1. หน้าแรก
  2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  3. HS05 - ตำบลเมืองแฝก อำเภอลำปลายมาศ
  4. บทความนักพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ประจำเดือนกันยายน 2564 “โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้กับประเทศ”หลักสูตร HS05 เพื่อเพิ่มรายได้ในครัวเรือนอย่างยั่งยืน”

บทความนักพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ประจำเดือนกันยายน 2564 “โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้กับประเทศ”หลักสูตร HS05 เพื่อเพิ่มรายได้ในครัวเรือนอย่างยั่งยืน”

บทความนักพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ประจำเดือนกันยายน 2564

“โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้กับประเทศ”หลักสูตร HS05

เพื่อเพิ่มรายได้ในครัวเรือนอย่างยั่งยืน”

1.ดิฉันได้รับมอบหมายในการรับและออกเลขหนังสือราชการต่าง ๆ ผ่านระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งดิฉันได้รับมอบหมายให้ออกเลขหนังสือราชการเป็นหลักจะลงรับและออกเลขหนังสือราชการเป็นประจำทุกวัน จันทร์-ศุกร์ การออกเลขส่งเอกสารก่อนที่จะส่งเอกสารทุกครั้งต้องออกเลขก่อน เพื่อให้ทราบว่าเลขนี้ คือเรื่องอะไร ส่งมาจากที่ใด วันที่เท่าไหร่ เลขด่วนที่สุดหรือเลขธรรมดา ถึงจะส่งเอกสารได้ ส่วนการรับเลขหนังสือราชการ คือจัดพิมพ์เอกสารออกมาก่อน แล้วลงรับในระบบก่อน ซึ่งในระบบจะมีเลขที่ลงรับ ชื่อเรื่อง วันที่รับเลขให้เรียบร้อยแล้ว จึงส่งให้หัวหน้าพิจารณาแล้วก็ส่งรายงานให้นายอำเภอทราบเป็นลำดับต่อไป

2.ดิฉันได้รับมอบหมายในการตัดแต่งรูปภาพผ้าไทย ซึ่งเลือกทำในโปรแกรม Photoshop เพราะดิฉันมีความถนัดในโปรแกรมนี้ เพื่อที่จะออกแบบและแต่งรูปรายงานข่าวประชาสัมพันธ์ผ้าไทยให้สวยงามเพื่อเชิญชวน ข้าราชการ กลุ่มผู้นำ กลุ่มสตรี และพี่น้องประชาชนชาวอำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ทุกท่าน รวมสวมใส่ผ้าไทย (สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน) ตามมติ ครม.จังหวัด อย่างน้อยให้ใส่ผ้าไทยสัปดาห์ละ 2 วัน เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาและส่งเสริมกลุ่มอาชีพให้มีรายได้ และได้รับมอบหมายให้ดูแลเว็บไชต์ ช่อง Youtube และ Facebook ของสำนักงาน ซึ่งดิฉันรับผิดชอบในส่วนของเรื่องผ้าไทย และการตัดต่อวิดีโอทั้งหมดของสำนักงาน การรายงานข่าวผ้าไทยมีผลต่อคะแนน คือ 1 ข่าว เท่ากับ 1 คะแนน ซึ่งในเดือนสิงหาคมนี้ (1-16) ดิฉันได้รายงานข่าวประชาสัมพันธ์ในเดือนนี้ ไปแล้ว 5 คน ได้แก่ 1) นางลำใย ภาษี สมาชิกสภาจังหวัดบุรีรัมย์เขตอำเภอหนองหงส์ 2) นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองชัยศรี ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลผู้อำนวยการกอง พนักงานราชการ 3) นางสาวปกิตตา นิคพยัคฆ์ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ 4) นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองชัยศรี ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้อำนวยการกอง พนักงานราชการ ลูกจ้าง องค์การบริหารส่วนตำบลหนองชัยศรี และ 5) นางพัชรี สุขบัติ พัฒนาการอำเภอหนองหงส์ ซึ่งดิฉันจะยกตัวอย่างการนำเสนอ ดังนี้

ตัวอย่าง – ในวันที่ 5 กันยายน 2564 จังหวัดบุรีรัมย์ – พช.หนองหงส์ นางสาวปกิตตา นิลพยัคฆ์ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ ประชาสัมพันธ์การสวมใส่ผ้าไทยเพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญา ตามพระดำริ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เพื่อสืบสานอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยข่าวโดย : สพอ.หนองหงส์ ภาพ  : นักพัฒนาดิจิทัล (นพร.)

