หลักสูตร : HS04โครงการยกระดับโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัยจากมหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ ประจำเดือนพฤษภาคม 2564
  ข้าพเจ้า นางสาวนัยนา หอกระโทก ผู้ปฏิบัติงานประเภทนักศึกษา ประจำตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ข้าพเจ้าและทีมงานทำการลงพื้นที่ครั้งที่ 1 ประจำเดือนพฤษภาคม เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2564 ข้าพเจ้าและทีมงานได้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ ‘การวิเคราะห์ตลาดเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์จักสาน’ ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ณ หอประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลผไทรินทร์ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมการอบรม ได้แก่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลผไทรินทร์,เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลผไทรินทร์,ตัวแทนผู้ผลิตเครื่องจักสานตำบลผไทรินทร์,อาจารย์ประจำหลักสูตรและผู้ปฎิบัติงาน การอบรมมีวิทยากรสองท่าน คุณอริสรา เภสัชชา ตำแหน่งผู้อำนวยการกองสวัสดิการสังคม องค์การบริหารส่วนตำบลผไทรินทร์ เป็นวิทยากร แนะนำข้อมูลผลิตภัณฑ์ด้านจักสานของตำบลผไทรินทร์ คุณอานนท์ ด่านดอน ตำแหน่ง รองผู้จัดการศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้ให้แนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านการจักสานแก่ชุมชน

     

     คุณอริสรา เภสัชชา (พี่ออย) เป็นวิทยากรแนะนำข้อมูลผลิตภัณฑ์ด้านจักสาน จุดเริ่มต้นของเครื่องจักสานเริ่มจากคุณตาท่านหนึ่ง ในตำบลผไทรินทร์ หมู่ 19 บ้านผไทรินทร์พัฒนา อยากทำใช้เอง ชิ้นเเรก (ไม้กวาดจากขวดพลาสติก) เป็นการนำขยะกลับมาใช้ใหม่หรือการรีไซเคิล ต่อมาได้รับการตอบสนองดีเลยตัดสินใจทำขาย และเพิ่มการทำไม้กวาดทางมะพร้าว ผลิตขายในชุมชน เริ่มมีการจับกลุ่มผลิต ผลิตภัณฑ์ต่างๆขึ้น จึงเกิดผลิตภัณฑ์ด้านจักสาน ซึ่งพี่ออย (วิทยากร) ได้ให้ความรู้การตั้งกลุ่มซึ่งสามารถแบ่งได้สองประเภท 1.กลุ่มกำลังพัฒนา 2.กลุ่มพัฒนาแล้ว จำหน่ายแล้ว สร้างรายได้แล้ว ซึ่งการรวมตัวการจัดตั้งกลุ่มต้องเริ่มจาก 7 คนขึ้นไปและเนื่องจากการแบ่งกลุ่มเป็นหมู่บ้านจำนวนคนน้อยเกินไป จึงจัดเป็นกลุ่มใหญ่ ซึ่งประกอบไปด้วยหลายๆหมู่บ้านรวมตัวกัน จำนวนสมาชิกประมาณ 40 คน ผลิตภัณฑ์ในตำบลผไทรินทร์ประกอบไปด้วย
-ไม้กวาดจากขวดพลาสติก,ไม่กวาดทางมะพร้าว,ตะกร้าหวาย,ตะกร้าหวายไม้ไผ่,ตะกร้าเชือกมัดฟาง,ตะกร้าไฮโซ,ผ้าไหม,ฯล 
-ปัญหาจากการทำผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่พบว่า วัตถุดิบต้องสั่งเข้ามาจากต่างจังหวัด ราคาสูง ส่งผลให้ต้นทุนในการผลิตเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากวัตถุดิบที่มีในชุมชน เช่นไม้ไผ่ ทำตะกร้าได้แต่ไม่ทนต่อการใช้งาน ต้นหวายที่มีในชุมชนไม่กินสี (ดิ้ว) ดิ้วคือโครงของการทำตะกร้าที่ทำมาจากไม้ไผ่ต้องใช้วัตถุดิบที่เหมาะสมคงทนต่อการใช้งาน 
-ปัญหาการออกขายสู่ท้องตลาดเนื่องจากยังจดเทียนเป็นสินค้า OTOP ไม่ได้จึงทำให้จำหน่ายได้ยากและผลิตภัณฑ์ในตำบลยังไม่มีโลโก้ซึ่งจะชี้บอกว่าเป็นของตำบลผไทรินทร์ และการจำหน่ายหากหักต้นทุนในการผลิตแล้วจริงๆจะเห็นได้ชัดว่าขาดทุน
-ปัญหาการตอบสนองต่อการใช้งานซึ่งผลิตภัณฑ์ในชุมชนเช่นตะกร้าหวายและไม้กวาดทางมะพร้าว ยังไม่มีความแตกต่างจากท้องตลาดทั่วไป
      คุณอานนท์ ด่านดอน เป็นวิทยากรแนะนำให้แนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านการจักสานแก่ชุมชนในโจทย์ทำยังไงถึงจะทำให้อยู่ได้ สร้างความแตกต่างเช่น ใส่โลโก้ที่แสดงให้เห็นว่าเป็นผลิตภัณฑ์ตำบลผไทรินทร์  การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ให้ตอบสนองกับการใช้งานและแตกต่างจากผลิตภัณฑ์ทั่วไปในท้องตลาด ทั้งในด้านคุณภาพที่ดี ราคาถูกพัฒนาให้ดีขึ้นเพื่อเพิ่มมูลค่า 
-จากปัญหาที่พบ ไม้กวาดทางมะพร้าวเห็นได้ชัดว่าคุณภาพดีราคาถูก ด้ามจับใหญ่หนามั่นคง จำหน่ายในราคาปลีก 50 บาท ราคาส่ง 35 บาท 3 อัน 100 บาท หากหักต้นทุนแล้วจริงๆถือว่าขาดทุน และผลิตภัณฑ์ไม้กว่าทางมะพร้าวยังไม่มีความแตกต่างจากท้องตลาดทั่วไป ยังขาดโลโก้ที่จะบ่งบอกว่าเป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชนตำบลผไทรินทร์
-ไม้กวาดจากขวดพลาสติกพบว่าตอบโจทย์รีไซเคิล การใช้งานยังไม่ตอบโจทย์ต่อผู้ใช้ (ไม้กวาดจะเป็นผลิตภัณฑ์ของผู้สูงอายุ) ในชุมชนที่ว่างงานเพื่อสร้างรายได้ 
-ในส่วนของตะกร้าปัญหาต้นทุนสูงและวัตถุดิบเป็นปัญหาอย่างยิ่ง คุณอานนท์ ด่านดอน (วิทยากร) แนะนำว่าอยากให้ใช้วัตถุดิบที่มีในชุมชน เพื่อสร้างรายได้ให้คนในชุมชนและลดต้นทุนในการผลิต ในส่วนของที่จับ ถือตะกร้า ยังไม่แตกต่างจากท้องตลาดทั่วไป (วิทยากร) แนะนำว่าให้เพิ่มผ้าลวดลายสวยงามเพื่อให้จับถือได้สบายกว่าตะกร้าในท้องตลาดทั่วไป หรือเป็นการเพิ่มมูลค่าสินค้ามากขึ้น 

