การปฏิบัติงานนักพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
ประจำเดือน มิถุนายน 2564

ข้าพเจ้านางสาวบุญทิวา บุตะเคียน ได้มีโอกาสเข้ามาช่วยทำงานราชการในอำเภอหนองหงส์ ซึ่งทำงานในนามของมหาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (กพร) และถูกส่งมาทำงานในอำเภอหนองหงส์ผ่านพัฒนากรจังหวัดในตำแต่งนักพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (นพร) การปฎิบัติงานส่วนที่ 1 เป็นส่วนของการนำเข้าข้อมูล เป็นการปฎิบัติงานอยู่ในที่ว่าการอำเภอ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหนองหงส์ ซึ่งส่วนมากจะเป็นงานที่เกี่ยวกับเอกสาร ซึ่งข้าพเจ้ามีหน้าที่หลัก ๆ คือ  1) การรับและออกเลขหนังสือราชการต่าง ๆ ผ่านระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งดิฉันได้รับมอบหมายให้ออกเลขหนังสือราชการเป็นหลักจะลงรับและออกเลขหนังสือราชการเป็นประจำทุกวัน จันทร์-ศุกร์ แล้วลงรับในระบบก่อนในระบบจะมีเลขที่ลงรับ ชื่อเรื่อง วันที่รับเลขให้ เสร็จแล้วจึงส่งให้หัวหน้างานพิจารณาแล้วส่งรายงานให้นายอำเภอทราบเป็นลำดับต่อไป 2) การแก้ไขเอกสารรับประกาศหนังสือสั่งการจากสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ผ่านระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์จังหวัดบุรีรัมย์ 3) การตัดต่อรูปภาพกลุ่มสตรี เพื่อทำข่าวประชาสัมพันธ์การสวมใส่ผ้าไทย ขอเชิญชวนให้สวมใส่ผ้าไทย เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาและส่งเสริมกลุ่มอาชีพให้มีรายได้  โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหนองหงส์ เพื่อรายงานจังหวัด 4)  แก้ไขเอกสารใบส่งมอบงาน ใบตรวจรับพัสดุให้นักพัฒนาตำบลต้นแบบ และแก้ไขเอกสารโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบโคกหนองนาโมเดลให้นักพัฒนาตำบลต้นแบบ ทั้งหมด 14 คน 5) แก้ไขเอกสารขออนุมัติดำเนินงานโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” ครั้งที่ 2 (งบยุทธศาสตร์) ทั้งหมด 97 คน หรือ 97 แปลง นอกจากนี้ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหนองหงส์ จัดกิจกรรม 5.ส.และ Big cleaning day ภายใต้พัฒนาชุมชนใสสะอาด ณ ที่ว่าอำเภอหนองหงส์ และอีกอย่าง นางพัชรี สุขบัติ พัฒนาการอำเภอหนองหงส์ นางสุจิตรจา วิเชียร นางสาวปกิตตา นิลพยัคฆ์ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญ นางสาววิลาวรรณ คณะรัมย์ และดิฉันทำหน้าที่ช่วยจัดเตรียมเอกสาร เก็บภาพถ่าย ซึ่งมีการให้คำปรึกษาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ กับกลุ่มอาชีพ เพื่อพัฒนาและต่อยอดกลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหม บ้านหนองบัวลอง หมู่ที่ 3 ตำบลไทยสามัคคี อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์