ภาพประกอบการปฏิบัติงานทำรายงานข่าวประชาสัมพันธ์ผ้าไทย

  

3.ดิฉันได้ทำเอกสารส่งมอบงาน ประจำเดือนกันยายนให้นักพัฒนาตำบลต้นแบบ (นพต.) เพื่อขอเบิกเงินเดือนประจำเดือนส่งจังหวัด

4.ดิฉันได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่บันทึกฐานข้อมูลรายชื่อผู้จัดเก็บข้อมูล ความจำเป็นพื้นฐาน จปฐ. โดยคณะกรรมการพัฒนาชนบทแห่งชาติ (กชช.) มีมติเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2532 ให้กรมการพัฒนาชุมชน จัดเก็บข้อมูล จปฐ.เป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปี 2533 จนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ให้มีการปรับปรุงเครื่องชี้วัดข้อมูล จปฐ.ทุก 5 ปี ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2536 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนนำข้อมูล จปฐ./กชช. 2ค.ไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนพัฒนาชนบททุกระดับ การกำหนดนโยบายแนวทางการปฏิบัติ รวมทั้งการอนุมัติโครงการและการติดตามการพัฒนาชนบทด้วย จปฐ.คือข้อมูลในระดับครัวเรือนที่แสดงถึงสภาพความจำเป็นพื้นฐานของคนในครัวเรือนในด้านต่างๆ เกี่ยวกับคุณภาพชีวิตที่ได้กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำเอาไว้ ว่าคนควรจะมีคุณภาพชีวิตในแต่ละเรื่องอย่างไร ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ

ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.)คือข้อมูลในระดับครัวเรือนที่แสดงถึงสภาพความจำเป็นพื้นฐานของคนในครัวเรือนในด้านต่างๆ เกี่ยวกับคุณภาพชีวิตที่ได้กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำเอาไว้ ว่าคนควรจะมีคุณภาพชีวิตในแต่ละเรื่องอย่างไร ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ

โดยคณะกรรมการพัฒนาชนบทแห่งชาติ (กชช.) มีมติเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2532 ให้กรมการพัฒนาชุมชน จัดเก็บข้อมูล จปฐ.เป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปี  2533 จนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ให้มีการปรับปรุงเครื่องชี้วัดข้อมูล จปฐ.ทุก 5 ปี ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2536 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนนำข้อมูล จปฐ./กชช. 2ค. ไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนพัฒนาชนบททุกระดับ การกำหนดนโยบายแนวทางการปฏิบัติ รวมทั้งการอนุมัติโครงการและการติดตามการพัฒนาชนบทด้วย

ตัวชี้วัดของ จปฐ. ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560–2564     มี 5 หมวด 31 ตัวชี้วัด คือ

  • สุขภาพดี 7 ตัวชี้วัด
  • สภาพแวดล้อม 7 ตัวชี้วัด
  • การศึกษา 5 ตัวชี้วัด
  • การมีงานทำและรายได้ 4 ตัวชี้วัด
  • ค่านิยม 8 ตัวชี้วัด

รายละเอียดตัวชี้วัด มีดังนี้

หมวดที่ 1 สุขภาพ มี 7 ตัวชี้วัด

  1. เด็กแรกเกิดมีน้ำหนัก 2,500 กรัม ขึ้นไป
  2. เด็กแรกเกิดได้กินนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนแรกติดต่อกัน
  3. เด็กแรกเกิดถึง 12 ปี ได้รับวัคซีนป้องกันโรคระบาดตามตารางสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรครูปภาพที่เกี่ยวข้อง
  4. ครัวเรือนกินอาหารถูกสุขลักษณะ ปลอดภัย และได้มาตรฐาน
  5. ครัวเรือนมีการใช้ยาเพื่อบำบัด บรรเทาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้นอย่างเหมาะสม
  6. คนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี
  7. คนอายุ 6 ปีขึ้นไป ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน ๆ ละ 30 นาที

หมวดที่ 2 สภาพแวดล้อม มี 7 ตัวชี้วัด

  1. ครัวเรือนมีความมั่นคงในที่อยู่อาศัย และบ้านมีสภาพคงทนถาวร
  2. ครัวเรือนมีน้ำสะอาดสำหรับดื่มและบริโภคเพียงพอตลอดปี อย่างน้อยคนละ 5 ลิตรต่อวัน
  3. ครัวเรือนมีน้ำใช้เพียงพอตลอดปี อย่างน้อยคนละ 45 ลิตรต่อวัน
  4. ครัวเรือนมีการจัดบ้านเรือนเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด และถูกสุขลักษณะ
  5. ครัวเรือนไม่ถูกรบกวนจากมลพิษ
  6. ครัวเรือนมีการป้องกันอุบัติภัยและภัยธรรมชาติอย่างถูกวิธี
  7. ครัวเรือนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

