“โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้กับประเทศ”
หลักสูตร HS05 ตำบลเมืองแฝก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
บทความประจำเดือนพฤษภาคม 2564
สวัสดีค่ะ ดิฉันนางสาววิลาวรรณ คณะรัมย์ กลุ่ม HS05 ประเภทบัณฑิตจบใหม่ (กพร)
ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2564 ดิฉันได้ปฏิบัติงานที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหนองหงส์ ซึ่งดิฉันได้ปฏิบัติงานทั้งในสำนักงานอำเภอหนองหงส์และลงพื้นที่โดยรอบ
ในการปฏิบัติงานดิฉันมีหน้าที่หลักคือการจัดเตรียมเอกสารในสำนักงานพัฒนาชุมชน โดยเฉพาะในเดือนพฤษภาคมนี้ ดิฉันได้รับมอบหมายให้จัดทำเอกสารโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคกหนองนาโมเดล” และรายงานนายอำเภอหนองหงส์ได้รับทราบ ซึ่งในเขตอำเภอหนองหงส์มีผู้สนใจในการทำโครงการนี้มากถึง 115 คน ดิฉันและทีมงานพัฒนาชุมชนอีก 2 คนจึงมีเวลาที่จำกัดในการจัดการเอกสาร ซึ่งต้องให้เรียบร้อยก่อนสิ้นเดือนพฤษภาคมนี้ ซึ่งในการทำงบประมาณต้องมีความละเอียดและรอบคอบเป็นอย่างยิ่ง เพื่อเป็นการช่วยเหลือให้ประชาชนที่จะเข้าร่วมโครงการได้รับประโยชน์กันอย่างทั่วถึงและทันเวลา ดังนั้นดิฉันและทีมงานจึงมีการทำงานเพิ่มวันเสาร์อาทิตย์เพื่อเร่งทำสัญญาและเอกสารรายงานให้นายอำเภอเซ็นอนุมัติให้ทัน เอกสารที่ได้จัดทำมีดังนี้ 1)รายงานขอจ้างก่อสร้างระบบชลประทานโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” 2) เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุในงานจ้างก่อสร้าง และผู้ควบคุมงาน สำหรับการจ้างก่อสร้างระบบชลประทานโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคกหนองนาโมเดล” 3) ส่งคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ และช่างผู้ควบคุมงาน 4) ขอทำเอกสารเชิญยื่นเสนอราคา 5) จัดทำเอกสารใบเสนอราคาจ้างให้ผู้รับจ้างเซ็นรับทราบยินยอมตามราคาจ้างขุดสระของโครงการโคกหนองนาโมเดล 6) จัดทำเอกสารเรื่องรายงานผลการพิจารณาและขออนุมัติสั่งจ้าง 7) จัดทำเอกสารเรื่องประกาศผู้ชนะการเสนอราคา จ้างก่อสร้างระบบชลประทานโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ โคกหนองนาโมเดล ” 8) แจ้งลงนามในสัญญากับผู้รับจ้าง และ 9) เรื่องแจ้งส่งมอบพื้นที่สำหรับจ้างก่อสร้างระบบชลประทานโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ โคกหนองนาโมเดล ต้องทำเอกสารทั้งหมดนี้ถึงจะทำโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ โคกหนองนาโมเดล ”
นอกจากเอกสารสัญญาและเอกสารรายงานที่กล่าวมาข้องต้นแล้ว ดิฉันยังได้รับมอบหมายให้ออก เลขหนังสือราชการและรับเลขหนังสือราชการ การออกเลขหนังสือราชการคือการออกเลขส่งเอกสารให้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์ เพราะก่อนที่จะส่งเอกสารทุกครั้ง ต้องออกเลขก่อนเพื่อให้ทางสำนักพัฒนาชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์ ได้ทราบว่าเลขนี้คือเรื่องชื่อว่าอะไรมาจากอำเภอไหนส่งมา และการรับเลขหนังสือราชการคือการที่ทางสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์หรือศาลากลางจังหวัดบุรีรัมย์ส่งหนังสือมาให้อำเภอหนองหงส์ ดิฉันก็มีหน้าที่รับเลขหนังสือ ชื่อเรื่อง วันที่ ลงในระบบ หลังจากนั้นก็จัดพิมพ์เอกสารมาให้หัวหน้าพิจารณาแล้วก็ส่งรายงานให้นายอำเภอทราบต่อไป
ในส่วนของการลงพื้นที่สำรวจเก็บข้อมูลโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาชีวิตตามหลักคุณภาพทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคกหนองนาโมเดล” ทำให้ดิฉันได้ทราบข้อมูลรายละเอียดว่า “โคกหนองนาโมเดล “ เป็นการทำเกษตรในพื้นที่ขนาดจำกัด หรือขนาดเล็ก เป็นการกักเก็บน้ำไว้ทั้งบนดิน (ด้วยหนอง คลองไส้ไก่ และคันนา) และใต้ดิน (ด้วยป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง) ตามแนวพระราชดำริของในหลวง รัชกาลที่ 9 โดยเฉพาะในพื้นที่จำกัด อย่างน้อยเพียง 3 ไร่ หรือ แล้วแต่ขนาดของที่ดินตามสภาพความเหมาะสมก็ได้ เมื่อปี 2561 มีแบบมาตรฐาน โคกหนองนาโมเดล จำนวนประมาณ 40 แบบให้กรมพัฒนาที่ดินไว้แจกจ่ายประชาชน ทั้ง 40 แบบ เป็นโมเดลต้นแบบสำหรับที่ดินขนาดแบบ 3 ไร่ 5 ไร่ หรือ 10-15 ไร่ ที่เป็นโมเดลพื้นที่ขนาดเล็ก องค์ประกอบโคกหนองนาโมเดล ประกอบไปด้วยสิ่งแวดล้อมต่อไปนี้