ในส่วนที่ 2 ส่วนสนับสนุนการดำเนินงาน เป็นการลงพื้นที่จะลงเป็นประจำทุกอาทิตย์อย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 วัน การลงพื้นที่สนับสนุนการดำเนินงานเป็นการลงพื้นที่ต้นแบบพัฒนาคุณภาพชีวิตประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” การเอามื้อสามัคคี การลงพื้นที่ประสานการตรวจรับแปลงพื้นที่ หรือการสนับสนุนงานอื่นๆ เช่น สนับสนุนกลุ่มอาชีพ เพื่อพัฒนาและต่อยอดการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ซึ่งการลงพื้นที่ในเดือนมิถุนายน ได้ลงพื้นที่ในเขตอำเภอหนองหงส์ 1.ตำบลสระทอง 2.ตำบลเมืองฝ้าย และ 3.ตำบลหนองชัยศรี  โดยการลงพื้นที่ทั้ง 3 ตำบล ด้วยจุดประสงค์ที่แตกต่างกันคือ 1.ตำบลสระทอง 1.1 เป็นลงพื้นที่เอามื้อสามัคคีโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตประยุกต์สู่โคกหนอกนาโมเดล แปลงนายวิชาญ เทพนอก บ้านไทยจาน หมู่ที่ 13 ตำบลสระทอง อำเภอหนองหงส์ ในการนี้ นายอนุชา เรืองอมรวิวัฒน์ นายอำเภอหนองหงส์ พร้อมด้วย นางสาวสุนันทา ละเอียด ปลัดอาวุโส นางพัชรี สุขบัติ พัฒนาการอำเภอหนองหงส์ นางสุจิตรจา วิเชียร นางสาวปกิตตา นิลพยัคฆ์ และ นายทอน ทองพา นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ(นพต) นักพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (นพร) และครัวเรือนต้นแบบ โดยกิจกรรมเอามื้อสามัคคี มีอาจารย์จงกล ปราบไพริน (ป๋าอวบ) มาเป็นผู้ให้ความรู้ตามแนวทางกสิกรรมธรรมชาติ การตั้งเตาอบถ่าน ปลูกต้นไม้ ห่มฟาง และสุดท้ายรวมรับประทานอาหารรวมกัน รวมทั้งสินประมาณ 50 คน 1.2 นางพัชรี สุขบัติ พัฒนาการอำเภอหนองหงส์ นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) นักพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (นพร.) ลงพื้นที่ติดตามสนับสนุนการดำเนินงานเอามื้อสามัคคี ตามโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฏีใหม่ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา โมเดล ในการนี้ได้ลงพื้นจัดกิจกรรมเอามื้อสามัคคีแปลงนายสมพงษ์ นามปราศรัย บ้านม่วงเจริญ หมู่ที่ 6 ตำบลสระทอง อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้มีการปลูกต้นไม้ ห่มฟาง มีหน่วยงานเข้าร่วมกิจกรรมประกอบ ไปด้วย ปลัดอำเภอ ปลัดอบต. ผอ.กองช่าง เกษตรตำบล ผู้นำชุมชนและครัวเรือนเป้าหมายโครงการโคกหนองนาโมเดล รวมทั้งสิ้น 30 คน 2. ตำบลเมืองฝ้ายเป็นการลงพื้นที่ประสานการตรวจรับแปลงพื้นทรีโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตประยุกต์สู่ โคก หนอง นา โมเดล กับนายอัครพล บุญประเสริฐ ผู้ช่วยช่างโยธา ตำบลเมืองฝ้าย อำเภอหนองหงส์ และ 3.ตำบลหนองชัยศรี 3.1 เป็นการลงพื้นที่เพื่อเข้าร่วมประชุมสภาบันพัฒนาองค์กรขุมชน (พอช.) เพื่อจัดทำแผนประจำปี และประเมินโครงการส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษตำบลหนองชัยศรี ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง โดย นางพัชรี สุขบัติ พัฒนาการอำเภอหนองหงส์ พร้อมด้วย นางสุจิตรจา วิเชียร นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ และ นางสาวบุญทิวา  บุตะเคียน นางสาววิลาวรรณ คณะรัมย์ นักพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (นพร.) ผู้ติดตาม ประสานงาน และเก็บภาพ 3.2 เป็นการลงพื้นที่ประสานการตรวจรับแปลงพื้นที่ โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา โมเดล กับนายเลิงฤทธิ์ ศิริวงศ์ ผู้ช่วยนายช่างโยธา ตำบลหนองชัยศรี อำเภอหนองหงส์ 3.3 ติดตามสนับสนุนการดำเนินงาน โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา โมเดล นางพัชรี สุขบัติ พัฒนาการอำเภอหนองหงส์ พร้อมด้วยนางสุจิตรจา วิเชียร นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ นางสาววิลาวรรณ คณะรัมย์ และดิฉันนางสาวบุญทิวา บุตะเคียน นักพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (นพร.) ในการนี้ได้ลงพื้นที่ติดตามครัวเรือน โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล กรมการพัฒนาชุมชน “แปลงนายประสงค์ ดงกันจ่า  ตำบลหนองชัยศรี อำเภอหนองหงส์ และนอกจากนี้ในวันที่ 9 มิถุนายน 2564 นายสถาพร ศรีนาม ผอ.กลุ่มยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์ ลงติดตามโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล ในการนี้นางพัชรี สุขบัติ พัฒนาการอำเภอหนองหงส์ พร้อมด้วย นางสุจิตรจา วิเชียร นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) และ นักพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (นพร) ให้การต้อนรับและร่วมลงพื้นที่ติดตามครัวเรือน โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา กรมการพัฒนาชุมชน“แปลงนางสาวอุบลวรรณ จันทร์มณี ตั้งอยู่บ้านหนองเต่า หมู่ที่ 7 ตำบลเสาเดียว อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์