หมวดที่ 3 การศึกษา มี 5 ตัวชี้วัด

  1. เด็กอายุ 3 – 5 ปี ได้รับบริการเลี้ยงดูเตรียมความพร้อมก่อนวัยเรียน
  2. เด็กอายุ 6 -14 ปี ได้รับการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี
  3. เด็กจบชั้น ม.3 ได้เรียนต่อชั้น ม.4 หรือเทียบเท่า
  4. คนในครัวเรือนที่จบการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี ที่ไม่ได้เรียนต่อและยังไม่มีงานทำ ได้รับการฝึกอบรมด้านอาชีพ
  5. คนอายุ 15 – 59 ปี อ่าน เขียนภาษาไทย และคิดเลขอย่างง่ายได้

หมวดที่ 4 การมีงานทำและรายได้ มี 4 ตัวชี้วัด

  1. คนอายุ 15 – 59 ปี มีอาชีพและรายได้
  2. คนอายุ 60 ปีขึ้นไป มีอาชีพและรายได้
  3. รายได้เฉลี่ยของครัวเรือนต่อปี
  4. ครัวเรือนมีการเก็บออมเงิน

หมวดที่ 5 ค่านิยม มี 8 ตัวชี้วัด

  1. คนในครัวเรือนไม่ดื่มสุรา
  2. คนในครัวเรือนไม่สูบบุหรี่
  3. คนอายุ 6 ปีขึ้นไป ปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
  4. ผู้สูงอายุ ได้รับการดูแลจากครอบครัว ชุมชน ภาครัฐ หรือภาคเอกชน
  5. ผู้พิการ ได้รับการดูแลจากครอบครัว ชุมชน ภาครัฐ หรือภาคเอกชน
  6. ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ได้รับการดูแลจากครอบครัว ชุมชน ภาครัฐ หรือภาคเอกชน
  7. ครัวเรือนมีส่วนร่วมทำกิจกรรมสาธารณะเพื่อประโยชน์ของชุมชน หรือท้องถิ่น
  8. ครอบครัวมีความอบอุ่น

การจัดเก็บข้อมูล จปฐ.พื้นที่การจัดเก็บ ได้แก่

  1. จัดเก็บข้อมูลทุกครัวเรือนในเขตชนบท

(เขตชนบท หมายถึง ทุกหมู่บ้าน/ชุมชนที่อยู่ในเขต อบต. และเทศบาลตำบลที่ยกฐานะมาจาก อบต.)

  1. จัดเก็บข้อมูลในเขตเมือง

(เขตเมือง ได้แก่ เขต กทม. เขตเมืองพัทยา เทศบาลนคร เทศบาลเมือง และเทศบาลตำบลที่ยกฐานะมาจากสุขาภิบาล)

โดยในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ ให้จังหวัดใช้แนวทางการบริหารจัดเก็บข้อมูล จปฐ. เช่นเดียวกับเขตชนบทและจัดเก็บในห้วงเวลาเดียวกัน

ผู้เกี่ยวข้องในการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. มีดังนี้

