงรูปร่างจากจินตนาการของผู้เฒ่าผู้แก่ที่เล่าสืบต่อกันมา ซึ่งทางผู้ปฏิบัติจะได้ทำการสืบค้นข้อมูลในลำดับต่อไป

วันที่ 29 สิงหาคม 2564 ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่บ้านของนางทองนาค ชนะนาญ บ้านโคกงิ้วใหม่ หมู่ที่ 16 ตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการออกแบบลวดลายของตะกร้า ซึ่งนางทองนาค ชนะนาญได้ให้ข้อมูลว่าการออกแบบลวดลายทำตามลายทั่วไปที่มีอยู่ ยังไม่มีลายที่แปลกใหม่ การสานตะกร้าทำตามออเดอร์ที่ลูกค้าสั่ง วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ทำ เช่น โครงตะกร้า หวายเทียม สั่งมาจากจังหวัดเชียงราย จากนั้นข้าพเจ้าก็ได้ลองสานตะกร้าจากหวายเทียม โดยมีนางทองนาค ชนะนาญ เป็นผู้สอนและคอยให้ข้อมูลเรื่องการจักสาน ขั้นตอนการทำไม่ได้ยากจนเกินไป ต้องทำความเข้าใจและเรียนรู้เรื่องการออกแบบลาย การสานลายต่างๆ การนับเส้นเพื่อสอดหวายให้ตรงช่อง ถ้าผิดแม้แต่ช่องเดียวการสานลายนั้นๆจะผิดทั้งหมดและต้องรื้อออกทั้งหมดเพื่อสานใหม่จนกว่าจะถูก วันที่ 4 กันยายน 2564 ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่บ้านของนายสว่าง บึงจันทร์ บ้านโคกซาด ตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาใช้สานตะกร้า ซึ่งอยู่ในระหว่างการจัดหาอุปกรณ์เพื่อนำมาใช้ในการผลิต

สรุปการลงพื้นที่ตำบลผไทรินทร์ ประจำเดือนกันยายน เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19  ในปัจจุบัน ทำให้มีผลกระทบต่อการลงพื้นที่ของทีมผู้ปฏิบัติงานเป็นอย่างมาก โดยจะลงพื้นที่คราวละไม่เกิน 5 คนหมุนเวียนกันไปลงพื้นที่และปฏิบัติตนตามมาตรการป้องกันโควิดอย่างเคร่งครัด ด้านการจักสานตะกร้า การทำโครงตะกร้าด้วยไม้ไผ่ อยู่ในขั้นตอนการจัดเตรียมอุปกรณ์ ซึ่งได้แจ้งรายละเอียดไปที่คุณอริสรา เภสัชชา ผู้อำนวยการกองสวัสดิการสังคมองค์การบริหารส่วนตำบลผไทรินทร์แล้ว เพื่อที่จะได้นำมาออกแบบและจัดทำให้แล้วเสร็จ

อื่นๆ

เมนู