       โครงการโคก หนอง นา โมเดล เป็นการสร้าง ความมั่นคง ในแหล่งทำกินด้านการเกษตร เลี้ยงสัตว์ สู้กับภัยแล้ง การพัฒนาดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ ให้ลับมาอุดมสมบูรณ์ โดยปรับปรุงพื้นที่รองรับ ฝนธรรมชาติ และการเชื่อมโยงวงจรชีวิต พืช สัตว์ ให้เดินทางร่วมกันได้ ปัจจุบันคนไทยส่วนใหญ่ ได้เริ่มเข้ามาเรียนรู้และยอมรับว่าหลักการพัฒนานี้เปิดกว้าง ไม่ได้เจาะจงเฉพาะด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านการพัฒนาการเกษตรหรือเกษตรกรแต่เพียงอย่างเดียว หากแต่เป็นเรื่องของความพอเพียง ความพอดี เป็นเรื่องวิวัฒนาการของการนำปรัชญาไปใช้กับสิ่งใดๆ ตั้งแต่ระดับที่ย่อยที่สุด คือ ระดับของตัวบุคคล ครอบครัว การเป็นอยู่ของชุมชนไปจนถึงการประกอบอาชีพของประชาชนและการทำธุรกิจของภาคเอกชน การบริหารจัดการหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ภูมิภาคและระดับประเทศ เมื่อปี 2561 กรมพัฒนาที่ดิน มีแบบมาตรฐาน โคก หนอง นา โมเดล จำนวนประมาณ 40 แบบไว้แจกจ่ายประชาชน ทั้ง 40 แบบ เป็นโมเดลต้นแบบสำหรับที่ดินขนาดแบบ 3 ไร่ 5 ไร่ หรือ 10-15 ไร่ ที่เป็นโมเดลพื้นที่ขนาดเล็ก โครงการโคกหนองนา เพื่อรองรับกลุ่มนักโทษเด็ดขาดที่คาดว่าจะได้รับพระราชทานอภัยโทษ ตามพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2563 และจะพ้นโทษในปี 2563 จำนวน 39,084 ราย ในเรือนจำ 137 แห่ง ตามหนังสือกรมการพัฒนาชุมชน ด่วนที่สุด ที่ มท 0409.2/ว 2251 ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2563 เรื่อง การประสานความร่วมมือโครงการ “โคกหนองนาแห่งน้ำใจและความหวัง กรมราชทัณฑ์” ตามแผนบูรณาการให้ความช่วยเหลือผู้พ้นโทษที่ผ่านการอบรม โครงการพระราชทานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “โคกหนองนาแห่งน้ำใจและความหวัง กรมราชทัณฑ์”  วัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้ผู้พ้นโทษได้นำความรู้ที่ใช้ในการอบรมไปปรับใช้ในการประกอบอาชีพภายหลังการพ้นโทษ และสนับสนุนให้ผู้พ้นโทษ เข้าถึงภารกิจขั้นพื้นฐานของรัฐ หรือบริการสาธารณะ นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายเพิ่มคือ กลุ่มเกษตรกร บัณฑิตจบใหม่ ผู้ว่างงาน กลุ่มแรงงานที่อพยพกลับท้องถิ่นและชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ ในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19)

ภาพประกอบการปฏิบัติงาน และการลงพื้นที่ต่างๆ

  1. ภาพการปฏิบัติงานต่างๆ ภายในอำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์

          

  1. การลงพื้นที่ประสานการตรวจรับแปลง การเอามื้อสามัคคีโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตประยุกต์สู่ โคกหนอกนาโมเดล ตำบลสระทอง อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์

   3.ลงพื้นที่ประสานการตรวจรับแปลงพื้นที่ โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา โมเดล กับนายเลิง ฤทธิ์ ศิริวงศ์ ผู้ช่วยนายช่างโยธา ตำบลหนองชัยศรี อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์

 

  1. ลงพื้นที่ติดตามครัวเรือน โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ประยุกต์สู่ โคกหนองนาโมเดล กรมการพัฒนาชุมชน แปลงนางสาวอุบลวรรณ จันทร์มณี ตั้งอยู่บ้านหนองเต่า หมู่ที่ 7 ตำบลเสาเดียว อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์

  1. ลงพื้นที่เอามื้อสามัคคีโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตประยุกต์สู่โคกหนอกนาโมเดล แปลงนายวิชาญ เทพนอก บ้านไทยจาน หมู่ที่ 13 ตำบลสระทอง อำเภอหนองหงส์ โดยกิจกรรมเอามื้อสามัคคี มี นายอนุชา เรืองอมรวิวัฒน์ นายอำเภอหนองหงส์ พร้อมด้วย นางสาวสุนันทา ละเอียด ปลัดอาวุโส อาจารย์จงกล ปราบไพริน (ป๋าอวบ) มาเป็นผู้ให้ความรู้ตามแนวทางกสิกรรมธรรมชาติ การตั้งเตาอบถ่าน ปลูกต้นไม้ ห่มฟาง

  1. ลงพื้นที่ติดตามสนับสนุนการดำเนินงาน โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา โมเดล กรมการพัฒนาชุมชน แปลงนายประสงค์ ดงกันจ่า ตำบลหนองชัยศรี อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์

อื่นๆ

เมนู