  • ผู้จัดเก็บข้อมูล จปฐ. ได้แก่ หัวหน้าคุ้ม อาสาพัฒนาชุมชน กรรมการหมู่บ้าน สมาชิกสภา อบต. ผู้นำชุมชน อสม. หรืออาสาสมัค (จัดเก็บคนละ ๑ คุ้มๆ ละประมาณ ๑๐-๒๐ ครัวเรือน)
  • ผู้บันทึกข้อมูล ให้พิจารณานักเรียน/นักศึกษาที่มีฐานะยากจนที่อยู่ในตำบลก่อนเป็นลำดับแรก
  • พัฒนากรผู้ประสานงานตำบล ทำหน้าที่ติดตามตรวจสอบการจัดเก็บข้อมูล ตรวจสอบข้อมูลจากการบันทึกข้อมูล นำเสนอผลการจัดเก็บข้อมูล (ร่วมกับผู้บันทึกข้อมูล) ต่อที่ประชุมระดับตำบล เพื่อให้ผู้บริหารท้องถิ่นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน และประชาชน ได้รับทราบและตรวจสอบยืนยันข้อมูลของตำบลและทุกหมู่บ้าน (โดยเฉพาะเรื่องรายได้) รวมทั้งสำเนาข้อมูล จปฐ. ทั้งหมดของตำบล พร้อมคำรับรองข้อมูล จปฐ. หมายเลข 1 ส่งให้อำเภอ (พร้อมลงนามผู้บันทึกข้อมูล และพัฒนากรผู้ประสานงานตำบล) ในแบบคำรับรองฯ
  • พัฒนากร นำผลการจัดเก็บข้อมูลกรอกลงในโปสเตอร์สรุปผลการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ระดับหมู่บ้าน เพื่อนำไปติดไว้ที่ศูนย์เรียนผลการค้นหารูปภาพสำหรับ จปฐ หนองคายรู้ชุมชน ศาลากลางบ้าน หรือในที่ชุมชนของหมู่บ้าน เพื่อให้ประชาชนรับทราบและวางแผนแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิต (ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม)
  • คณะกรรมการบริหารการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ระดับอำเภอ ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลแต่ละตำบลแล้วประมวลผลเป็นภาพรวมของอำเภอ แล้วทำสำเนาข้อมูลทั้งหมดของอำเภอและคำรับรองข้อมูลฯ หมายเลข 2 ส่งให้จังหวัด (พัฒนาการอำเภอลงนาม ภายในเดือนมิถุนายน)
  • คณะกรรมการบริหารการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ระดับจังหวัด ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลแต่ละอำเภอแล้วประมวลผลเป็นภาพรวมของจังหวัด แล้วทำสำเนาข้อมูลทั้งหมดของอำเภอและคำรับรองข้อมูลฯ หมายเลข 3 ส่งให้กรม (พัฒนาการจังหวัดลงนาม ภายในวันที่ 29 มิถุนายน)

5.จัดเตรียมสถานที่ในการประชุมกลุ่มสตรี และโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต สู้วิกฤติโควิด-19 โดยดิฉันได้เป็นผู้ช่วย นางสาวปกิตตา นิลพยัคฆ์ ในการประสานงาน และเป็นคนบันทึกรูปภาพในการประชุมครั้งนี้การประชุมมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และน้อมนำไปสู่การปฏิบัติ สร้างความมั่นคงทางอาหาร เกิดภูมิคุ้มกันในการดำเนินชีวิตแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) การประชุมครั้งนี้มีการมอบเมล็ดพืชผักสวนครัวให้กับผู้มาประชุมในครั้งนี้ด้วย ซึ่งมีนายอำเภอหนองหงส์ มารวมประชุมครั้งนี้ด้วย ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ ในวันที่ 2 กันยายน 2564

6.ศึกษาวิธีการป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโควิด-19 โดยการจัดอบรมครั้งนี้เป็นการจัดอบรมทางระบบออนไลน์ ผ่าน Google Meet ซึ่งได้รับเกียรติจาก อาจารย์กนิษฐา จอดนอก อาจารย์ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นผู้บรรยายถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้เข้าอบรมในครั้งนี้ ซึ่งมีเนื้อหาในการอบรมดังต่อไปนี้

  • เชื้อก่อโรค : เชื้อไวรัสโคโรน่า (CoVs) เป็นไวรัสชนิดอาร์เอ็นเอสายเดี่ยว (single stranded RNA virus) ในFamily Coronaviridae มีรายงานการพบเชื้อมาตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1965 โดยสามารถติดเชื้อได้ทั้งในคนและสัตว์ เช่น หนู ไก่ วัว ควาย สุนัข แมว กระต่าย และสุกร ประกอบด้วยชนิดย่อยหลายชนิดและทำให้มีอาการแสดงในระบบต่างๆ เช่น ระบบทางเดินหายใจ (รวมถึงโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือซาร์ส; SARS CoV)ระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท หรือระบบอื่นๆ
  • ระบาดวิทยาของเชื้อ : เชื้อไวรัสโคโรน่า (CoVs) พบได้ทั่วโลก โดยในเขตอบอุ่น (temperate climates) มักพบเชื้อโคโรนาไวรัสในช่วงฤดูหนาวและฤดูใบไม้ผลิ การติดเชื้อโคโรนาไวรัสอาจทำให้เกิดอาการในระบบทางเดินหายใจส่วนบนได้ถึงร้อยละ 35 และสัดส่วนของโรคไข้หวัดที่เกิดจากเชื้อโคโรนาไวรัสอาจสูงถึงร้อยละ 15อาจการติดเชื้อพบได้ในทุกลุ่มอายุ แต่พบมากในเด็ก อาจพบมีการติดเชื้อซ้ำได้
  • ลักษณะโรค :การติดเชื้อไวรัสโคโรน่าในระบบทางเดินหายใจ (Respiratory Coronaviruses) อาจทำให้เกิดอาการไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ มีน้ำมูก เจ็บคอ ไอ โดยในทารกที่มีอาการรุนแรง อาจมีลักษณะของปอดอักเสบ (Pneumonia) หรือ หลอดลมฝอยอักเสบ (Bronchiolitis) ในเด็กโตอาจมีอาการของหอบหืด (Asthma) ส่วนในผู้ใหญ่ อาจพบลักษณะปอดอักเสบ (Pneumonia)หลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic bronchitis) หรือการกลับเป็นซ้ำของโรคหอบหืดได้
  • ระยะฟักตัวของโรค : โดยเฉลี่ยประมาณ 2 วัน (อาจมีระยะฟักตัวนานถึง 3 – 4 วัน) สำหรับโรคซาร์อาจใช้ระยะฟักตัว 4 – 7 วัน (อาจนานถึง 10 – 14 วัน)
  • วิธีการแพร่โรค : แพร่กระจายเชื้อจากการสัมผัส (Contact) กับสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ หรือแพร่กระจายเชื้อจากฝอยละอองน้ำมูก น้ำลาย (Droplet) จากผู้ป่วยที่มีเชื้อโดยการ ไอ หรือจาม
  • การป้องกัน :

– หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไอ จาม น้ำมูกไหล เหนื่อยหอบ เจ็บคอ

– หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง

– สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ

– ระมัดระวังการสัมผัสพื้นผิวที่ไม่สะอาด และอาจมีเชื้อโรคเกาะอยู่ รวมถึงสิ่งที่มีคนจับบ่อยครั้ง เช่น ที่จับบน BTS, MRT, Airport Link ที่เปิด-ปิดประตูในรถ กลอนประตูต่าง ๆ ก๊อกน้ำ ราวบันได ฯลฯ เมื่อจับแล้วอย่าเอามือสัมผัสหน้า

  • วัคซีน COVID-19โดยปกติเมื่อเชื้อโรคทุกชนิดเข้าสู่ร่างกาย ร่างกายจะมีวิธีจัดการเชื้อหลายแบบ หนึ่งในนั้นคือเม็ดเลือดขาวชนิด Macrophage จะกลืนเชื้อเข้าไปและทิ้งเศษซากเชื้อบางส่วนไว้เรียกว่า แอนติเจน (Antigen) ร่างกายจะรับรู้ว่าแอนติเจนคือสิ่งแปลกปลอมและจะสร้างแอนติบอดี (Antibody) มาจัดการสิ่งแปลกปลอมนั้น รวมถึงมีเม็ดเลือดขาวอีกชนิดหนึ่งที่จำว่าเชื้อโรคนี้คือสิ่งแปลกปลอม ถ้าหากได้รับเชื้อในอนาคตร่างกายจะสามารถจดจำและจัดการได้ การทำงานของวัคซีนเป็นไปในลักษณะเดียวกันวัคซีนป้องกันโควิด-19 จะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสนี้ขึ้นมา ช่วยป้องกันการติดเชื้อหากได้รับเชื้อในอนาคต

และ 7.สนับสนุนงานอื่นๆ ภายในสำนักงานพัฒนาชุมชน อำเภอหนองหงส์

ภาพการปฏิบัติงานอื่นๆ ในสำนักงานที่ว่าการอำเภอหนองหงส์

การปฏิบัติงานในส่วนที่ 2 เป็นส่วนของการสนับสนุนการดำเนินงาน การลงพื้นที่สนับสนุนการดำเนินงานต่างๆ ด้วยในช่วงสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 นี้ ในพื้นที่อำเภอหนองหงส์มีคนติดโควิดเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยง และลดการพบปะ การลงพื้นที่กับครัวเรือน เพื่อความปลอดภัยและป้องกันตัวเองเพราะไม่รู้ว่าใครติดเชื้อหรือไม่ติดบ้าง เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ต้องติดตามข่าวสารและสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคอย่างใกล้ชิด เพื่อให้มีความปลอดภัยต่อสุขภาพต่อผู้ปฏิบัติงานและบุคคลใกล้ชิด ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงที่จะมีโอกาสได้รับเชื้อหรือสัมผัสเชื้อจากการลงพื้นที่ปฏิบัติงานโดยไม่รู้ตัว และเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อส่วนรวมและการวางแผนการปฏิบัติงานในขั้นตอนต่อไปและทำให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดต่อส่วนรวม