     

      เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ.2564 ทำการลงพื้นที่ครั้งที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม ข้าพเจ้าและทีมงานกลุ่มผู้ปฎิบัติงานประเภทนักศึกษาได้ทำการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลเพิ่มเติมที่ทางอาจารย์ประจำหลักสูตรมอบหมายให้ ซึ้งข้าพเจ้ารับผิดชอบหมู่ 3 บ้านผไทรินทร์ ข้าพเจ้าได้สำรวจข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้าน ซึ่งในวันนั้นข้าพเจ้าได้พบกับหัวหน้ากลุ่มเครื่องจักสานและสอบถามผลิตภัณฑ์ประจำหมู่บ้าน ข้าพเจ้าได้สอบถาม นางสุวรรณี วิจิตรศักดิ์ อายุ 42 ปี เป็นหัวหน้าตะกร้าเชือกมัดฟางประจำกลุ่มผลิตภัณฑ์ ซึ่งข้าพเจ้าได้ทราบรายละเอียดดังนี้ กลุ่มตะกร้าเชือกมัดฟางประกอบไปด้วยสมาชิกกลุ่ม 40 คน ส่วนมากจะเป็นกลุ่มแม่บ้านและผู้สูงอายุ ศูนย์เครื่องจักสานจะตั้งอยู่หลังที่ทำการผู้ใหญ่บ้านหมู่ 3 ในการจำหน่าย ทางองค์การบริหารส่วนตำบลจะจัดงานสินค้า OTOP ขึ้นทุกปี เพื่อในชุทชนได้นำสินค้าไปขาย งานจะจัดขึ้นที่ว่าการอำเภอลำปลายมาศ และช่องทางการขายผ่าน เฟสบุ๊ก การขายออนไลน์ในกลุ่มตลาดสดอำเภอ ราคาขาย เริ่มต้น ที่ 300 บาท  นอกจากตะกร้าเชือกมัดฟางยังมีผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจเช่นที่ใส่แก้วเก็บความเย็น ที่วางแก้ว ฯล

   

      เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2564 ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมรับชมกิจกรรมงานบุญผ้าป่า-ปาฐกถาชุมชนออนไลน์ ผ่านช่องทาง GOOGLE MEET เวลา 9.00น-15.00น สถานที่จัดกิจกรรม ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านโคกว่าน ต.หนองโสน อ.นางรอง  จ.บุรีรัมย์ ซึ่งมีวิทยากรให้ความรู้ อาจารย์วิวัฒน์  ศัลยกำธร(ยักษ์) ท่านได้รับใช้ในหลวงรัชกาลที่ 9 มาเป็นเวลานาน ถือได้ว่ามีความรู้ในด้านเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเชี่ยวชาญ ท่านได้ให้แนวคิดในด้านความพอเพียง ท่านโจน จันได ท่านได้ให้แนวทางการใช้ชีวิตต่อไปใน การอยู่บนพื้นฐานของปัจจัย 4 
      เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ.2564 ข้าพเจ้าทำการลงพื้นที่ครั้งที่ 3 สืบเนื่องจากการเก็บข้อมูลจากครั้งที่แล้วข้าพเจ้าเก็บข้อเพิ่มเติมของการเก็บข้อมูลตามแบบสอบถามของหมู่บ้าน ข้อมูลในด้าน อาหาร , ภูมิปัญญา , พืชในท้องถิ่น, สัตว์ในท้องถิ่น,แหล่งน้ำในท้องถิ่น ร้านอาหารในชุมชน ,ที่พักในชุมชน,ผู้ที่กลับ บ้านจากสถานการณ์โควิด-19 ,แหล่งท่องเที่ยว ซึ่งในการลงพื้นที่ครั้งนี้ประชาชนให้ความร่วมมือในการสำรวจข้อมูลได้ยากเนื่องจากเกิดสถานการณ์โรคระบาด โควิด-19 ส่งผลให้เก็บข้อมูลอาจไม่ครบตามที่ อาจารย์ประจำหลักสูตรมอบหมายให้ ซึ่งส่วนใหญ่พบว่าพืชในท้องถิ่นจะเป็นพืชไม้ยืนต้น,ไม้ผล,ไม้ดอกและไม้ประดับในส่วนมาก นอกจากนี้ยังมีสมุนไพรยารักษาโรค,พืชผักสวนครัวและแหล่งน้ำ ร้านอาหารในชุมชนส่วนมากพบว่าจะเป็นร้านของชำประกอบกับการขายอาหารเช่นก๋วยเตี๋ยว อาหารตามสั่ง และส้มตำควบคู่กันไป
      -วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ.2564 ในทางหลักสูตรมีการอบรมการพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ ณ หอประชุมคณะมนุษยศาสตร์และสังคมมศาสตร์ เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้ทางหลักสูตรต้องจำกัดจำนวนผู้เข้าอบรมซึ่งผู้ปฏิบัติงานประเภทนักศึกษาส่งตัวแทนเข้าร่วมสองคน ข้าพเจ้าได้ทราบข้อมูลจากผู้ปฏิบัติงาน รายละเอียดคร่าวๆดังนี้ บรรยายโดย คุณอริสรา เภสัชา ในหัวข้อการผสมผสานเชือกมัดฝาง ,ต้นกก,ต้นไหล,ตอกไม้ไผ่ย้อมสี ซึ่งนำมาแทนหวายเทียม
-ปัญหาที่เกิดคือ ไหลแตกไหลหัก ต้องแช่น้ำก่อนหรือพรมน้ำตลอด และเชือดมัดฟางจะดูเหมือนไม่คงทนจะผุง่ายขาดง่ายกว่าหวายเทียม
-วิธีการแก้ปัญหา ต้องขูดไส้ในต้นไหลออกก่อนแล้วเอามาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ซึ่งจะทำให้เสียเวลาในการทำแต่จะต้นไหลจะไม่แตกไม่หักเวลาเราจักสาน
-จุดประสงค์คือ ทำง่าย ใช้เวลาน้อย สวยงาม
      ดร.สินีนาฏ เสนอแนะเกี่ยวกับ การออกแบบการออกแบบลวดลายของผลิตภัณฑ์ได้อย่างหลากหลายและทำอย่างไรให้กลุ่มลูกค้าต้องการหรือสนใจในผลิตภัฑ์ให้มากขึ้น
      อาจารย์ อานนท์ ด่านดอน ได้แนะนำเกี่ยวการแปรรูปจากไม้ไผ่ให้ได้หลากหลายรูปแบบ และสามารถทำให้ผลิตภัณท์ขายได้
-สินค้ามีโอกาสชื้อซ้ำ
-ต้องขายได้ต้องมีกำไร
-ทำยังไงให้มีมูลค่าให้มีกำไร
-การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น
      ต้องทำให้ผลิตภัณฑ์จักสานเกิดรายได้โดยใช้ต้นทุนต่ำสามารถทำโครงตะกร้าเองโดยไม่ต้องสั่งชื้อซึ่งกำลังหาวิธีทำผลิตภัณฑ์ต้องขายได้ มีกำไร 
      สรุปจากการลงพื้นที่ปฎิบัติงานในด้านกิจกรรมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การวิเคราะห์ตลาดเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์จักสาน” ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ทำให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของชุมชนในตำบลผไทรินทร์ และได้รับความรู้เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำงานเป็นทีม รู้จักการวางตัวเข้าหาชาวบ้านมากขึ้น และในเดือนนี้แม้จะมีปัญหาอุปสรรคของการทำงานข้าพเจ้าและทีมงานก็สามารถแก้ปัญหาและทำงานอย่างเต็มที่ ในเดือนนี้ข้าพเจ้าได้รับความรู้มากมายข้าพเจ้าพึงพอใจเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ข้าพเจ้าจะนำข้อมูลดังกล่าวส่งต่อให้ส่วนกลางและรอรับคำสั่งจากส่วนกลางเพื่อเข้าพัฒนาตามโครงการอย่างเต็มที่สืบไป 

     

 

 

 

อื่นๆ

เมนู