(1) โคก ดินที่ขุดทำหนองน้ำนั้นให้นำมาทำโคก บนโคกปลูก “ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง” ตามแนวทางพระราชดำริ ปลูกพืช ผัก สวนครัว เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา ทำให้พออยู่ พอกิน พอใช้ พอร่มเย็น เป็นเศรษฐกิจพอเพียงขั้นพื้นฐาน ก่อนเข้าสู่ขั้นก้าวหน้า คือ ทำบุญ ทำทาน เก็บรักษา ค้าขาย และเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย ปลูกที่อยู่อาศัยให้สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศ
(2) หนอง ขุดหนองเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้งหรือจำเป็น และเป็นที่รับน้ำยามน้ำท่วม (หลุมขนมครก) ขุด “คลองไส้ไก่” หรือคลองระบายน้ำรอบพื้นที่ตามภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยขุดให้คดเคี้ยวไปตามพื้นที่เพื่อให้น้ำกระจายเต็มพื้นที่เพิ่มความชุ่มชื้น ลดพลังงานในการรดน้ำต้นไม้ ทำฝายทดน้ำ เพื่อเก็บน้ำเข้าไว้ในพื้นที่ให้มากที่สุด โดยเฉพาะเมื่อพื้นที่โดยรอบไม่มีการกักเก็บน้ำ น้ำจะหลากลงมายังหนองน้ำ และคลองไส้ไก่ ให้ทำฝายทดน้ำเก็บไว้ใช้ยามหน้าแล้ง เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ ทั้งการขุดลอก หนอง คูคลอง เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้ง และเพิ่มการระบายน้ำยามน้ำหลาก
(3) นา พื้นที่นานั้นให้ปลูกข้าวอินทรีย์พื้นบ้าน โดยเริ่มจากการฟื้นฟูดิน ด้วยการทำเกษตรอินทรีย์ยั่งยืน คืนชีวิตเล็ก ๆ หรือจุลินทรีย์กลับคืนแผ่นดินใช้การควบคุมปริมาณน้ำในนาเพื่อคุมหญ้า ทำให้ปลอดสารเคมีได้ ปลอดภัยทั้งคนปลูก คนกิน และยกคันนาให้มีความสูงและกว้าง เพื่อใช้เป็นที่รับน้ำยามน้ำท่วม ปลูกพืชอาหารตามคันนา โดยความร่วมมือของมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติและคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จึงได้มีการออกแบบพื้นที่กสิกรรมโดยอาศัย “โคกหนองนาโมเดล” เป็นแนวคิดหลักในการจัดการพื้นที่ ในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำป่าสัก แหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่สำคัญที่สุดของเมืองไทย
การตรวจดูความก้าวหน้าคือลงไปดูว่าผู้รับจ้างขุดสระตามแบบที่สำนักงานให้มาหรือไม่ และมีความก้าวหน้าในงานขุดมากน้อยเพียงใด และเป็นการเยี่ยมชมเพื่อให้กำลังใจแก่ผู้ทำงาน เพื่อให้การทำงานให้เสร็จผ่านลุล่วงไปด้วยดี จากการสำรวจล่าสุดพบว่า แปลงที่ลงในเดือนพฤษภาคมลงที่ตำบลเสาเดียว อำเภอหนองหงส์ ได้มีการขุดสระได้ประมาณ 80 % แล้ว ที่เหลือคือการจัดแต่งสระให้สวยงาม แปลงต่อมาได้ลงพื้นที่ตำบลหนองชัยศรี อำเภอหนองหงส์ ซึ่งเพิ่งเริ่มการขุดสระเป็นวันแรก ซึ่งต้องมีการอธิบายการทำงานให้กับผู้รับจ้างและเจ้าของแปลงได้รับฟัง ซึ่งจากการที่มีฝนตกมาในระยะที่ผ่านมา ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการทำงานขุดสระ จึงทำงานให้ล่าช้าไปมากกว่าตามแผนที่วางไว้
กล่าวโดยสรุป การปฏิบัติงานประจำเดือนพฤษภาคม 2564 ในสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหนองหงส์ ส่วนมากจะเน้นไปที่การทำเอกสารสัญญาและจัดทำเอกสารรายงานโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ โคกหนองนาโมเดล ”รวมถึงการออกพื้นที่กับทีมงานเพื่อตรวจสอบ โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ โคกหนองนาโมเดล ” ซึ่งดิฉันได้เรียนรู้และได้รับประสบการณ์การทำงานที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
รูปภาพประกอบการปฏิบัติงาน
- ภาพการปฏิบัติงานในสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์
2. ภาพลงพื้นที่ตรวจความก้าวหน้าโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล”ความรู้และแนวคิดโครงการ “โคก หนอง นา โมเดล”
3.ภาพลงพื้นที่ติดตามสนับสนุนกิจกรรมปลูกผักปลอดภัย เพื่อบริโภคในครัวเรือน สร้างความมั่นคงทางอาหารบ้านหนองแกหมู่ที่ 13 ตำบลตำบลหนองชัยศรี