“ไวรัสโคโรนา (Coronavirus) เป็นไวรัสที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่มีสารพันธุกรรมเป็นอาร์เอ็นเอ และมีเปลือกหุ้มด้านนอกที่ประกอบด้วยโปรตีนคลุมด้วยกลุ่มคาร์โบไฮเดรทเป็นปุ่มๆ (spikes) ยื่นออกไปจากอนุภาคไวรัส ทำให้เมื่อดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน จะเห็นเป็นเหมือนมงกุฎล้อมรอบ ซึ่งในภาษาลาติน Corona แปลว่า Crown หรือ มงกุฎ จึงเป็นที่มาของชื่อเชื้อไวรัสในกลุ่มนี้นั่นเอง โดยไวรัสโคโรนาถูกพบครั้งแรกในปี 1960 แต่ยังไม่ทราบแหล่งที่มาอย่างชัดเจนว่ามาจากที่ใด แต่ก็เป็นไวรัสที่สามารถติดเชื้อได้ทั้งมนุษย์และสัตว์ โดยก่อให้เกิดโรคทั้งระบบทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร ซึ่งก่อนหน้านี้มีการค้นพบไวรัสสายพันธุ์นี้แล้วทั้งหมด 6 สายพันธุ์ ส่วนสายพันธุ์ที่กำลังแพร่ระบาดหนักทั่วโลกอยู่ตอนนี้เป็นสายพันธุ์ที่ยังไม่เคยมีมาก่อน คือ สายพันธุ์ที่ 7 จึงถูกเรียกว่าเป็น “ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่”

ด้วยสถานการณ์ไม่ปกติ โรคระบาดโควิด-19 จึงไม่สามารถลงพื้นที่ในเดือนกันยายนได้ตามปกติ ในช่วงโรคระบาดแบบนี้ คนส่วนใหญ่ทั้งในและนอกเมืองมักใช้เวลาอยู่กับบ้าน และงานอดิเรกอย่างหนึ่งที่คนหันมานิยมกันมากคือการปลูกต้นไม้ นั่นเอง เพราะต้นไม้นั้น มีประโยชน์มากมาย ทั้งกายภาพและคุณค่าทางจิตใจ นอกจากต้นไม้จะช่วยทำให้ผู้อาศัยรู้สึกสดชื่น เพิ่มพื้นที่สีเขียว บางชนิดก็มีกลิ่นหอม และบางชนิดก็สามารถช่วยลดฝุ่น PM2.5 แล้ว ต้นไม้บางชนิด ยังเชื่อว่า ปลูกแล้วจะเป็นมงคลกับผู้อยู่อาศัยในบ้านหลังนั้น หรือช่วยเสริมชะตาให้แก่เจ้าของบ้าน อีกด้วย นอกจากนี้แล้ว ยังสามารถต่อยอด ทำเป็นธุรกิจปลูกต้นไม้เพื่อเป็นกิจการขายได้ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ สามารถเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้ปลูกหรือเกษตรกรในช่วงล็อคดาวน์กันได้ดีทีเดียว

สำหรับประเทศไทยนั้น ขึ้นชื่อได้ว่าเป็นสวรรค์แห่งพันธุ์ไม้เลยก็ว่าได้ เนื่องจากสภาพดินฟ้าอากาศ ที่ค่อนข้างเหมาะกับการปลูกต้นไม้ได้หลากหลายสายพันธุ์ ทำให้ต้นไม้ในไทยนั้นมีมากมายนับไม่ถ้วยเลยทีเดียวแต่สำหรับต้นไม้ที่คนนิยมปลูกกันอย่างแพร่หลาย รวมทั้งสามารถทำรายได้ให้กับผู้ปลูกด้วย

1.ต้นวาสนาเป็นต้นไม้ที่ได้รับความนิยมสูงมากในประเทศไทย สามารถพบเห็นได้เกือบแทบทุกบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในต่างจังหวัด เนื่องจากเชื่อกันว่า หากบ้านใดปลูกต้นวาสนาแล้ว ก็จะทำให้เจ้าของบ้านหรือผู้อยู่อาศัยในบ้านนั้น มีอำนาจวาสนา บารมี เหมือนชื่อ

ต้นวาสนา เป็นต้นไม้ที่ปลูกได้ง่ายมาก ใช้เพียงตัดลำต้นมา ปักชำก็สามารถขึ้นได้เองตามธรรมชาติ อีกทั้งดอกมีกลิ่นที่หอมอย่างยิ่ง เป็นไม้ประดับที่ไม่ต้องการการดูแลมาก สามารถรดน้ำได้เพียงแค่ 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ ต้องการแสงแดดเพียงรำไร มักนิยมปลูกทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เพราะจะได้รับแสงแดดยามเช้า และให้ร่มเงาแก่บ้านได้ด้วย

