การปฎิบัติงานนักพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
บทความประจำเดือน พฤษภาคม 2564

แนวคิดการจัดการน้ำ “โคก หนอง นา โมเดล” เป็นการทำเกษตรในพื้นที่ขนาดจำกัด หรือขนาดเล็ก เป็นการกักเก็บน้ำไว้ทั้งบนดิน (ด้วยหนอง คลองไส้ไก่ และคันนา) และใต้ดิน (ด้วยป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง) ตามแนวพระราชดำริของในหลวง ร.9 โดยเฉพาะในพื้นที่จำกัด อย่างน้อยเพียง 3 ไร่ หรือ แล้วแต่ขนาดของที่ดินตามสภาพความเหมาะสม

ข้าพเจ้านางสาวบุญทิวา บุตะเคียน นักพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (นพร) ส่วนที่ 1 ได้ลงพื้นที่สนับสนุนการดำเนินงาน พื้นที่ต้นแบบพัฒนาคุณภาพชีวิตประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” ในเดือนพฤษภาคม 2564 ลงพื้นที่ในเขตตำบลหนองชัยศรี และตำบลเสาเดียว  โดยการลงพื้นที่สองครั้งด้วยจุดประสงค์ที่แตกต่างกันคือ 1) การลงพื้นที่ ในวันที่ 4 พฤษภาคม 2564 เป็นการลงพื้นที่ตรวจแปลงก่อนดำเนินการขุดสระโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฏีใหม่ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา โมเดล ตำบลหนองชัยศรี อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ และ 2) การลงพื้นที่ ในวันที่ 11 พฤษภาคม 2564 นั้นเป็นการลงพื้นที่ตรวจแปลง ระหว่างการดำเนินงาน โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฏีใหม่ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา โมเดล ตำบลเสาเดียว อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์

       โครงการโคก หนอง นา โมเดล เป็นการสร้าง ความมั่นคง ในแหล่งทำกินด้านการเกษตร เลี้ยงสัตว์ สู้กับภัยแล้ง การพัฒนาดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ ให้ลับมาอุดมสมบูรณ์ โดยปรับปรุงพื้นที่รองรับ ฝนธรรมชาติ และการเชื่อมโยงวงจรชีวิต พืช สัตว์ ให้เดินทางร่วมกันได้ ปัจจุบันคนไทยส่วนใหญ่ ได้เริ่มเข้ามาเรียนรู้และยอมรับว่าหลักการพัฒนานี้เปิดกว้าง ไม่ได้เจาะจงเฉพาะด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านการพัฒนาการเกษตรหรือเกษตรกรแต่เพียงอย่างเดียว หากแต่เป็นเรื่องของความพอเพียง ความพอดี เป็นเรื่องวิวัฒนาการของการนำปรัชญาไปใช้กับสิ่งใดๆ ตั้งแต่ระดับที่ย่อยที่สุด คือ ระดับของตัวบุคคล ครอบครัว การเป็นอยู่ของชุมชนไปจนถึงการประกอบอาชีพของประชาชนและการทำธุรกิจของภาคเอกชน การบริหารจัดการหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ภูมิภาคและระดับประเทศ เมื่อปี 2561 กรมพัฒนาที่ดิน มีแบบมาตรฐาน โคก หนอง นา โมเดล จำนวนประมาณ 40 แบบไว้แจกจ่ายประชาชน ทั้ง 40 แบบ เป็นโมเดลต้นแบบสำหรับที่ดินขนาดแบบ 3 ไร่ 5 ไร่ หรือ 10-15 ไร่ ที่เป็นโมเดลพื้นที่ขนาดเล็ก โครงการโคกหนองนา เพื่อรองรับกลุ่มนักโทษเด็ดขาดที่คาดว่าจะได้รับพระราชทานอภัยโทษ ตามพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2563 และจะพ้นโทษในปี 2563 จำนวน 39,084 ราย ในเรือนจำ 137 แห่ง ตามหนังสือกรมการพัฒนาชุมชน ด่วนที่สุด ที่ มท 0409.2/ว 2251 ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2563 เรื่อง การประสานความร่วมมือโครงการ “โคกหนองนาแห่งน้ำใจและความหวัง กรมราชทัณฑ์” ตามแผนบูรณาการให้ความช่วยเหลือผู้พ้นโทษที่ผ่านการอบรม โครงการพระราชทานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “โคกหนองนาแห่งน้ำใจและความหวัง กรมราชทัณฑ์”  วัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้ผู้พ้นโทษได้นำความรู้ที่ใช้ในการอบรมไปปรับใช้ในการประกอบอาชีพภายหลังการพ้นโทษ และสนับสนุนให้ผู้พ้นโทษ เข้าถึงภารกิจขั้นพื้นฐานของรัฐ หรือบริการสาธารณะ นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายเพิ่มคือ กลุ่มเกษตรกร บัณฑิตจบใหม่ ผู้ว่างงาน กลุ่มแรงงานที่อพยพกลับท้องถิ่นและชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ ในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19)

