หลักสูตร : HS04 โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประจำเดือนพฤษภาคม 2564

ข้าพเจ้า นางสาวภัทรนันท์ ทองพา ผู้ปฏิบัติงานประเภทบัณฑิตจบใหม่ ได้ทำการลงพื้นที่ปฏิบัติงานพร้อมด้วยอาจารย์ประจำหลักสูตรและทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลผไทรินทร์ เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2564 โดยได้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การวิเคราะห์ตลาดเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์จักสาน ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ณ หอประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลผไทรินทร์ โดยมีคุณอริสรา เภสัชชา มาให้ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ด้านการจักสานของตำบลไผทรินทร์ มีทั้งตะกร้าหวายเทียม ตะกร้าเชือกมัดฟาง ตะกร้าจากกระป๋องเบียร์ เป็นสินค้า O-TOP แต่แยกไปเป็นวิสาหกิจหมู่บ้าน ไม้กวาดทางมะพร้าว ไม้กวาดพลาสติกรีไซเคิล กระติบข้าวที่ทำจากต้นไหล แต่ละหมู่บ้านจะมีการทำผลิตภัณฑ์แตกต่างกันไป ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ว่าที่ร้อยตรีอานนท์ ด่านดอน รองผู้จัดการศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ให้แนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านการจักสานแก่ชุมชนดังนี้ 1.ต้องคำนวณถึงต้นทุน ทั้งต้นทุนของวัตถุดิบและค่าแรงงาน 2.จุดเด่น จุดด้อย ข้อแตกต่างของสินค้าประเภทเดียวกันว่าแตกต่างกันอย่างไร 3.การสร้างแบรนด์ให้กับสินค้า ให้มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น 4.สินค้าที่ผลิตต้องใช้งานได้จริง ตรงตามความต้องการของตลาด การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพเพิ่มขึ้น อยากให้พัฒนาสินค้าทีละชนิด ให้มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นและน่าสนใจ

ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้รับมอบหมายจากอาจารย์ประจำหลักสูตร ให้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งเมื่อวันที่ 5-10 พฤษภาคม ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลผลิตภัณฑ์ด้านการจักสานและข้อมูลเพิ่มเติมของแต่ละหมู่บ้าน ในตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้ลงพื้นที่บ้านหนองหัวช้าง หมู่ 4 ก่อนการลงพื้นที่ข้าพเจ้าได้ประสานงานกับผู้ใหญ่บ้านประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบว่าจะมีการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติม บ้านหนองหัวช้างมีจุดคัดกรองโควิด 19 อยู่ทางเข้าหมู่บ้าน หลังจากผู้ใหญ่บ้านไปประชุมที่องค์การบริหารส่วนตำบลผไทรินทร์ ได้มีมาตรการออกมาใหม่ให้ย้ายจุดคัดกรองไปที่ศาลาประชาคมหมู่บ้าน ถ้าใครมาจากต่างจังหวัดห้ามเข้าหมู่บ้าน ให้โทรติดต่อประสานงานกับผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหรือ อสม.ล่วงหน้า 2 วัน เพื่อทำการตรวจโควิดและกักตัว 14 วัน ที่องค์การบริหารส่วนตำบลผไทรินทร์หรือสถานที่ ที่เจ้าหน้าที่กำหนดให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรคโควิด 19 บ้านหนองหัวช้าง เดิมขึ้นการปกครองกับบ้านสำโรง หมู่ 2 โดยนายพึ่ง จันทร์ดอนและญาติๆมาจัดตั้งบ้านเรือนเพิ่มขึ้นและมีครัวเรือนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จึงได้แยกบ้านหนองหัวช้าง ออกเป็น 4 หมู่บ้าน คือ บ้านหนองหัวช้าง หมู่ 4 บ้านหนองหัวช้างพัฒนา หมู่ 13 บ้านหนองมะค่า หมู่ 8 และบ้านหนองมะค่าใหม่ หมู่ 17 ภาษาที่พูดในท้องถิ่น คือ ไทยโคราช ผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน นายสุเทพ ด่านดอน ลักษณะภูมิประเทศ มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม มีหนองน้ำใหญ่กลางหมู่บ้าน เหมาะแก่การทำเกษตร มีพื้นที่ทั้งหมด 1,580 ไร่ แบ่งออกเป็นที่อยู่อาศัย 70 ไร่ พื้นที่ทำการเกษตร 1,500 ไร่ พื้นที่สาธารณะ 20 ไร่ มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 96 ครัวเรือน อาศัยอยู่จริง 94 ครัวเรือน มีจำนวนประชากรทั้งหมด 374 คน แยกเป็นชาย 166 หญิง 208 คน ส่วนผลิตภัณฑ์ด้านการจักสาน เช่น การสานตะกร้า การทำไม้กวาด การทำกระติบข้าว บ้านหนองหัวช้างไม่มี จะมีก็แต่ทอเสื่อด้วยต้นกก ต้นผือและต้นไหล 1 ครัวเรือน โดยนางสายติ่ง ไกรพงษ์และนางสายต่อง ศรีสืบมา  กลุ่มเย็บผ้าโดยนางอำนวย ศรีไสยเพชร กลุ่มสัมมาชีพหน่อไม้ดอง มีสมาชิกในกลุ่ม 20 คน จะรวมกลุ่มทำหน่อไม้ดองช่วงที่มีหน่อไม้มากๆ ทำส่งขายตามร้านค้าชุมชน ขายตามตลาด ตลาดนัดคลองถมประจำสัปดาห์ ทำตามออเดอร์ที่ลูกค้าสั่ง โพสต์ขายใน FACEBOOK นอกจากนี้บ้านหนองหัวช้าง หมู่ 4 และบ้านหนองหัวช้างพัฒนา หมู่ 13 ยังมีการรวมกลุ่มกันทำนาแปลงใหญ่ กลุ่มการทำเกษตรอินทรีย์ ปลูกผัก ผักปลอดสารพิษ ส่งขายต่างประเทศอีกด้วย ในส่วนของการเก็บข้อมูลเพิ่มเติมตามหัวข้อในระบบ U2T ทั้ง 10 หัวข้อ มีดังนี้ 1.ผู้ที่ย้ายกลับบ้าน เนื่องจากสถานการณ์โควิด 19 ยังไม่มีผู้ที่ย้ายกลับบ้าน 2.แหล่งท่องเที่ยว ไม่มี 3.ที่พัก โรงแรม ไม่มี 4.ร้านอาหารในท้องถิ่น มี 4 ร้าน แบ่งออกเป็น ร้านชา กาแฟ 1 ร้าน ร้านอาหารตามสั่งและก๋วยเตี๋ยว 2 ร้าน ร้านค้าชุมชนขายก๋วยเตี๋ยวด้วย 1 ร้าน 5.อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น มีน้ำพริกผักลวกจิ้มและแกงผักหวาน 6.เกษตรกรในท้องถิ่น นายสุเทพ ด่านดอน มีความรู้ด้านการทำเกษตร เลี้ยงสัตว์ ทำไร่ ทำสวน 7.พืชในท้องถิ่น 8.สัตว์ในท้องถิ่น จะมีวัว กระบือ ไก่ เป็นส่วนใหญ่ 9.ภูมิปัญญาในท้องถิ่น มีการทอเสื่อจากต้นกก ต้นผือและต้นไหล 10.แหล่งน้ำในชุมชน มีทั้งหมด 4 แหล่งคือ หนองใหญ่กลางหมู่บ้าน สระหนองเสม็ด สระหนองขี้เหล็กและห้วยสำโรง

เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2564  เวลา 09.00-15.00น. ข้าพเจ้าได้ร่วมรับชมกิจกรรมงานบุญผ้าป่า ปาฐกถาชุมชนออนไลน์ ผ่านช่องทาง YOUTUBE สถานที่จัดกิจกรรม ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีนางสาวเพชรรัตน์ ภูมาศ นายอำเภอนางรอง กล่าวรายงานและนายธัชกร  หัตถาธยากูล ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์เป็นประธานเปิดงานผ่านระบบออนไลน์ มีรองศาสตราจารย์มาลิณี จุโฑปะมา กล่าวขอบคุณทุกภาคส่วนที่ช่วยและมีส่วนร่วมในการจัดงานบุญผ้าป่า ปาฐกถาชุมชน จากนั้นพระครูวิสุทธิ พัฒนาภิรมณ์ เจ้าอาวาสวัดตาไก้พลวง เจ้าคณะตำบลหนองกง ได้กล่าวถึงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและกล่าวชื่นชมมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ที่เข้ามาดำเนินการร่วมกับชุมชน เข้ามาช่วยพัฒนาชุมชน การปาฐกถาชุมชนออนไลน์(ยักษ์ จับ โจน) วิทยากรท่านแรกคือ อาจารย์วิวัฒน์  ศัลยกำธร(ดร.ยักษ์) ได้บรรยายในหัวข้อเรื่องกสิกรรมธรรมชาติ บนรากฐานปรัชญาแห่งเศรษฐกิจพอเพียง สู่การพัฒนาที่มั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน ท่านเคยมีโอกาสถวายงานรับใช้ในหลวงรัชกาลที่9 โดยมีหน้าที่จดบันทึกพระราชดำริ พระราชดำรัส การวางแผนและประเมินโครงการตามแนวพระราชดำริเป็นเวลา 16 ปี ก่อนจะลาออกมาพัฒนาเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงแบบเต็มรูปแบบ ท่านได้ให้แนวคิดในด้านความพอเพียง ความพอเพียงมีหลายมิติ  อาหารพอเพียง ที่อยู่อาศัยพอเพียง การสร้างป่า ปลูกป่า ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม วิทยากรท่านที่สองคือ ท่านโจน จันได ท่านได้ให้แนวทางการใช้ชีวิตต่อไปในอนาคต การอยู่ การกิน การใช้ชีวิต การอยู่แบบเศรษฐกิจพอเพียง

วันที่ 15 พฤษภาคม 2564  เวลา 8.00-12.00 น. มีการอบรมเกี่ยวกับการพัฒนาวิธีการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ ณ ห้องประชุมมนุษยสังคมวัฒนา อาคาร 25 ชั้น 2 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ผู้บรรยายท่านแรก คุณอริสรา เภสัชชา ผู้อำนวยการกองสวัสดิการสังคม องค์การบริหารส่วนตำบลผไทรินทร์ ได้กล่าวถึงการทำตะกร้าหวายเทียม โดยการนำวัสดุอย่างอื่นมาใช้แทนหวาย เช่น ต้นกก ต้นไหล ในการสานตะกร้า แต่ปัญหาคือไหลเกิดการแตกหักง่าย ต้องนำไปแช่น้ำหรือพรมน้ำตลอด จากนั้นให้ผ่าต้นไหลเป็นครึ่งซีกและขูดเอาไส้ข้างในออก จะมีลักษณะคล้ายหวายเทียม ผู้บรรยายท่านที่ 2 ดร.ศิรินาถ เสนอแนะเกี่ยวกับการออกแบบลวดลายของผลิตภัณฑ์ การสร้างเอกลักษณ์ได้อย่างหลากหลายและผู้บรรยายท่านที่ 3 ว่าที่ร้อยตรีอานนท์ ด่านดอน รองผู้จัดการศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้แนะนำเกี่ยวการแปรรูปจากไม้ไผ่ให้ได้หลายหลากรูปแบบ ทำให้ผลิตภัณฑ์ขายได้ สินค้ามีโอกาสชื้อซ้ำ ต้องขายได้ ต้องมีกำไร มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น ตรงตามความต้องการของตลาดโดยใช้ต้นทุนต่ำแต่มีรายได้เพิ่มมากขึ้น

จากการลงพื้นที่ตำบลผไทรินทร์ ประจำเดือนพฤษภาคม ด้านกิจกรรมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การวิเคราะห์ตลาดเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์จักสาน ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ทำให้ได้ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของชุมชน แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้านการลงพื้นที่สำรวจผลิตภัณฑ์ของหมู่บ้าน การเก็บข้อมูลตามแบบสอบภาม ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน อสม.และประชาชนในหมู่บ้าน ด้านกิจกรรมงานบุญผ้าป่า ปาฐกถาชุมชนออนไลน์ ได้ทราบถึงการใช้ชีวิตแบบพอเพียงและการใช้ชีวิตต่อไปในอนาคต

     

     

 

     

     

     

     

     

     

อื่นๆ

เมนู