2.ไม้สักทองเป็นไม้ป่าที่ถือว่า มีราคาแพง และถือเป็นไม้หายากในประเทศ คนโบราณ นิยมนำไม้สักทองมาสร้างบ้าน เพราะเป็นไม้ที่มีเนื้อแข็ง จึงปลอดภัยจากปลวก หรือแมลงต่าง ๆ อีกทั้งสีของเนื้อไม้จะออกสีเหลืองทองตามธรรมชาติ และที่สำคัญ ถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ จึงเหมาะกับการปลูกเพื่อเชิงพาณิชย์อย่างยิ่ง

การปลูกและการดูแลก็ไม่ยุ่งยาก ใช้เนื้อที่ปลูกไม่มากนัก อาจปลูกในบริเวณบ้าน เพื่อเป็นร่มเงา หรือจะปลูกไว้ เพื่อเป็นมรดกให้แก่ลูกหลานในอนาคต ก็ถือว่าเป็นมรดกอันทรงคุณค่าได้อีกชิ้นนึงเลยทีเดียว

3.ต้นมอนสเตอร่าในบ้านเรานั้น เรียกต้นนี้ว่า พลูฉีก หรือ พลูแฉก เป็นต้นไม้ที่กำลังมาแรงในยุค Work From Home กันเลยทีเดียวก็ว่า ด้วยลักษณะพิเศษ ของต้น กล่าวคือ มีใบขนาดใหญ่ที่มีสีเขียวเข้ม ทำให้ผู้มอง รู้สึกถึงความสดชื่น และสบายตา และจากการศึกษาพบว่า เป็นต้นไม้ที่ช่วยลดฝุ่น PM 2.5 และฟอกอากาศได้อย่างยอดเยี่ยมเลย ต้นมอนสเตอร่านี้ สามารถปลูกเป็นไม้ประดับ ไว้บนโต๊ะทำงาน หรือจะปลูกแบบลงดิน ไว้ที่สวนข้างบ้าน ก็งดงามอีกรูปแบบหนึ่ง ช่วยเสริมให้บ้านดูโมเดิร์น มีสไตล์ราวกับกำลังอยู่ในป่ากลางเมืองกันเลยทีเดียว

การปลูกและการดูแลก็ไม่ยากเลย สามารถปลูกในกระถาง ลงดิน หรือแม้กระทั่งปลูกในแก้น้ำที่ใส่น้ำอย่างเดียวก็ยังได้เลย เป็นต้นไม้ที่ไม่ชอบแดดจัด จึงควรปลูกในที่ที่มีแสงรำไร และไม่ต้องรดน้ำบ่อยมาก อาจเพียงแค่สัปดาห์ละ 3-4 ครั้งก็เพียงพอแล้ว

4.ต้นบอนไม้ เป็นต้นไม้อีกชนิดหนึ่ง ที่คนรักต้นไม้มักจะไม่พลาด เรียกได้ว่า ต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการปลูกต้นบอนไซกันเลยทีเดียว เพราะส่วนใหญ่ ต้นบอนไซนั้น คือการนำเอาพันธุ์ของต้นไม้ใหญ่ มาปลูกในลักษณะพิเศษ โดยทำให้กลายเป็นต้นที่เล็กลง จึงต้องอาศัยจินตนาการของผู้เพาะปลูก ว่าอยากจะจำลองต้นไม้ใหญ่แต่ละชนิด ให้มีขนาดเล็กลงมา ในรูปแบบใด ถือว่าเป็นความท้าทายอย่างมาก

บอนไซ ถือว่าเป็นไม้ประดับ ที่เสริมให้บ้านดูหรูหรา และสวยงามมาก และยังเป็นต้นไม้ที่สามารถนำมาจัดในสวน เพื่อทำให้สวนสวย มีความโดดเด่นและงดงามมากยิ่งขึ้น การดูแลไม่ซับซ้อนมากนัก บอนไซส่วนใหญ่มักจะไม่ต้องการน้ำมาก ต้องการแดดเพียงรำไรเท่านั้นก็พอ เพียงแต่ต้องตัดแต่งกิ่งให้เป็นรูปทรงอยู่เสมอ

