ข้าพเจ้านายวิษณุกร บุ้งทอง ผู้ปฏิบัติงานประเภทประชาชน ตำบลเมืองแฝก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร HS05 การทอผ้าไหมขิดยกดอกเพื่อรักษาภูมิปัญญาและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจชุมชน ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลในตำบลเมืองแฝก ว่าแต่เดือนนี้มีอะไรกันบ้าง มาดูกันเลยครับ
ในปีนี้ถือว่าเป็นปีที่หนักหนามากสำหรับคนไทยและคนทั่วโลก เพราะเนื่องจากสถานการณ์โควิด 19 ระบาด ทำให้การใช้ชีวิตต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์โควิด 19 ที่ระบาดอย่างหนัก แต่ตอนนี้มีวัคซีนออกมาแล้ว ก็อยากจะแนะนำให้ทุกคนไปฉีดวัคซีนป้องกันนะครับ อาจจะไม่ได้ป้องกันได้ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็ดีกว่าไม่ฉีดเลยนะครับ อย่างน้อยวัคซีนก็ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันได้ในระดับหนึ่ง
เรายังอยู่ในการเก็บและหาข้อมูลในผลิตภัณฑ์ชุมชนตำบลเมืองแฝก คือ การทอผ้าไหมขิดยกดอกเพื่อรักษาภูมิปัญญาและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจชุมชนกันนะครับ ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลขั้นตอนการทอผ้าไหมยกขิด โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
วิธีการทอผ้าลายขิดยกดอกเบื้องต้น
นอกจากนี้ ข้าพเจ้ายังได้ไปสอบถามเก็บข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนการทอผ้าลายขิดยกดอกกับคุณมัลลิกา ชัญถาวร หรือคุณมัส ในการนำข้อมูลมาใช้ในการตัดต่อวิดีโอรายงานผลประจำเดือนด้วยเนื่องจากการทอผ้าลายขิดยกดอก มีวิธีการที่ซับซ้อน ต้องใช้ความสามารถของผู้ที่ทอ เพราะค่อนข้างที่จะทอยาก
นี่จึงเป็นแค่ขั้นตอนเบื้องต้นกันนะครับ
ขั้นตอนที่ 1. นำไหมมาปั่นใส่หลอด คือการนำไหมมาปั่นใส่หลอดด้าย หลอดนี้เราเรียกว่าหลอดวีนัสนะครับ
ขั้นตอนที่ 2. เตรียมแบบหรือลวดลายสำหรับทอ นำแบบที่เราเตรียมไว้ สำหรับที่จะใช้เป็นแบบในการทอผ้านะครับ
ขั้นตอนที่ 3. ทอผ้าตามแบบที่เราเตรียมไว้ ขั้นตอนนี้ถ้าคนที่ทอจนชำนาญแล้ว อาจจะไม่ต้องใช้แบบก็ได้นะครับ
พอทอจนเสร็จ เราก็ตัดผ้าสำหรับจำหน่ายได้เลยนะครับ เราก็จะได้ผ้าไหมสวยๆแบบนี้เลย
ยอดเยี่ยมไปเลยนะครับสำหรับการทอผ้าลายขิดยกดอก ในการทอผ้าแต่ละผืนมีความน่าสนใจมาก และสามารถผสมผสานการถักทอลวดลาย การตัดเย็บให้เข้ากับชีวิตประจำวันได้ด้วยนะครับ และนี่ก็เป็นอีกเรื่องราวที่ข้าพเจ้า นำมาฝากทุกคนในวันนี้ และที่ขาดไม่ได้เลยคือต้องขอบคุณ คุณมัลลิกา ชัญถาวร วิทยากรหรือปราชญ์ชาวบ้านด้านการทอผ้าไหมขิดยกดอก ที่ได้ให้ข้อมูลในครั้งนี้
และจากการลงพื้นที่ดังกล่าว นอกจากเรื่องของการเก็บข้อมูลด้านการทอผ้าแล้วนะครับ เป็นที่ทราบกันดีว่า ชาวบ้านในชุมชนตำบลเมืองแฝกนั้น ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและเลี้ยงโค กระบือ นอกจากปัญหาโควิด-19 ที่ได้รับผลกระทบกันอย่างถ้วนหน้าแล้ว ยังมีปัญหาใหญ่สำหรับชาวบ้านก็คือ โรคลัมปีสกิน ที่กำลังระบาดหนักในโค กระบือ ทั่วประเทศไทย ณ ขณะนี้ รวมถึงพื้นที่ตำบลเมืองแฝก

เครดิต : https://news.trueid.net/detail/Oxa79zpzwBzJ
โรคลัมปีสกิน