      ในงานส่วนที่ 2 เป็นส่วนของการนำเข้าข้อมูล ซึ่งส่วนมากจะเป็นงานที่เกี่ยวกับเอกสารต่าง ๆ  (การปฏิบัติงานในสำนักงานพัฒนาชุมชน ที่ว่าการอำเภอหนองหงส์)  ซึ่งข้าพเจ้ามีหน้าที่หลัก ๆ คือ  1) การแก้ไขเอกสารรายงานการประชุม การขอความเห็นชอบราคากลาง ระเบียบวาระการประชุมคณะกรรมการกำหนดราคากลางงานก่อสร้าง โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” 2) การแก้ไขเอกสารขออนุมัติดำเนินงานจ้างก่อสร้างระบบชลประทานโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” ระดับครัวเรือน แปลงของตำบลไทยสามัคคี ตำบลเมืองฝ้าย และตำบลหนองชัยศรี อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ (งบเงินกู้) 3) การแก้ไขเอกสารระเบียบวาระการประชุมคณะกรรมการกำหนดราคากลางงานก่อสร้างโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ 4) การแก้ไขเอกสารรายละเอียดพัสดุและการยื่นข้อเสนอโดยวิธีเฉพาะเจาะจง 5) การแก้ไขเอกสารใบเสนอราคาจ้าง 6) การแก้ไขเอกสารรายงานขอจ้างก่อสร้างระบบชลประทานโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” ระดับครัวเรือน แปลงของตำบลไทยสามัคคี ตำบลเมืองฝ้าย และตำบลหนองชัยศรี อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ (งบเงินกู้) 7) การแก้ไขเอกสารแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุในงานจ้างก่อสร้าง และผู้ควบคุมงาน สำหรับการจ้างก่อสร้างระบบชลประทานโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” ขนาดพื้นที่ 3 แปลงของตำบลไทยสามัคคี ตำบลเมืองฝ้าย และตำบลหนองชัยศรี อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ (งบเงินกู้) โดยวิธีเฉพาะเจาะจง 8) การแก้ไขเอกสารส่งคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ และช่างผู้ควบคุมงาน 9) การแก้ไขเอกสารขอเชิญยื่นเสนอราคา เอกสารแจ้งลงนามในสัญญา 10) การแก้ไขเอกสารรับประกาศหนังสือสั่งการจากสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ผ่านระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์จังหวัดบุรีรัมย์ 11) การตรวจสอบและแก้ไขเอกสารการกำหนดราคากลางของตำบลห้วยหิน ตำบลเมืองฝ้าย และตำบลเสาเดียว 12) การรับและออกเลขหนังสือราชการต่าง ๆ ผ่านระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งดิฉันได้รับมอบหมายให้ออกเลขหนังสือราชการเป็นหลักจะลงรับและออกเลขหนังสือราชการเป็นประจำทุกวัน จันทร์-ศุกร์ แล้วลงรับในระบบก่อนในระบบจะมีเลขที่ลงรับ ชื่อเรื่อง วันที่รับเลขให้ เสร็จแล้วจึงส่งให้หัวหน้างานพิจารณาแล้วส่งรายงานให้นายอำเภอทราบเป็นลำดับต่อไป นอกจากนี้แล้วดิฉันยังได้กิจกรรมกับคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  ในการทอดผ้าป่าออนไลน์เพื่อการสร้างศูนย์การเรียนรู้บ้านโคกว่าน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ และร่วมรับฟังการปาฐกถาชุมชนของ ดร.ยักษ์ & โจน จันไดในวันที่ 12 พฤษภาคม 2564 อีกด้วย

รูปภาพประกอบการทำกิจกรรมต่างๆ

อื่นๆ

เมนู