5.ต้นศุภโชคถือเป็นต้นไม้ที่สายมู ไม่ควรพลาดอย่างยิ่ง เพราะเชื่อว่า ผู้ที่ปลูกต้นศุภโชคในบ้านแล้ว จะนำแต่โชคลาภ มาให้แก่เจ้าของบ้านและผู้อยู่อาศัยภายในบ้าน ถือเป็นไม้ยืนต้นอีกชนิดหนึ่ง ที่สามารถปลูกได้ทั้งในดิน หรือจะปลูกลงในกระถาง และวางประดับไว้ตามห้องรับแขกภายในบ้านก็ได้ ด้วยใบที่มีสีเขียวเข้มเป็นเงาให้ความสดชื่นแก่ผู้พบเห็น และลำต้นที่มีลักษณะเหมือนถักเปีย ซึ่งดูแล้วแปลกตา ดึงดูดความสนใจของผู้มาเยือนได้เป็นอย่างดี และดอกจะมีสีขาว มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ทำให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย และดูเลอค่าและเสริมฮวงจุ้ยให้แก่บ้านได้ดีมาก หากปลูกลงดิน จะเป็นต้นไม้ที่ช่วยอุ้มดินได้เป็นอย่างดี เนื่องจากมีรากที่มีขนาดใหญ่และแข็งแรงมาก

6.ปาล์มบังสูรย์เป็นต้นไม้ที่นักออกแบบสวน หรือผู้ที่รักการตกแต่งสวนภายในบ้าน มักจะไม่พลาด เพราะถือว่าเป็นไม้ตระกูลปาล์ม ที่มีราคาแพง ติดอันดับท็อปเลยก็ว่าได้ ด้วยลักษณะของใบ ที่เหมือนสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด หรือใบพาย โดยเป็นเองตามธรรมชาติ และมีลักษณะใบที่ใหญ่ จึงเหมาะแก่การปลูกเพื่อเสริมให้สวนมีความโดดเด่น ดูสะดุดตาแก่ผู้พบเห็น สีของใบ ก็จะมีการไล่เฉดสี ตั้งแต่สีเขียวอ่อนไปถึงสีเขียวเข้มในใบเดียวกัน จึงทำให้มองแล้วสบายตา ลำต้น จะเหมือนต้นมะพร้าว มีหลายสายพันธุ์ ที่ให้ใบมีสีที่แตกต่างกัน มีทั้งสีเทา และใบสีเงิน

ต้นปาล์มบังสูรย์นี้ จัดว่าเป็นต้นไม้ที่ไม่นิยมแดดจัด มักปลูกในที่แดดรำไร เป็นพืชที่มีอายุยืน มากกว่า 10 ปี จึงถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าทีเดียว

7.ไผ่กวนอิม เป็นต้นไม้อีกต้นที่สายมู มักจะไม่พลาดกัน เชื่อกันว่า หากปลูกต้นไผ่กวนอิมแล้ว จะนำโชคลาภ ความสุข สุขภาพที่ดี และความร่ำรวย มาให้แก่ผู้ปลูก เจ้าของบ้าน และผู้อยู่อาศัย เป็นต้นไม้ที่สามารถปลูกเป็นไม้ประดับวางไว้ตามห้องรับแขก หรือโต๊ะทำงานได้ ไม่ต้องการแดดจัด แต่ต้องการน้ำมาก จึงควรหมั่นรดน้ำ และตัดแต่งกิ่งอยู่เป็นประจำ มีดอก การปลูกก็ง่ายดาย เพียงแค่ตัดกิ่งของต้นไผ่กวนอิม นำมาปักชำ และรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ

8.ลิ้นมังกรแคระเป็นต้นไม้ที่ไม่ว่าจะสายไหน ต่างก็ชื่นชอบกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นสายมู เชื่อว่า เป็นต้นไม้ที่จะสามารถป้องกันอันตรายจากศัตรู คนปองร้ายได้ บางคนเรียกว่าเป็น ต้นหอกพระอินทร์ ถือว่าเป็นต้นไม้ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ สายสุขภาพ ก็มีการพิสูจน์แล้วว่า ต้นลิ้นมังกรแคระนี้ สามารถช่วยฟอกอากาศ และเพิ่มออกซิเจนได้ดี ความพิเศษอยู่ตรงที่ เป็นต้นที่จะคายออกซิเจนในเวลากลางคืน และปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในเวลากลางวัน จึงสามารถปลูกไว้ในบ้านได้

การดูแลรักษาก็ไม่ยาก ลิ้นมังกรแคระ เป็นต้นไม้ที่สามารถปลูกในกระถางหรือลงดินได้ มีควาทนต่อโรคและแมลงสูง ไม่ต้องการแดดจัด จึงควรปลูกในที่แดดรำไร สามารถปลูกเพื่อเป็นรายได้เสริมในช่วง Work From Home ก็น่าสนใจ เพราะการขยายพันธุ์ก็ทำได้ง่ายดายมาก สามารถทำได้ทั้งการเพาะเมล็ด แยกหน่อ ปักชำ หรือเพาะเนื้อเยื่อ เป็นต้นไม้ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง และมีราคาดีถึงหลักพันก็มี

 

อื่นๆ

เมนู