โรคนี้เริ่มแพร่ระบาดในเอเชียตั้งแต่ปี 2562 ในจีนแผ่นดินใหญ่ บังกลาเทศ และอินเดีย หลังจากนั้น ในปี 2563 พบการระบาดในภูฏาน เนปาล ศรีลังกา ฮ่องกง ไต้หวัน เวียดนามและพม่า ประเทศไทยมีการติดตามสถานการณ์ในต่างประเทศและเฝ้าระวังโรคตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา รวมถึงการประกาศชะลอการนำเข้าโคกระบือจากประเทศพม่า โรคลัมปี สกิน (Lumpy skin disease) เป็นโรคระบาดตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 หากพบสัตว์มีอาการต้องสงสัย ต้องเเจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ เพื่อดำเนินการสอบสวนและควบคุมโรคต่อไป
ปัญหาโรคลัมปีสกิน
เมื่อปลายเดือนมีนาคม 2564 กรมปศุสัตว์ได้รับรายงานพบโคเนื้อแสดงอาการสงสัยโรคลัมปี สกิน เป็นโคที่เกษตรกรรายย่อยที่อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 10 ราย จากจากเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อในพื้นที่จำนวน 5,000 ราย โดยเกษตรกรแต่ละรายพบโคป่วย 1-2 ตัว จึงเก็บตัวอย่างส่งตรวจที่สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ ซึ่งต่อมาผลทางห้องปฏิบัติการตรวจพบเชื้อไวรัสโรคลัมปี สกิน จึงเป็นการตรวจพบโรคดังกล่าวเป็นครั้งแรกในประเทศไทย
รู้จัก โรคลัมปี สกิน
โรคลัมปีสกิน เป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่สำคัญในโคกระบือ แต่ไม่ใช่โรคที่ติดสู่คนได้ เกิดจากเชื้อไวรัส 𝘓𝘶𝘮𝘱𝘺𝘴𝘬𝘪𝘯𝘥𝘪𝘴𝘦𝘢𝘴𝘦𝘷𝘪𝘳𝘶𝘴 ในสกุล 𝘊𝘢𝘱𝘳𝘪𝘱𝘰𝘹𝘷𝘪𝘳𝘶𝘴 สัตว์ที่ติดเชื้อจะมีไข้สูงต่อมน้ำเหลืองโตและมีตุ่มขนาดใหญ่ ประมาณ 2-5 เซนติเมตร ขึ้นที่ผิวหนังทั่วร่างกาย พบมากที่คอ หัว เต้านม ถุงอันฑะและหว่างขา ตุ่มที่ขึ้นอาจแตก ตกสะเก็ดและเกิดเป็นเนื้อตาย หรือมีหนอนแมลงมาไชได้ อาจพบตุ่มน้ำใสขึ้นที่เยื่อเมือก ทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร ทำให้มีอาการน้ำลายไหล ตาอักเสบ มีตุ่มขึ้นที่เยื่อเมือกตา น้ำตาไหลและมีขี้ตา นอกจากนี้สัตว์ที่ติดเชื้อจะมีอาการซึม เบื่ออาหาร อาจมีภาวะเป็นหมันชั่วคราวหรือถาวร แท้งลูกและมีปริมาณน้ำนมลดลง อัตราการป่วยอยู่ที่ 5 – 45 % อัตราการตายน้อยกว่า 10% แต่อาจมีอัตราการตายสูงในพื้นที่ที่ไม่เคยมีการระบาดมาก่อน ผลกระทบส่วนใหญ่จะอยู่ที่ผลผลิตที่ลดลง
การติดต่อของโรค ติดจากแมลงดูดเลือด เช่น เห็บ ยุง แมลงวัน และอาจติดจากการสัมผัสใกล้ชิดกันของสัตว์ ติดจากน้ำลาย สารคัดหลั่ง สะเก็ดแผล รวมไปถึงการใช้อุปกรณ์ร่วมกัน
วิธีการป้องกันโรค คือ การกำจัดและป้องกันแมลงในพื้นที่ ทำความสะอาดคอกและอุปกรณ์ในการเลี้ยง และกักสัตว์ใหม่ก่อนนำเข้าพื้นที่ โรคนี้ไม่มีการรักษาจำเพาะ ทำได้เพียงรักษาตามอาการ ส่วนวัคซีนป้องกันโรคจะมีการนำเข้ามาในประเทศที่มีการระบาดของโรคแล้ว

เครดิตภาพ : https://pasusart.com
ขณะนี้ในตำบลเมืองแฝกมีโค กระบือ ที่ตายจากโรคที่ติดโรคลัมปีสกินจำนวนมาก ชาวบ้านในชุมชนตำบลเมืองแฝก ได้รับมือกับปัญหานี้โดยการทำความสะอาดคอกโค กระบือ เพื่อป้องกันโรคและรอการฉีดวัคซีน LSDV เพื่อป้องกันโรคให้สัตว์เลี้ยงในชุมชนอย่างมีความหวัง
ขอบคุณทุกคนที่เข้ามาดูบทความนะครับ ไว้เจอกันใหม่ครั้งหน้า ขอขอบคุณครับ
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล : https://pasusart.comhttps ://news.trueid.net/detail/Oxa79zpzwBzJ